วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 28, 2566

Fai

 
สองบทว่า ยํ ตุมฺเห ได้แก่ เย ตุมฺเห อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบาย
ว่า ยทิ ตุมฺเห จริงอยู่ นิบาต คือ ยํ ใช้ในอรรถแห่ง ยทิ ศัพท์.
วินิจฉัยในคำว่า อาจริเยสุ เป็นอาทิ เฉพาะอาจารย์ ๔ พวกนี้ คือ
บรรพชาจารย์ อุปสัมปทาจารย์ นิสสยาจารย์ อุทเทสาจารย์ จัดเป็นอาจารย์
แท้ในบทว่า อาจริเยสุ นี้. ภิกษุมีพรรษา ๖ พอเป็นอาจารย์ของภิกษุผู้
ไม่มีพรรษาได้. ด้วยว่า ภิกษุผู้ไม่มีพรรษานั้นจักอาศัยเธออยู่ในกาลที่ตนมี
พรรษา ๔, ด้วยประการอย่างนี้ แม้ภิกษุเหล่านี้ จัดว่าผู้พอเป็นอาจารย์ได้แท้
คือ ภิกษุผู้มีพรรษา ๗ พอเป็นอาจารย์ของภิกษุพรรษาเดียวได้, ผู้มีพรรษา
๘ พอเป็นอาจารย์ผู้มีพรรษา ๒ ได้, ผู้มีพรรษา ๙ พอเป็นอาจารย์ของผู้
มีพรรษา ๓ ได้ ผู้มีพรรษา ๑๐ พอเป็นอาจารย์ของผู้มีพรรษา ๔ ได้ฝ่ายอาทิผิด อักขระภิกษุ
ผู้เป็นเพื่อนเห็น เพื่อนคบของอุปัชฌาย์ก็ดี, ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้
ใหญ่กว่า ๑๐ พรรษาก็ดี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าผู้ปูนอุปัชฌาย์. เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ ไม่สวมรองเท้าก้าวเดินอยู่ ย่อมเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้สวมรองเท้าก้าวเดิน. ที่ชื่อว่าอาพาธเป็นหน่อที่เท้าได้แก่เนื้อคล้ายเดือย เป็น
ของยื่นออกจากพื้นเท้า.

ว่าด้วยเขียงเท้า
บทว่า ติณปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยหญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า หินฺตาลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยใบเป้ง เขียงเท้า
ที่ทำแล้ว แม้ด้วยใบเต่าร้าง ไม่ควรเหมือนกัน.
บทว่า กมลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยหญ้าที่ชื่อว่า กมล-
วรรณ พระอาจารย์บางพวกกล่าวว่า เขียงเท้าที่ทำด้วยแฝก ดังนี้ก็มี.
บทว่า กมฺพลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยขนเจียม.
 
๗/๒๔/๔๙

วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 27, 2566

Chuea

 
ปาจิตตีย์ สุราปานวรรคที่ ๖
สุราปานสิกขาบทที่ ๑
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑ แห่งสุราปานวรรค ดังต่อไปนี้:-
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องสุราเมรัย]
หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชื่อว่า ภัททวติกะ. หมู่บ้านนั้นได้ชื่ออย่างนี้
เพราะประกอบด้วยรั้วงาม.
บทว่า ปถาวิโน แปลว่า คนเดินทาง.
สองบทว่า เตชสา เตชํ ได้แก่ (ครอบงำ) ซึ่งเดชแห่งนาคด้วยเดช
คือ ด้วยอานุภาพของตน.
บทว่า กาโปติกา คือ มีสีแดงเสมอเหมือนกับสีเท้าแห่งพวกนกพิราบ.
คำว่า ปสนฺนา นี้ เป็นชื่อแห่งสุราใส.
สามบทว่า อนนุจฺฉวิกํ ภิกฺขเว สาคตสฺส มีรูปความที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า ชื่อว่า การดื่มน้ำเมา เป็นการไม่สมควรแก่สาคตะผู้สำเร็จอภิญญา ๕.
เมรัยที่เขาทำด้วยรสแห่งดอกมะซางเป็นต้น ชื่อว่า ปุปผาสวะ. เมรัย
ที่เขาคั้นผลลูกจันทน์เป็นต้นแล้ว ทำด้วยรสแห่งผลลูกจันทน์เป็นต้นนั้น ชื่อว่า
ผลาสวะ. เมรัยที่เขาทำด้วยรสชาติแห่งผลลูกจันทน์ (หรือองุ่น) เป็นต้น
ชื่อว่า มัธวาสวะ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เขาทำด้วยน้ำผึ้งก็มี. เมรัยที่
ชื่อว่า คุฬาสวะ. เขาทำด้วยน้ำอ้อยสด เป็นต้น.
ธรรมดาสุรา ที่เขาใส่เชื้ออาทิผิด แป้ง กระทำด้วยรสแม้แห่งจั่นมะพร้าว
เป็นต้น ย่อมถึงการนับว่า สุราทั้งนั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อตักเอา
น้ำใสแห่งสุราใส่เชื้อแล้วนั่นแล (ที่เหลือ) ย่อมถึงการนับว่าเมรัยทั้งนั้น.
 
๔/๕๗๘/๖๓๕

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 26, 2566

Bangsukun

 
ที่ชื่อว่า ภายในที่อยู่พัก คือ สำหรับที่อยู่พักที่มีเครื่องล้อม ได้แก่
ภายในที่อยู่พัก สำหรับที่อยู่พักที่ไม่มีเครื่องล้อม ได้แก่อุปจารที่อยู่พัก.
บทว่า เก็บเอา คือ ถือเอาเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้เก็บเอา คือ ให้คนอื่นถือเอา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
[๗๔๒] คำว่า และภิกษุเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะ
ก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี
แล้วพึงเก็บไว้ นั้น ความว่า ภิกษุพึงทำเครื่องหมายตามรูปหรือตามนิมิต
เก็บไว้ แล้วพึงประกาศว่า สิ่งของ ๆ ผู้ใดหาย ผู้นั้นจงมารับไป ถ้าเขามาใน
ที่นั้น พึงสอบถามเขาว่า สิ่งของ ๆ ท่านเป็นเช่นไร ถ้าเขาบอกรูปพรรณ
หรือตำหนิถูกต้อง พึงให้ไป ถ้าบอกไม่ถูกต้อง พึงบอกเขาว่า จงค้นหาเอาเอง
เมื่อจะหลีกไปจากอาวาสนั้น พึงมอบไว้ในมือของภิกษุผู้สมควรที่อยู่ในวัดนั้น
แล้วจึงหลีกไป ถ้าภิกษุผู้สมควรไม่มี พึงมอบไว้ในมือของคหบดีผู้สมควรที่
อยู่ในตำบลนั้น แล้วจึงหลีกไป.
คำว่า นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น ความว่า นี้เป็นมารยาทที่ดี
ยิ่งในเรื่องนั้น.
อนาปัตติวาร
[๗๔๓] ภิกษุเก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติ
ว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี แล้วเก็บไว้ด้วยหมายว่า ของผู้ใด
ผู้นั้นจะได้นำไป ดังนี้ ๑ ภิกษุถือวิสาสะของที่สมมติว่ารัตนะ ๑ ภิกษุถือเป็น
ของขอยืม ๑ ภิกษุเข้าใจว่าเป็นของบังสุกุลอาทิผิด สระ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ-
กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
 
๔/๗๔๓/๘๑๕

วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 25, 2566

Sikkha

 
พุทธเจ้าจักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้ทรงบัญญัติ และจักไม่เพิก
ถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ จักสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรง
บัญญัติไว้ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยทรงอนุญาตให้บรรดาภิกษุผู้ถือ
การอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้า
เฝ้าได้ตามสะดวก ดังนี้
ภิกษุเหล่านั้นเห็นจริงด้วยในทันใดนั้นว่า ท่านพระอุปเสนวังคันต-
บุตรพูดถูกต้องจริงแท้ พระสงฆ์ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่ยังมิได้ทรง
บัญญัติ หรือไม่ควรเพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ ควรสมาทาน
ประพฤติในสิกขาอาทิผิด อักขระบทตามที่ทรงบัญญัติไว้.
[๙๓] ภิกษุทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อนุญาตให้ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร เข้าเฝ้าได้ตามสะดวก ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างละทิ้งสันถัตพากันสมาทานอารัญญิกธุดงค์ บิณฑ-
ปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์
หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก เสด็จ
เที่ยวประพาสตามเสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นสันถัตซึ่งถูกทอดทิ้งไว้
ในที่นั้น ๆ ครั้นแล้วรับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สันถัตเหล่านี้ของใคร ถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ
จึงภิกษุเหล่านั้น ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
 
๓/๙๒/๙๐๘

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 24, 2566

Sangkhathiset

 
จริงอยู่ คาถานี้ตรัสหมายเอาภิกษุณีผู้พูดส่งเสริมนี้. ส่วนความต่าง
แห่งอาบัติของภิกษุณีผู้พูดส่งเสริมนอกนี้ ทรงจำแนกไว้แล้วในสิกขาบทที่ ๑
แล. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก-
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
อรรถกถาสังฆาทิเสสอาทิผิด อักขระสิกขาบทที่ ๖ จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชต-
วัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
จัณฑกาลีทะเลาะกับภิกษุณีทั้งหลาย โกรธ ขัดใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
ขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระธรรม ข้าพเจ้าขอบอกคืน
พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ขอสมณี จะมีเฉพาะสมณีเหล่า
ศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้
ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น
ดังนี้.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนา
ว่าไฉน แม่เจ้าจัณฑกาลี จึงได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอ
บอกคืนพระพุทธเจ้า. . . ข้าพเจ้าขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมี
เฉพาะสมณีเหล่าศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มี
 
๕/๖๐/๘๒

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 23, 2566

Chueak

 
เรื่องต้นไม้
[๓๙๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้เขย่า
ต้นไม้ที่สตรีขึ้น เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องเรือ
[๓๙๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด โคลงเรือ
ที่สตรีลงนั่ง เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องเชือก
[๓๙๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด กระตุก
เชือกอาทิผิด สระที่สตรีรับไว้ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่องท่อนไม้
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหนึ่งฉุดท่อนไม้ที่สตรีถือไว้ เธอได้มี
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องดันด้วยบาตร
[๓๙๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ดันสตรีไป
 
๓/๓๙๕/๑๕๔

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 22, 2566

Mangsa

 
ราชบุตรเหล่านั้นทุก ๆ พระองค์ ไปถึงชนบทของตน ๆ แล้วแสดง
ศิลปะแก่พระราชมารดาบิดาของตนแล้ว ตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้วต่างส่งราชสาส์น
พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการเพื่อให้ทราบความที่ตนตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้ว
และประพฤติอยู่ในโอวาทด้วย พระมหาสัตว์ได้ทรงทราบข่าวสาส์นนั้น แล้ว
ทรงตอบพระราชสาส์นไปว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ในบรรดา
พระราชาเหล่านั้น พระเจ้าพาราณสีเว้นมังสะเสียแล้วเสวยอาหารไม่ได้ แม้
ในวันอุโบสถพวกห้องเครื่องต้นก็ต้องเก็บมังสะไว้ถวายท้าวเธอ อยู่มาวันหนึ่ง
เนื้อที่เก็บไว้อย่างนั้น พวกโกไลยสุนัข ในพระราชวังกินเสียหมด เพราะความ
เลินเล่อของคนทำเครื่องต้น คนทำเครื่องต้นไม่เห็นมังสะ จึงถือกหาปณะ
กำมือหนึ่งเที่ยวไป ก็ไม่อาจจะหามังสะได้ จึงดำริว่า ถ้าหากเราจักตั้งเครื่อง
เสวยไม่มีมังสะ เราก็จะไม่มีชีวิต จักทำอย่างไรเล่าหนอ ครั้นนึกอุบายได้ใน
เวลาค่ำจึงไปสู่ป่าช้าผีดิบ ตัดเอาเนื้อตรงขาของบุรุษที่ตายเมื่อครู่หนึ่งนั้น นำมา
ทำให้สุกดีแล้ว หุงข้าวจัดแจงตั้งเครื่องเสวย พร้อมด้วยมังสะอาทิผิด อักขระ พอพระราชาวาง
ชิ้นมังสะลง ณ ปลายพระชิวหา ชิ้นมังสะนั้น ก็แผ่ไปสู่เส้นประสาทที่รับรสทั้ง
๗ พัน ซาบซ่านไปทั่วพระสรีระ มีคำถามสอดเข้ามาว่า ที่เป็นดังนี้ เพราะเหตุไร
เฉลยว่า เพราะเคยเสวยมาก่อนแล้ว.
ได้ยินว่า ในอัตภาพต่อกันที่ล่วงไปแล้ว ท้าวเธอเกิดเป็นยักษ์กิน
เนื้อมนุษย์เสียเป็นอันมาก เพราะฉะนั้น เนื้อมนุษย์จึงได้เป็นสิ่งที่โปรด
ปรานของพระองค์ ท้าวเธอทรงพระดำริว่า ถ้าเราจักนิ่งเสียแล้วบริโภค
คนทำเครื่องนี้ก็จักไม่บอกเนื้อชนิดนี้ แก่เรา จึงแกล้งถ่มให้ตกลงบนภาค
พื้นพร้อมด้วยพระเขฬะ เมื่อคนทำเครื่องต้นกราบทูลว่า ขอเดชะ มังสะ
นี้หาโทษมิได้ เชิญพระองค์เสวยเถิด จึงทรงรับสั่งให้ราชเสวกออกไป
เสียแล้ว ตรัสถามคนทำเครื่องต้นว่า เราเองก็ทราบว่าเนื้อนี้หาโทษมิได้ แต่
 
๖๒/๓๙๓/๖๔๒

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 21, 2566

Kahapana

 
นายช่างหม้อคนนั้น นำเอาภาชนะเหล่านั้นไปยังตำหนักของพระราช-
ธิดาเหล่านั้นแล้ว กราบทูลว่า ภาชนะเล็ก ๆ เหล่านี้ข้าพระองค์ขอถวายไว้
เพื่อสำหรับพระนางได้ทรงเล่น. พระราชธิดาเหล่านั้นทั้งหมดเสด็จมาแล้ว.
นายช่างหม้อก็ได้ถวายภาชนะที่พระมหาสัตว์กระทำไว้เพื่อประโยชน์แก่พระ
นางประภาวดี เฉพาะพระนางทีเดียว. พระนางทรงรับภาชนะนั้นมาแล้ว
ทรงเห็นพระรูปของพระองค์พระรูปของพระมหาสัตว์ และรูปของหญิงค่อม
ในภาชนะนั้นทีเดียว ก็ทรงทราบว่า ภาชนะนี้ไม่ใช่คนอื่นทำ พระเจ้า
กุสราชนั่นแล ทรงกระทำ ทรงแค้นเคืองแล้ว ขว้างของเหล่านั้นลงบน
ภาคพื้น แล้วตรัสว่า เราไม่มีความต้องการด้วยของสิ่งนี้ ใครอยากได้
ท่านจงเอาไปให้เขาเถิด. ลำดับนั้น พระราชธิดาผู้เป็นพระภคินีทั้งหลายของ
พระนาง ทรงทราบว่า พระนางทรงกริ้ว ก็พากันทรงยิ้มว่า พระพี่เข้าพระทัยว่า
ภาชนะเล็ก ๆ นี้ พระเจ้ากุสราชทรงกระทำกระมัง ภาชนะนี้ ไม่ใช่พระเจ้า
กุสราชนั้นทรงกระทำหรอก ช่างหม้อเขากระทำต่างหาก พระพี่นางจงรับเอา
ไว้เถิด พระนางก็มิได้ตรัสบอก ถึงเรื่องที่พระเจ้ากุสราชนั้น ทรงกระทำ
ภาชนะและเรื่องที่พระเจ้ากุสราชนั้น เสด็จมาถึงแล้ว แก่พวกพระภคินีเหล่านั้น
นายช่างหม้อได้ให้กหาปณะอาทิผิด อักขระพันหนึ่งแก่พระโพธิสัตว์แล้ว กล่าวว่า นี่แน่ะพ่อเอ๋ย
พระราชาทรงชอบใจเจ้า ได้ยินว่าจำเดิมแต่นี้ไป เจ้าพึงกระทำภาชนะสำหรับ
พระราชธิดาทุก ๆ พระองค์ เราจักนำไปถวายแด่พระราชธิดาเหล่านั้นเอง
พระโพธิสัตว์เจ้านั้น จึงตรัสว่า ท่านพ่อครับ ผมจักไม่กระทำเพื่อพระราชธิดา
เหล่านั้น พระโพธิสัตว์เจ้านั้น ทรงพระราชดำริว่า เราขืนอยู่ในที่นี้ เห็นจะ
ไม่อาจที่จะได้เห็นพระนางประภาวดีได้ จึงพระราชทานทรัพย์พันหนึ่งนั้นแก่
นายช่างหม้อนั้นทีเดียว แล้วจึงเสด็จไปยังสำนักของนายช่างสาน ผู้เป็นอุปัฏฐาก
ของพระราชา ขอสมัครเป็นศิษย์ของนายช่างสานนั้น แล้วทรงกระทำใบตาล
 
๖๒/๑๓๓/๒๓๑

วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 20, 2566

Mai

 
บทว่า วสิตา สุสานมชฺเฌ ความว่า เป็นนางสุนัขบ้าน นาง
สุนัขจิ้งจอก คอยกินเนื้อมนุษย์ อยู่กลางป่าช้า. บทว่า ขาทิตานิ
ปุตฺตมํสานิ ได้แก่ กินแม้แต่เนื้อบุตร ครั้งที่เป็นเสือโคร่ง เสือเหลืองและ
เสือปลา เป็นต้น. บทว่า หตกุลิกา ได้แก่ มีวงศ์สกุลพินาศแล้ว. บทว่า
สพฺพครหิตา ได้แก่ ถูกผู้ครองเรือนทุกคนติเตียน คือถึงความตำหนิ. บทว่า
มตปติกา แปลว่า หญิงหม้ายอาทิผิด อาณัติกะ ก็พระเถรีกล่าวยึดทั้งสามประการนี้ ที่มาถึงตน
ตามลำดับในอัตภาพก่อน แม้เป็นอย่างนี้ ก็ยังบรรลุอมตธรรม คือบรรลุ
พระนิพพาน ที่มีการเสพกัลยาณมิตรที่ได้มาเอง.
บัดนี้ พระเถรีเพื่อแสดงการบรรลุอมตะนั้นนั่นแลให้ปรากฏ จึง
กล่าวว่า ภาวิโต เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาวิโต ได้แก่ ให้มี
แล้ว ให้เกิดแล้ว ให้เจริญแล้ว โดยการอบรมและตรัสรู้. บทว่า ธมฺมาทาสํ
อเวกฺขึหํ ได้แก่ข้าพเจ้าได้พบได้เห็นกระจกทำด้วยธรรม.
บทว่า อหมมฺหิ กนฺตสลฺลา ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีกิเลสดุจ
ลูกศรมีราคะเป็นต้นอันถอนได้แล้วด้วยอริยมรรค. บทว่า โอหิตภารา ได้แก่
มีภาระคือกามขันธ์ กิเลสและอภิสังขารอันปลงลงแล้ว. บทว่า กตํ หิ
กรณียํ ได้แก่กิจ ๑๖ มีต่างโดยปริญญากิจเป็นต้น ข้าพเจ้าก็กระทำเสร็จ
แล้ว. ด้วยบทว่า สุวิมุตฺตจิตฺตา อิมํ ภณิ พระเถรีกล่าวถึงตนเองเหมือน
คนอื่นว่า พระกิสาโคตมีเถรี ผู้มีจิตหลุดพันแล้วโดยประการทั้งปวง ได้กล่าว
ความนี้โดยการผูกเป็นคาถา ด้วยคำว่า กลฺยาณมิตฺตตา เป็นต้นในอปทาน
ของพระเถรีนี้ ในข้อนั้น มีดังนี้
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมมุตตระ ผู้ทรงถึงฝั่ง
แห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ ทรงอุบัติในแสนกัป
นับแต่กัปนี้
๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๖๒ กีสาโคตมีเถรีอปทาน.
 
๕๔/๔๖๔/๓๐๙

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 19, 2566

Khop ha

 
ไม่มีอัสสาทะเป็นไปสม่ำเสมอในอารมณ์ ดำเนินไปสู่วิถีแห่งสมถะ ในสมัยนั้น
เธอไม่ต้องขวนขวายในการยก การข่ม และการทำให้มันร่าเริง ดุจสารถี
เมื่อม้าทั้งหลายวิ่งไปเรียบร้อย ก็ไม่ขวนขวายฉะนั้น นี้เรียกว่า ความเพ่งดู
จิตอยู่เฉย ๆ ในสมัย. การหลีกเว้นไกลบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ยังไม่ถึงอุปจาระ
หรืออัปปนา ชื่อว่า หลีกเว้น บุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ. การเสพ การคบหาอาทิผิด อักขระ
การเข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิด้วยอุปจาระ หรืออัปปนา ชื่อว่า การ
คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ. ความที่จิตน้อมไป โน้มไป โอนไปเพื่อเกิด
สมาธิในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่งเป็นต้น ชื่อว่า ความน้อมจิต
ไปในสมาธินั้น. ก็เธอเมื่อปฏิบัติอย่างนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมเกิดขึ้น
ก็สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมเจริญเต็มที่ได้ด้วยอรหัต-
มรรค.
ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ คือ ความวางเฉยในสัตว์ ๑ ความวางเฉยในสังขาร ๑ ความหลีก
เว้นบุคคลผู้พัวพันอยู่ในสัตว์และสังขาร ๑ ความคบหาบุคคลผู้วางเฉยในสัตว์
และสังขาร ๑ ความน้อมจิตไปในอุเบกขานั้น ๑.
บรรดาบทเหล่านั้น เธอให้ความวางเฉยในสัตว์ตั้งขึ้น ด้วยอาการ ๒
คือด้วยการพิจารณาเห็นความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตนอย่างนี้ว่า ท่านมา
ด้วยกรรมของตน ก็จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแหละ แม้เขามาด้วยกรรม
ของตน ก็จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแหละ ท่านจะพัวพันกับใครดังนี้ และ
ด้วยการพิจารณาเห็นมิใช่สัตว์อย่างนี้ว่า โดยปรมัตถ์สัตว์ไม่มีเลย ท่านนั้นจะ
พัวพันกับใครเล่า ดังนี้. ย่อมให้ความวางเฉยในสังขารตั้งขึ้น ด้วยอาการ ๒
คือ ด้วยการพิจารณาเห็นความไม่มีเจ้าของอย่างนี้ว่า จีวรนี้เข้าถึงความมีสี
เปลี่ยนไป และความคร่ำคร่าโดยลำดับ เป็นท่อนผ้าสำหรับเช็ดเท้า จักเป็น
 
๓๐/๕๔๖/๒๙๑

วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 18, 2566

Lat

 
และเสือเป็นต้น.
บทว่า อุทฺธโลมึ ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยขนแกะมีชาย ๒ ข้าง.
อาจารย์บางท่านกล่าวว่า เป็นรูปดอกไม้ชูขึ้นข้างเดียวกัน
บทว่า เอกนฺตโลมึ ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยขนแกะมีชายข้างเดียว.
บางท่านกล่าวว่า เป็นรูปดอกไม้ชูขึ้น ๒ ข้าง ดังนี้ก็มี.
บทว่า กฏฺฐิสฺสํ ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยใยไหม ขลิบแก้ว.
บทว่า โกเสยฺยํ ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยเส้นไหม ขลิบแก้วเหมือน
กัน. ส่วนผ้าไหมล้วน ตรัสไว้ในพระวินัยว่าควร. แต่ในอรรถกถาทีฆนิกาย
กล่าวว่า เว้นเครื่องลาดอาทิผิด อักขระยัดนุ่น เครื่องลาดที่ทอด้วยรัตนะมีพรมที่ทำด้วย
ขนสัตว์เป็นต้น ทุกอย่างเลย ไม่ควร.
บทว่า กุตฺตกํ ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ พอที่นางฟ้อน
๑๖ นางยืนฟ้อนได้.
บทว่า หตฺถตฺถรํ อสฺสตฺถรํ ได้แก่เครื่องลาดที่ใช้ลาดบนหลัง
ช้างหลังม้านั่นเอง. แม้ในเครื่องลาดในรถ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อชินปฺปเวณึ ได้แก่เครื่องลาดเย็บด้วยหนังเสือพอขนาดเตียง.
บทว่า กทลิมิคปวรปจฺจตฺถรณํ ได้แก่เครื่องลาดอย่างดีที่ทำด้วย
หนังชะมด. อธิบายว่า เป็นเครื่องชั้นสูงสุด. ได้ยินว่า เครื่องลาดนั้น
เขาลาดเย็บทำหนังชะหมดบนผ้าขาว.
บทว่า สอุตฺตรจฺฉทํ ได้แก่เครื่องลาดพร้อมเพดานบน คือพร้อม
กับเพดานสีแดงที่ติดไว้เบื้องบน. แม้เพดานสีขาว เมื่อมีเครื่องลาดเป็น
อกัปปิยะอยู่ภายใต้ ไม่ควร แต่เมื่อไม่มี ควรอยู่.
บทว่า อุภโตโลหิตกุปธานํ ได้แก่เครื่องลาดมีหมอนสีแดงอยู่
 
๑๑/๙๐/๒๑๕

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 17, 2566

Khiang

 
ขณะนั้น นางอัมพปาลีคณิกา ทำให้งอนรถกระทบงอนรถ แอก
กระทบแอก ล้อกระทบล้อ เพลากระทบเพลา ของเจ้าลิจฉวีหนุ่ม ๆ เจ้าลิจ-
ฉวีเหล่านั้นจึงได้ตรัสถามนางว่า แม่อัมพปาลี เหตุไฉนเธอจึงได้ทำให้งอนรถ
กระทบงอนรถ แอกกระทบแอก ล้อกระทบล้อ เพลากระทบเพลา ของ
เจ้าลิจฉวีหนุ่ม ๆ ของพวกเราเล่า.
อัม. จริงอย่างนั้น พ่ะยะค่ะ เพราะหม่อมฉันได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้.
ลจ. แม่อัมพปาลี เธอจงให้ภัตตาหารมื้อนี้แก่พวกฉัน ด้วยราคาแสน
กษาปณ์เถิด.
อัม. แม้ว่าฝ่าพระบาท จะพึงประทาน พระนครเวสาลีพร้อมทั้ง
ชนบทแก่หม่อมฉัน ๆ ก็ถวายภัตตาหารมื้อนั้นไม่ได้ พ่ะยะค่ะ.
เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จึงได้ทรงดีดพระองคุลีตรัสว่า ท่านทั้งหลาย พวก
เราแพ้แม่อัมพปาลีแล้ว ท่านทั้งหลาย พวกเราแพ้แม่อัมพปาลีแล้ว จึงพากัน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ได้ทอดพระเนตรเห็นเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นกำลัง
เสด็จมาแต่ไกลครั้นแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่าใดไม่เคยเห็นเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ก็จงแลดูพวกเจ้าลิจฉวี พิจารณาดู
เทียบเคียงอาทิผิด อักขระดู พวกเจ้าลิจฉวีกับพวกเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์เถิด เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
จึงได้เสด็จไป ด้วยยวดยาน ตลอดพื้นที่ที่ยวดยานจะไปได้ แล้วเสด็จลงจาก
ยวดยานทรงดำเนินด้วยพระบาท เข้าไปถึงพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มี-
พระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงชี้แจงให้เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ทรงเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงได้กราบทูลอาราธนาพระ-
 
๗/๗๗/๑๒๒

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 16, 2566

Batni

 
บทว่า คตฺตานิ ปริมชฺชิตฺวา ความว่า ตามนวดอวัยวะแห่งร่างกาย
ตน โดยล้มลงที่ภาคพื้นเกลือกฝุ่นอยู่.
บทว่า ปุนปารุยฺห จงฺกมนํ ความว่า ไม่ถึงทำหน้าสะยิ้วว่า บัดนี้อาทิผิด อักขระ
เราล้มแล้ว ขึ้นสู่ที่จงกรมแม้อีก.
บทว่า อชฺฌตฺตํ สุสมาหิโต ประกอบความว่า เรามีจิตตั้งมั่น
แล้วด้วยดี คือเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งจงกรม ด้วยการข่มนิวรณ์
ในกัมมัฏฐาน อันเป็นอารมณ์ภายใน. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล
ก็นี้แลเป็นการพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ.
จบอรรถกถาภคุเถรคาถาที่ ๒
 
๕๒/๓๒๔/๑๐

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 15, 2566

Krip

 
ขึ้นครั้งแรกนั้น. บทนี้ท่านอธิบายไว้ว่า เพียงเมื่อความโกรธเกิดขึ้นนั่นเอง
เราบริภาษตนว่า ดูก่อนโพธิปริพาชก ท่านบำเพ็ญบารมีทั้งปวงประสงค์
จะรู้แจ้งแทงตลอด พระสัพพัญญุตญาณมิใช่หรือ. อะไรกันนี่แม้เพียงศีล
ท่านยังเผลอเรอได้. ความเผลอเรอนี้ย่อมเป็นดุจความที่โคทั้งหลายประสงค์
จะไปยังฝั่งโน้นแห่งมหาสมุทรอันจมอยู่ในน้ำกรดฉะนั้น ในขณะนั้นเอง
ข่มความโกรธไว้ได้ด้วยกำลังแห่งการพิจารณา ไม่ให้ความโกรธนั้นเจริญ
ด้วยการเกิดขึ้นอีก. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ยทิ นํ พราหมณึ
เป็นอาทิ.
บทนั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ พระราชาหรือใคร ๆ อื่นเอาหอกอัน
คมกริบอาทิผิด อักขระแทงนางพราหมณีปริพาชิกานั้น. หากตัดให้เป็นชิ้น ๆ แม้เมื่อเป็น
อย่างนี้ เราก็ไม่พึงทำลายศีล คือศีลบารมีของตนเลย. เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุแห่งโพธิญาณเท่านั้น คือสามารถบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วย
ศีลไม่ขาดในที่ทั้งปวง มิใช่ด้วยเหตุนอกเหนือจากนี้.
บทว่า น เม สา พฺราหฺมณี เทสฺสา เราจะเกลียดนางพราหมณี
นั้นก็หามิได้ คือ นางพราหมณีนั้นเป็นที่เกลียดชังของเราก็หามิได้ ไม่เป็น
ที่รักของเราก็หามิได้ โดยประการทั้งปวง คือ โดยชาติ ด้วยโคตร โดย
ประกาศของตระกูล โดยมารยาท และโดยคุณสมบัติมีบรรพชาเป็นต้นที่
สะสมมานาน. ไม่มีอะไรที่จะทำให้เราไม่รักนางพราหมณีนี้. บทว่า นปิ
 
๗๔/๑๔/๒๘๓

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 14, 2566

Semha

 
เสมหะอาทิผิด อักขระมาก ที่มีสีดำเพราะดีกำเริบ ที่มีสีแดงเพราะเลือดคั่ง เป็นดังถนนเพราะ
มากด้วยธาตุดิน ชื่อว่าย่อมไหลออกเพราะมากด้วยธาตุน้ำ ว่าย่อมแผดเผา
เพราะมากด้วยธาตุไฟ ชื่อว่าย่อมหมุนไปมา เพราะมากด้วยธาตุลม นี้ชื่อว่า
สสัมภารจักษุ. ประสาทอาศัยมหาภูตรูป ๔ ผูกพันในจักษุนี้ ชื่อ ปสาทจักษุ.
จริงอยู่ ปสาทจักษุนี้ย่อมเป็นไปโดยความเป็นวัตถุทวาร ตามสมควรแก่จักษุ
วิญญาณเป็นต้น .
แม้ในโสตะเป็นต้นพึงทราบความดังต่อไปนี้. โสตะมี ๒ อย่าง คือ
ทิพยโสตะ ๑ มังสโสตะ ๑. ในโสตะ ๒ อย่างนี้ ได้ยินเสียงทั้งสองด้วย
โสตธาตุอันเป็นทิพย์ บริสุทธิ์ล่วงเกินมนุษย์ นี้ชื่อว่า ทิพยโสตะ. ทั้งหมด
มีอาทิว่า มังสโสตะมี ๒ อย่างคือ สสัมภารโสตะ ๑ ปสาทโสตะ ๑ พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวแล้วในจักษุ. ฆานะและชิวหาก็เหมือนกัน. แต่กายมีหลายอย่าง
เป็นต้นว่า โจปนกาย กรชกาย สมูหกาย ปสาทกาย. ในกายเหล่านั้น
กายนี้ คือ
ผู้มีปัญญา สำรวมกาย และสำรวม
วาจา ชื่อว่า โจปนกาย.
นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ ชื่อ กรชกาย. แต่สมูหกายมีหลายอย่างมาแล้ว
ด้วยสามารถแห่งหมู่วิญญาณเป็นต้น. จริงอย่างนั้น ท่านกล่าวหมู่วิญญาณไว้ใน
บทมีอาทิว่า ดูก่อนอาวุโส หมู่วิญญาณเหล่านี้มี ๖ อย่าง ดังนี้. ท่านกล่าว
ถึงหมู่ผัสสะเป็นต้น ในบทมีอาทิว่า หมู่ผัสสะ ๖ อย่าง ดังนี้. อนึ่ง ท่านกล่าว
เวทนาขันธ์เป็นต้น ในบทมีอาทิว่า กายปัสสัทธิ (ความสงบกาย) กายลหุตา
(ความเบากาย). ท่านกล่าวหมู่ปฐวีธาตุเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า บุคคลบางคน
ในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นปฐวีกาย อาโปกาย เตโชกาย วาโยกาย เกสกาย
โลมกาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ดังนี้. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
 
๔๕/๒๐๖/๑๙๑

วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 13, 2566

Phon

 
ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว เป็น
ผู้พ้นแล้วเพราะรู้ชอบ ภิกษุนั้นไม่ควรประพฤติล่วงฐานะ ๙ ประการ.
ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ ไม่ควรจงใจปลงสัตว์จากชีวิต ไม่ควร
ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ซึ่งนับว่าเป็นขโมย ไม่ควรเสพเมถุน
ไม่ควรกล่าวคำเท็จทั้งที่รู้ ไม่ควรบริโภคกามที่ทำความสั่งสม เหมือน
อย่างตนเป็นผู้ครองเรือนในกาลก่อน ไม่ควรถึงฉันทาคติ ไม่ควรถึงโทสาคติ
ไม่ควรถึงโมหาคติ ไม่ควรถึงภยาคติ. ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุใดเป็น
พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว
เป็นผู้พ้นอาทิผิด สระแล้ว เพราะความรู้ชอบ ภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่ควรประพฤติล่วง
ฐานะ ๙ ประการเหล่านี้.
[๑๑๘] ดูก่อนจุนทะ ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมปรารภกาลนาน
ที่เป็นอดีต บัญญัติญาณทัสสนะอันหาฝั่งมิได้ แต่หาได้ปรารภกาลนานที่
เป็นอนาคต บัญญัติญาณทัสสนะอันหาฝั่งมิได้ไม่ เพราะเหตุไรจึงทรง
บัญญัติเช่นนั้น การที่ทรงบัญญัติเช่นนั้น เป็นอย่างไรเล่า. พวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ย่อมสำคัญสิ่งที่พึงบัญญัติอันไม่ใช่ญาณทัสสนะ. ซึ่ง
เป็นอย่างอื่นด้วยญาณทัสสนะซึ่งเป็นอย่างอื่น เหมือนคนโง่ ไม่ฉลาด
ฉะนั้น.
ดูก่อนจุนทะ สตานุสาริญาณ ปรารภกาลนานที่เป็นอดีต ย่อม
มีแก่ตถาคต ย่อมระลึกได้ตลอดกาล มีประมาณเท่าที่ตนหวัง และญาณ
 
๑๕/๑๑๗/๒๘๐

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 12, 2566

Khang

 
อรรถกถากัจฉปชาดกที่ ๓
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการ
สงบระงับความทะเลาะแห่งอำมาตย์ทั้งสองของพระเจ้าโกศล จึงตรัส
เรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โก นุ วฑฺฒิตภตฺโตว ดังนี้. ก็เรื่องที่เกิดขึ้น
ในปัจจุบัน ได้กล่าวไว้แล้วในทุกนิบาตนั่นแล.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในแคว้น
กาสิกรัฐ พอเจริญวัยแล้ว เล่าเรียนศิลปศาสตร์ทุกอย่างในเมือง
ตักกศิลา แล้วละกามทั้งหลายออกบวชเป็นฤๅษี สร้างอาศรมบทอยู่
ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้หิมวันตประเทศ ทำอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิด
ในที่นั้นแล้วเล่นฌานสำเร็จการอยู่ในที่นั้น. ได้ยินว่า ในชาดกนี้
พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีตนเป็นกลางอย่างยิ่ง ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี.
เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นนั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา ลิงทุศีลซุกซนตัวหนึ่ง
มาถึงก็เอาองคชาตสอดเข้าในช่องหูทั้งสองข้างอาทิผิด อักขระ ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ไม่
ได้ห้ามวางเฉยอยู่นั่นแหละ. อยู่มาวันหนึ่ง เต่าตัวหนึ่งขึ้นมาจากน้ำ
นอนผิงแดดอ้าปากอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา. ลิงโลเลตัวนั้นเห็นดังนั้น
จึงได้สอดองคชาตเข้าในปากของเต่านั้น. ลำดับนั้น เต่าตื่นขึ้นจึงงับ
องคชาตของลิงนั้นไว้ เหมือนกับใส่ไว้ในสมุกฉะนั้น. เวทนามีกำลัง
เกิดขึ้นแก่ลิงนั้น มันไม่สามารถจะอดกลั้นเวทนาได้จึงคิดว่า ใครหนอ
 
๕๘/๔๒๐/๑๗๕

วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 11, 2566

Phuen

 
ว่าด้วยบุรพาธิการของพระตถาคต

[ ๑๓๑ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ภพก่อน กำเนิดก่อนเป็นผู้ยึดมั่นในกุศลธรรม ยึดมั่นไม่ถอยหลัง ในกาย
สุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต การบำเพ็ญทาน ในการสมาทานศีล ในการ
รักษาอุโบสถ ในการปฏิบัติดีในมารดา บิดา สมณพราหมณ์ ในความเป็น
ผู้เคารพต่อผู้ใหญ่ในตระกูล และในธรรมเป็นอธิกุศลอื่น ๆ ตถาคตย่อม
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้น
อันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ตถาคตย่อมครอบงำ เทวดาทั้งหลาย
ในโลกสวรรค์โดยสถาน ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ ความสุขทิพย์
ยศทิพย์ ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์. กลิ่นทิพย์ รสทิพย์
และโผฏฐัพพทิพย์. ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาถึงความเป็นอย่างนี้
ย่อมได้มหาปุริสลักษณะนี้.

ทรงเหยียบพระบาทเสมอกัน

[ ๑๓๒ ] พระมหาบุรุษนั้น มีพระบาทตั้งอยู่เป็นอันดี คือ ทรง
เหยียบพระบาทเสมอกันบนพื้นอาทิผิด ทรงยกพระบาทขึ้นก็เสมอกัน ทรงจรดพื้น
ด้วยฝ่าพระบาททุกส่วนเสมอกัน พระมหาบุรุษทรงถึงพร้อมด้วยลักษณะ
นั้น หากอยู่ครองเรือน จะเป็นพระราชาจักรพรรดิ เป็นผู้ทรงธรรมเป็น
ธรรมราชา มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีอาณาจักรมั่นคง
ถึงพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี
นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗. และมีพระราชโอรสมาก
กว่าพัน ล้วนเป็นผู้แกล้วกล้า พระรูปสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนา.
 
๑๖/๑๓๒/๕

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 10, 2566

Dai

 
เห็นแผ่นจารึกอักษรและตราพระราชลัญจกร ก็แก้ออกเห็นชิ้นเนื้อนั้น ครั้น
เห็นแล้ว ดาบสรูปนั้นก็คิดว่า เห็นทีจะเป็นสัตว์เกิดในครรภ์ ดังนั้น จึงไม่
เน่าเหม็น ก็นำชิ้นเนื้อนั้น ไปยังอาศรม วางไว้ในที่สะอาด. ล่วงไปครึ่งเดือน
ชิ้นเนื้อก็แยกเป็น ๒ ชิ้น ดาบสเห็นแล้ว ก็วางไว้อย่างดี. ต่อจากนั้น ล่วง
ไปอีกครึ่งเดือน ชิ้นเนื้อแต่ละชิ้นก็เกิดปมชิ้นละ ๕ สาขา เพื่อเป็นมือ เท้า
และศีรษะ ดาบสก็บรรจงวางไว้เป็นอย่างดีอีก. ต่อนั้น อีกครึ่งเดือน ชิ้นเนื้อ
ชิ้นหนึ่งก็เป็นทารก เสมือนรูปทอง อีกชิ้นหนึ่งก็เป็นทาริกา ดาบสเกิดความ
รักดังบุตรในทารกทั้งสองนั้น. น้ำนมก็บังเกิดจากหัวนิ้วแม่มือของดาบสนั้น
ตั้งแต่นั้นมา ดาบสได้น้ำนมและอาหารมาก็บริโภคอาหาร หยอดน้ำนมในปาก
ของทารกทั้งสอง. สิ่งใด ๆ เข้าไปในท้องของทารกนั้น สิ่งนั้น ๆ ทั้งหมด
ก็จะแลเห็นเหมือนเข้าไปในภาชนะทำด้วยแก้วมณี. ทารกทั้งสอง ไม่มีผิวอย่าง
นี้. แต่อาจารย์พวกอื่น ๆ กล่าวว่า ผิวของทารกทั้งสองนั้น ใสถึงกันและกัน
เหมือนถูกร้อยด้ายอาทิผิด สระวางไว้. ทารกเหล่านั้น จึงปรากฏชื่อว่า ลิจฉวี เพราะไม่
มีผิว หรือเพราะมีผิวใส ด้วยประการฉะนี้.
ดาบสเลี้ยงทารก พอตะวันขึ้นก็เข้าบ้านแสวงหาอาหาร ตอนสาย ๆ ก็
กลับ. คนเลี้ยงโคทั้งหลาย รู้ถึงการขวนขวายนั้นของดาบสนั้น ก็กล่าวว่า
ท่านเจ้าข้า การเลี้ยงทารกเป็นกังวลห่วงใยของเหล่านักบวช ขอท่านโปรดให้
ทารกแก่พวกเราเถิด พวกเราจะช่วยกันเลี้ยง ขอท่านโปรดทำกิจกรรมของ
ท่านเถิด. ดาบสก็ยอมรับ. วันรุ่งขึ้น พวกคนเลี้ยงโคก็ช่วยกันทำหนทางให้
เรียบแล้วโรยทราย ยกธง มีดนตรีบรรเลงพากันมายังอาศรม. ดาบสกล่าวว่า
ทารกทั้งสองมีบุญมาก พวกท่านจงช่วยกันเลี้ยงให้เจริญวัย ด้วยความไม่ประ-
มาท ครั้นให้เจริญวัยแล้ว จงจัดการอาวาหวิวาหกันและกัน ให้พระราชา
 
๓๙/๗/๒๒๑

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 09, 2566

Phothisat

 
มุ่งบรรพชา เสด็จออกทรงผนวชพร้อมด้วยพลนิกาย พวกเรา
จักทำอะไรกันในเมืองนี้ ดังนี้แล้ว บรรดาผู้อยู่ในพระนครทั้งนั้น
ต่างพากันเดินทางออกจากกรุงพาราณสี อันมีปริมณฑลได้
๑๒ โยชน์. บริษัทก็ได้มีปริมณฑล ๑๒ โยชน์. พระโพธิอาทิผิด สระสัตว์
พาบริษัทนั้นเข้าป่าหิมพานต์. ในขณะนั้นอาสนะที่ประทับนั่ง
ของท้าวสักกเทวราช สำแดงอาการร้อน. ท้าวเธอทรงตรวจดู
ทอดพระเนตรเห็นว่า กุททาลบัณฑิต ออกสู่มหาภิเนษกรมณ์
แล้วทรงพระดำริว่า จักเป็นมหาสมาคม ควรที่ท่านจะได้สถาน
ที่อยู่ แล้วตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมา ตรัสสั่งว่า พ่อ-
วิสสุกรรม กุททาลบัณฑิตกำลังออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ ท่าน
ควรจะได้ที่อยู่ ท่านจงไปหิมวันตประเทศ เนรมิตอาศรมบท
ยาว ๓๐ โยชน์ กว้าง ๑๕ โยชน์ ณ ภูมิภาคอันราบรื่น. วิสสุ-
กรรมเทพบุตร รับเทวบัญชาว่า ข้าแต่เทพยเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า
จะกระทำให้สำเร็จดังเทวบัญชา แล้วไปทำตามนั้น นี้เป็นความ
สังเขปในอธิการนี้. ส่วนความพิสดาร จักปรากฏในหัตถิปาลชาดก
แท้จริงเรื่องนี้ และเรื่องนั้น เป็นปริเฉทเดียวกันนั่นเอง.
ฝ่ายวิสสุกรรมเทพบุตร เนรมิตบรรณศาลาในอาศรมบท
แล้ว ก็ขับไล่ เนื้อ นก และอมนุษย์ที่มีเสียงชั่วร้ายไปเสีย แล้ว
เนรมิต หนทางเดินแคบ ๆ ตามทิสาภาคนั้น ๆ เสร็จแล้ว เสด็จ
กลับไปยังวิมานอันเป็นสถานที่อยู่ของตนทันที.
 
๕๖/๗๐/๑๗๒

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 08, 2566

Sai

 
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า โย เต วิสฺสาสเต เท่ากับ
โย ตว วิสฺสาเสยฺย แปลว่า ผู้ใดพึงคุ้นเคยกับเจ้า. สองบทว่า
ขเมยฺย เต ความว่า ผู้ใดพึงอดทนต่อความคุ้นเคยที่เจ้ากระทำแล้ว
ในตน. บทว่า สุสฺสูสี จ ตีติกฺขี จ ความว่า ผู้ใดพึงเป็นผู้ประกอบ
แล้วด้วยการฟังด้วยดี ซึ่งถ้อยคำของเจ้าและด้วยการอดกลั้นต่อถ้อยคำ
ของเจ้า. ด้วยบทว่า โอรสีว ปติฏฺฐาย เจ้าพึงตั้งตน คือพึงดำรงตน
อยู่เหมือนบุตรผู้เกิดแต่อกของมารดา ฉะนั้น แล้วรู้สึกอยู่ว่า เหมือน
มารดาของตนพึงคบผู้นั้น. บทว่า โย จ ธมฺเมน จรติ ความว่า
ผู้ใดประพฤติโดยสุจริตธรรมสามอย่างนั่นแล. บทว่า น มญฺญติ
ความว่า แม้เมื่อประพฤติอยู่อย่างนั้น ก็ไม่ถือตัวว่าเราประพฤติธรรม.
บทว่า วิสุทฺธการึ ได้แก่ผู้กระทำกุศลกรรมบถสิบประการอันบริสุทธิ์.
บทว่า ราควิราคินํ ได้แก่ผู้รักง่ายและหน่ายเร็ว คือมีอันรักแล้ว
ก็หน่ายในขณะนั้นเป็นสภาพ. บทว่า นิมฺมนุสฺสมฺปิ เจ สิยา ความว่า
แม้ถ้าว่าพื้นชมพูทวีปจะไม่มีมนุษย์ไซร้อาทิผิด อักขระ มีแต่มนุษย์ผู้นั้นประดิษฐาน
อยู่ผู้เดียว แม้ถึงกระนั้นเจ้าก็อย่าคบคนเช่นนั้น. บทว่า มหาปถํ
คือดุจบุคคลละเว้นหนทางที่เปรอะเปื้อนด้วยคูถฉะนั้น. บทว่า ยานีว
คือดุจบุคคลผู้ไปด้วยยาน. บทว่า วิสมํ คือที่ไม่เรียบราบเช่นเป็น
ที่ลุ่มที่ดอนมีตอและหินเป็นต้น. บทว่า พาลํ อจฺจูปเสวโต ได้แก่
ผู้คบคนพาลคือคนไม่มีปัญญา. บทว่า สพฺพทา ความว่า แน่ะพ่อ
ขึ้นชื่อว่าการอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ทุกเมื่อ คือตลอดกาลเป็นนิจ
 
๕๙/๑๒๙๑/๗๑๖

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 07, 2566

Apson

 
ต่อมาวันหนึ่ง นางเข้าไปหาภิกษุผู้ฉันเสร็จไหว้แล้ว จึงถามอย่าง
นี้ว่า ท่านเจ้าขา จะหลุดพ้นจากทุกข์มีชาติเป็นต้นนี้ ได้อย่างไรเจ้าคะ.
ภิกษุทั้งหลายให้สรณะและศีล ๕ แก่นางแล้ว ประกาศให้รู้สภาพของ
ร่างกาย ประกอบนางไว้ในปฏิกูลมนสิการใส่ใจว่าปฏิกูล ภิกษุอีกพวกหนึ่ง
กล่าวธรรมีกถาที่เกี่ยวด้วยความไม่เที่ยง. นางรักษาศีลอยู่ ๑๖ ปี ทำ
โยนิโสมนสิการติดต่อกันมาตลอดวันหนึ่ง ได้ความสบายในการฟังธรรม
และเจริญวิปัสสนาเพราะญาณแก่กล้า ก็ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
สมัยต่อมา นางทำกาละแล้วไปเกิดเป็นนางบำเรอสนิทเสน่หาของท้าว
สักกเทวราช. นางอันดุริยเทพหกหมื่นบำเรออยู่ มีอัปสรอาทิผิด สระแสนหนึ่งแวดล้อม
เสวยทิพย์สมบัติใหญ่ ร่าเริงบันเทิงพร้อมด้วยบริวาร เที่ยวไปในอุทยาน
เป็นต้น. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เห็นนางแล้ว ได้ถามโดยนัยที่กล่าว
ในหนหลังนั่นแหละว่า
ท่านแวดล้อมด้วยหมู่เทพนารี เที่ยวชมไปโดย
รอบในสวนจิตตลดาวันอันน่ารื่นรมย์ ประดุจท้าว
สักกเทวราช ส่องแสงสว่างไสวไปทุกทิศ เหมือนดาว
ประกายพรึก เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะ.
เช่นนี้ เพราะบุญอะไร อิฐผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน
และโภคทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.
ดูราเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม
ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ ท่าน
จึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านจึง
สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.
 
๔๘/๑๘/๑๕๘

วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 06, 2566

Dang phroi

 
เพราะเห็นอานิสงส์ในการถึงพร้อมแห่งศีล ๑.
คุณชาติทั้ง ๒ อย่างนี้ ท่านได้ให้พิสดารแล้วในปกรณ์วิเศษชื่อ
วิสุทธิมรรค.
พระสุมนเถระชาวทีปวิหาร กล่าวไว้ว่า ได้ยินว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงยกจตุปาริสุทธิศีลขึ้นแสดง ด้วยพระดำรัสมีประมาณ
เท่านี้ว่า สมฺปนฺนสีลา ในบรรดาบทเหล่านั้น แล้วทรงแสดงศีลที่เป็น
ประธานในบรรดาศีลเหล่านั้น อย่างพิสดาร ด้วยบทนี้ว่า ปาฏิโมกฺข-
สํวรสํวุตา ดังนี้.
ส่วนพระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกซึ่งเป็นอันเตวาสิกของ
พระสุมนเถระนั้น กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาฏิโมกขสังวรศีล
ไว้ในบาลีประเทศถึง ๒ แห่ง ปาฏิโมกขสังวรเท่านั้น ชื่อว่าศีล (แต่
อาคต) สถานที่กล่าวรับรองไว้ว่า ศีล ๓ อย่างนอกนี้ที่เป็นศีล ก็มีอยู่ ท่าน
เมื่อไม่เห็นด้วยจึงกล่าวแย้งไว้แล้ว กล่าว ( ต่อไป ) ว่า คุณ เพียงแต่
การรักษาทวารทั้ง ๖ ก็ชื่อว่า อินทรียสังวร คุณ เพียงแต่การบังเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยโดยธรรมโดยสม่ำเสมอ ก็ชื่อว่า อาชีวปาริสุทธิ คุณ เพียงแต่
การพิจารณาปัจจัยที่ตนได้แล้วว่า สิ่งนี้มีอยู่ ดังนี้แล้ว จึงบริโภค ก็ชื่อว่า
ปัจจัยสันนิสสิตศีล.
แต่ว่าโดยตรง ปาฏิโมกขสังวรเท่านั้นชื่อว่าศีล ปาฏิโมกขสังวรศีล
นั้นของผู้ใดขาดแล้ว ผู้นั้นใคร ๆ ไม่ควรกล่าวว่า ผู้นี้จักรักษาศีลที่เหลือ
ไว้ ดังนี้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีศีรษะขาดแล้วก็ไม่อาจที่จะรักษามือและเท้า
ไว้ได้ฉะนั้น. แต่ว่า ปาฏิโมกขสังวรศีลนี้ของผู้ใด ไม่ด่างอาทิผิด อักขระพร้อย ผู้นี้
นั้นย่อมสามารถที่จะรักษาศีลที่เหลือให้ดำรงอยู่ตามปกติได้ เปรียบเหมือน
 
๑๗/๙๐/๔๑๐

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 05, 2566

Laeo

 
เห็นประชุมชนผู้เกลื่อนกล่นไปด้วยความเศร้าโศก
ถูกชาติและชราครอบงำแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า
ผู้ชนะสงครามแล้ว เป็นนายพวก ปราศจากหนี้
ขอพระองค์จงเสด็จลุกขึ้น เปิดเผยโลก
ขอผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม
ผู้ที่รู้ที่ทั่วถึงธรรมได้ ยังจักมี.
[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวมหาพรหมนั้นได้กราบทูลแล้ว ดังนี้
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี จึงได้ตรัสกะท้าวมหา
พรหมนั้นด้วยพระคาถาว่า
เราได้เปิดเผยประตูอมตะไว้สำหรับท่านแล้ว ผู้มีโสต
จงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูกรพรหม เรารู้สึกลำบาก
จึงมิได้กล่าวธรรมอันประณีตซึ่งเราให้คล่องแคล่วแล้วอาทิผิด อักขระ
ในหมู่มนุษย์ ดังนี้.
[๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมคิดว่า เราเป็นผู้
มีโอกาส อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้
ทรงกระทำแล้ว เพื่อจะทรงแสดงธรรม จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง.
[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ทรงพระดำริว่า เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อน
เล่าหนอ ใครจะรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้เร็วพลันทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล
พระผู้มีภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้ทรงพระดำริว่า พระ-
ราชโอรสพระนามว่าขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อว่า ติสสะนี้ ผู้อาศัยอยู่ใน
พระนครพันธุมดีราชธานีเป็นคนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา มีกิเลสเพียงดัง
 
๑๓/๔๖/๔๔