วันจันทร์, ธันวาคม 11, 2566

Phai Nai

 
[การถือเสนาสนะในคราวจำพรรษา]
ส่วนในคราวจำพรรษา ย่อมมีอาคันตุกวัตร มีอาวาสิกวัตร. ใน
อาคันตุกะและเจ้าถิ่นนั้น ภิกษุอาคันตุกะก่อนใคร่จะละถิ่นของตนไปอยู่ที่อื่น
ไม่ควรไปในที่นั้นในวันเข้าพรรษา. เพราะว่าที่อยู่ในที่นั้นจะต้องเป็นที่คับ-
แคบกัน, หรือภิกษาจารจะไม่ทั่วถึง. ด้วยเหตุนั้น เธอจะอยู่ไม่ผาสุก เพราะ
ฉะนั้น พึงกะว่า ตั้งแต่บัดนี้ไปราวเดือนหนึ่งจักเข้าพรรษา แล้วเข้าไปสู่วิหาร
นั้น.
เมื่ออยู่ในวิหารนั้น ราวเดือนหนึ่ง ถ้ามีความต้องการเรียนบาลีจัก
กำหนดไว้ว่า การเรียนบาลีพร้อมมูล ถ้ามุ่งต่อกัมมัฏฐานจักกำหนดได้ด้วย
กัมมัฏฐานเป็นที่สบาย ถ้ามีความต้องการปัจจัยจักกำหนดปัจจัยลาภได้ จะอยู่
เป็นสุขภายอาทิผิด อักขระในพรรษา.
ก็แล เมื่อจะจากถิ่นของตนไปในที่นั้น ไม่ควรกระทบกระทั่งโคจร
คาม, คืออยู่ว่ากล่าวชาวบ้านในที่นั้น ว่า สลากภัตเป็นต้นก็ดี ยาคูและของควร
เคี้ยวก็ดี ผ้าจำนำพรรษาก็ดี ที่อาศัยพวกท่านย่อมไม่มี นี้บริขารของเจดีย์
นี้บริขารของโรงอุโบสถ นี้ดาลและกุญแจ ท่านจงรับที่อยู่ของท่าน. ที่ถูก ควร
จัดแจงเสนาสนะเก็บภัณฑะไม้และภัณฑะดิน บำเพ็ญคมิยวัตรให้เต็มแล้ว จึงไป.
แม้เมื่อจะไปอย่างนั้น พึงให้ภิกษุหนุ่มหิ้วห่อบาตรและจีวรเป็นต้น ให้
ช่วยถือกระบอกน้ำมันและไม้เท้าเป็นต้น กางร่มอย่าเชิดตนไปทางประตู
เลย, ควรไปตามข้างที่กำบัง เมื่อทางเข้าดงไม่มี ก็อย่าบุกพุ่มไม้เป็นต้นไป
เลย
อนึ่ง พึงบำเพ็ญคมิยวัตรตัดวิตก มีจิตผุดผ่องไปด้วยธรรมเนียม
แห่งการไปเท่านั้น
 
๙/๓๓๖/๑๙๕

ไม่มีความคิดเห็น: