วันอาทิตย์, ธันวาคม 03, 2566

Thinamittha

 
การละอภิชฌาและพยาบาทเป็นต้น ซึ่งพระองค์ตรัสหมายเอาว่า เธอละความ-
โลภคืออภิชฌาแล้ว มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ชื่อว่า ชำระจิตให้ผ่องใสจาก
อภิชฌา ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทอยู่ ชื่อว่า
ชำระจิตให้ผ่องใสจากความประทุษร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้
ปราศจากถีนมิทธะอาทิผิด สระ มีอาโลกสัญญา (หมายรู้แสงสว่าง) มีสติสัมปชัญญะอยู่
ชื่อว่า ชำระจิตให้ผ่องใสจากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิต
สงบอยู่ในภายใน ชื่อว่า ชำระจิตให้ผ่องใสจากอุทธัจจกุกกุจจะ ละความสงสัย
ได้แล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัยได้ เป็นผู้หายสงสัย ไม่สงสัยในกุศลธรรม
ทั้งหลาย ชื่อว่า ชำระจิตให้ผ่องใสจากความสงสัย. บรรดาการละและการเกิด
ขึ้นนั้น การละนิวรณ์มีอยู่โดยวิธีใด ควรทราบวิธีนั้น (ต่อไป).
ก็การละนิวรณ์เหล่านั้น มีอย่างไร ? การละกามฉันท์ มีโดยการทำ
ไว้ในใจโดยแยบคายในอสุภนิมิต. ส่วนการเกิดขึ้น (แห่งกามฉันท์) มีโดยการ
ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายในสุภนิมิต ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุภนิมิตมีอยู่ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ
ในสุภนิมิตนั้น เป็นเหตุนำผลมาให้ (อาหารปัจจัย) เพื่อกามฉันท์ที่ยังไม่เกิด
ได้เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความเจริญยิ่งขึ้น เพื่อความไพบูลย์แห่งกามฉันท์ที่เกิดขึ้น
แล้วบ้าง. การละกามฉันท์ที่เกิดขึ้นโดยอโยนิโสมนสิการ ในสุภนิมิตอย่างนี้
มีอยู่โดยโยนิโสมนสิการในอสุภนิมิต โดยตรงกันข้ามกับอโยนิโสมนสิการ ใน
สุภนิมิตนั้น. บรรดานิมิตทั้ง ๒ อย่างนั้น อสุภบ้าง อสุภารมณ์บ้าง ชื่อว่า
อสุภนิมิต. การมนสิการโดยอุบาย คือมนสิการในทาง ได้แก่มนสิการว่า
ไม่เที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยงบ้าง ว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่เป็นทุกข์บ้าง ว่าเป็นอนัตตา
ในสิ่งที่เป็นอนัตตาบ้าง ว่าไม่งามในสิ่งที่ไม่งามบ้าง ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ.
เมื่อให้มนสิการนั้นเป็นไปมากครั้งในนิมิตนั้น ย่อมละกามฉันท์ได้. ด้วยเหตุนั้น
 
๔๕/๒๙๒/๗๑๑

ไม่มีความคิดเห็น: