วันพุธ, ธันวาคม 27, 2566

Uphato

 
แสดงความที่พระอริยบุคคลทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่ายด้วยการกำหนดมิใช่ฐานะและ
เพื่อแสดงความที่พระภัททาลิเถระเป็นผู้ว่ายาก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทนี้.
เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภเทศนาว่า อปิ นุ ตวํ
ตสฺมึ สมเย อุภโตอาทิผิด อักขระภาควิมุตฺโต ในสมัยนั้นเธอเป็นพระอริยบุคคลชื่อว่า
อุภโตภาควิมุต บ้างหรือหนอ. เพื่อข่มพระภัททาลิ. ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไป
นี้ว่า ดูก่อนภัททาลิ พระอริยบุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้เป็นทักขิไณยบุคคลใน
โลกเป็นเจ้าของในศาสนาของเรา เมื่อเราบัญญัติสิกขาบท เมื่อมีเหตุอันควรที่
พระอริยบุคคลจะพึงคัดค้าน การคัดค้านของพระอริยบุคคลเหล่านั้นจึงควร. แต่
เธอเป็นคนภายนอกจากศาสนาของเรา เมื่อเราบัญญัติสิกขาบท เธอไม่ควร
คัดค้าน. บทว่า วิตฺโต ตุจฺโฉ เธอเป็นคนว่างคนเปล่า คือ พระภัททาลิเป็น
คนว่างคนเปล่าเพราะไม่มีอริยคุณในภายใน ไม่มีอะไรๆ ในคำพูดเป็นอิสระ.
บทว่า สตฺถาปิ อุปวทติ แม้พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้ ความว่า
ภิกษุผู้อยู่วัดโน้นเป็นสัทธิวิหาริกของพระเถระรูปโน้น ภิกษุชื่อนี้เป็นอันเตวาสิก
ของพระเถระรูปโน้น เข้าไปสู่ป่าเพื่อยังโลกุตตรธรรมให้เกิด แล้วทรงติเตียน
อย่างนี้ว่าเพราะเหตุไรภิกษุไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของเรา ด้วยการ
อยู่ป่าของภิกษุนั้น . แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. โดยที่แท้เทวดาไม่ติ-
เตียนอย่างเดียว ยังแสดงอารมณ์น่ากลัวแล้วทำให้หนีไปอีกด้วย. บทว่า อตฺตาปิ
อตฺตานํ แม้ตนก็ติเตียนตน ความว่า เมื่อภิกษุนึกถึงศีล ฐานะอันเศร้าหมอง
ย่อมปรากฏ. จิตย่อมแล่นไป กรรมฐานย่อมไม่ติด. ภิกษุนั้นมีความรำคาญ
ว่าประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ป่าของภิกษุเช่นเรา ลุกหลีกไป. บทว่า อตฺตาปิ
อตฺตานํ อุปวทิโต แม้ตนเองก็ติเตียนตนได้ คือตนเองติเตียนแม้ด้วยตน.
ปาฐะเป็นอย่างนี้แหละ พึงทราบธรรมฝ่ายขาวโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
 
๒๐/๑๗๔/๓๔๑

ไม่มีความคิดเห็น: