วันจันทร์, ธันวาคม 25, 2566

Nguean

 
๙. กุจฺฉิตานํ สาสวธมฺมานํ อาโยติ กาโย ชื่อว่า กาย
เพราะอรรถว่า เป็นบ่อเกิดของธรรมมีอาสวะอันบัณฑิตเกลียด คำว่า อาโย
คือ ที่เกิด.
๑๐. ผุสฺสียตีติ โผฏฺพฺพํ ชื่อว่า โผฏัพพะ เพราะอรรถว่า
อันกายย่อมถูกต้อง.
๑๑. มนุยตีติ มโน ชื่อว่า มนะ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้.
๑๒. อตฺตโน ลกฺขณํ ธารยตีติ ธมฺมา ชื่อว่า ธรรม เพราะ
อรรถว่า ย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน.
แต่เมื่อว่าโดยอรรถไม่แปลกกัน พึงทราบว่า ที่ชื่อว่า อายตนะ
เพราะเป็นเครื่องต่อ (อายตนโต) ๑ เพราะการแผ่ธรรมอันเป็นบ่อเกิดแห่ง
อาสวะทั้งหลาย (อายานํ ตนนโต) ๑ เพราะนำไปสู่สังสารต่อไป (อายตสฺส
จ นยนโต ) ๑.
จริงอยู่ ในบรรดาอายตนะทั้งหลายมีจักขุและรูปเป็นต้น มีอธิบาย
ไว้ว่า ธรรมทั้งหลายคือจิตและเจตสิกมีอารมณ์ตามทวารนั้น ๆ ย่อมเจริญขึ้น
ย่อมตั้งขึ้น ย่อมสืบต่อ ย่อมขยายไปด้วยกิจ มีการเสวยอารมณ์เป็นต้นของตน ๆ
นี้เป็นคำอธิบายข้อที่ ๑.
ก็เมื่อธรรมอันเป็นอายะ (คือเป็นบ่อเกิดของอาสวะมีอยู่) ธรรมคือจิต
และเจตสิกเหล่านั้นก็ย่อมแผ่ไป คือย่อมยังธรรม อันเป็นบ่อเกิดแห่งอาสวะนี้
ให้กว้างขวาง นี้เป็นคำอธิบายข้อที่ ๒.
ก็อายตนะเหล่านั้นย่อมนำไป คือ ย่อมให้เป็นไปถ่ายเดียวสู่สังสารทุกข์
อันยาวนานมาแต่อดีต เป็นไปล่วงไปในสังสารอันมีเงื่อนอาทิผิด อาณัติกะเบื้องต้นและที่สุดอัน
รู้ไม่ได้ ให้หวนกลับมิได้ นี้เป็นคำอธิบายข้อที่ ๓.
 
๗๗/๙๘/๑๖๔

ไม่มีความคิดเห็น: