วันพุธ, ธันวาคม 13, 2566

Maharat

 
เขาตอบว่า ผมเป็นนัดดาของพระเจ้าพิมพิสารมหาราชอาทิผิด อักขระ เป็นบุตร
ของอภัยราชกุมาร
แพทย์ถามว่า ก็เหตุไรเล่า พ่อจึงมาที่นี่ ?
ลำดับนั้น เขาจึงตอบว่า เพื่อศึกษาศิลปะในสำนักของท่าน. แล้ว
กล่าวว่า ท่านอาจารย์ ผมอยากศึกษาศิลปะ.
ข้อว่า พหุญฺจ คณฺหาติ มีความว่า ศิษย์เหล่าอื่นมีขัตติราชกุมาร
เป็นต้น ให้ทรัพย์แก่อาจารย์แล้ว ไม่กระทำการงานไร ๆ ศึกษาแต่ศิลปะเท่า
นั้นฉันใด, ชีวกนั้นหาได้กระทำฉันนั้นไม่. ส่วนเขาไม่ให้ทรัพย์ไร ๆ เป็น
อย่างธัมมันเตวาสิก กระทำการงานของอุปัชฌาย์ ในเวลาหนึ่ง ศึกษาในเวลา
หนึ่งเท่านั้น แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น กุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร เพราะตน
เป็นผู้มีปัญญา ย่อมเรียนได้มาก เรียนได้เร็ว ย่อมจำทรงไว้ดี ทั้งศิลปะที่
เขาเรียนแล้ว ย่อมไม่หลงลืม.
วินิจฉัยในคำว่า สตฺต จ เม วสฺสานิ อธิยนฺตสฺส นยิมสฺส
สิปฺปสฺส อนฺโต ปญฺญายติ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ได้ยินว่า เพียง ๗ ปี ชีวกนี้เรียนแพทยศิลปะจบเท่าที่อาจารย์รู้ทั้ง
หมด ซึ่งศิษย์เหล่าอื่นเรียนถึง ๑๖ ปี.
ฝ่ายท้าวสักกเทวราชได้มีพระรำพึงอย่างนี้ว่า ชีวกนี้จักเป็นอุปัฏฐาก
มีความคุ้นเคยอย่างยอดของพระพุทธเจ้า เอาเถิด เราจะให้เขาศึกษาการประ-
กอบยา. จึงเข้าสิงในสรีระของอาจารย์ ให้ชีวกนั้นศึกษาการประกอบยา โดย
วิธีที่แพทย์สามารถรักษาโรคไม่มีส่วนเหลือยกเว้นวิบากของกรรมเสีย ให้หาย
ด้วยการประกอบยาขนานเดียวเท่านั้น.
 
๗/๑๗๓/๓๒๒

ไม่มีความคิดเห็น: