วันเสาร์, ธันวาคม 09, 2566

Sangkhati

 
วาจา ในการอธิษฐานด้วยวาจานั้น มีการอธิษฐาน ๒ วิธี. ถ้าผ้าสังฆาฏิ
อยู่ในหัตถบาส พึงเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานสังฆาฏิอาทิผิด อักขระผืนนี้. ถ้าอยู่
ภายในห้อง ในปราสาทชั้นบน หรือในวัดใกล้เคียง พึงกำหนดที่เก็บ
สังฆาฏิไว้แล้วเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานสังฆาฏินั่น. ในอุตราสงค์
และอันตรวาสก ก็มีนัยอย่างนี้. จริงอยู่ เพียงแต่ชื่อเท่านั้นที่แปลกกัน.
เพราะฉะนั้น พึงอธิษฐานจีวรทั้งหมดโดยชื่อของตนเท่านั้น อย่างนี้ว่า
สงฺฆาฏิํ อุตฺตราสงฺคํ อนฺตรวาสกํ ดังนี้.
ถ้าภิกษุกระทำจีวรมีสังฆาฏิเป็นต้นด้วยผ้าที่อธิษฐานเก็บไว้ เมื่อ
ย้อมและกัปปะเสร็จแล้วพึงถอนว่า ข้าพเจ้าถอนผ้านี้ แล้วอธิษฐานใหม่.
แต่เมื่อเย็บแผ่นผ้าใหม่ หรือขัณฑ์ใหม่เฉพาะที่ใหญ่กว่าเข้ากับจีวรที่อธิษ-
ฐานแล้ว ควรอธิษฐานใหม่. ในแผ่นผ้าที่เท่ากันหรือเล็กว่า ไม่มีกิจ
ด้วยการอธิษฐาน (ใหม่).
ถามว่า ก็ไตรจีวรจะอธิษฐานเป็นบริขารโจล ควรหรือไม่ควร ?
แก้ว่า ได้ทราบว่า พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ไตรจีวรพึง
อธิษฐานเป็นไตรจีวรอย่างเดียว, ถ้าว่า อธิษฐานเป็นบริขารโจลได้,
การบริหารที่ตรัสไว้ในอุทโทสิตสิกขาบท ก็จะพึงไร้ประโยชน์ไป. ได้ยิน
ว่า เมื่อพระมหาปทุมเถระกล่าวอย่างนี้ พวกภิกษุที่เหลือกล่าวว่า แม้
บริขารโจล พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า พึงอธิษฐาน; เพราะเหตุนั้น
การอธิษฐานไตรจีวรให้เป็นบริขารโจล ย่อมสมควร.
แม้ในมหาปัจจรี ท่านก็กล่าวว่า ชื่อว่า บริขารโจลนี้เป็นเหตุแห่ง
การเก็บ (จีวรโดยความไม่เป็นนิสสัคคีย์) ไว้แผนกหนึ่ง. จะอธิษฐาน
 
๓/๙/๗๑๗

ไม่มีความคิดเห็น: