วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 19, 2566

Khop ha

 
ไม่มีอัสสาทะเป็นไปสม่ำเสมอในอารมณ์ ดำเนินไปสู่วิถีแห่งสมถะ ในสมัยนั้น
เธอไม่ต้องขวนขวายในการยก การข่ม และการทำให้มันร่าเริง ดุจสารถี
เมื่อม้าทั้งหลายวิ่งไปเรียบร้อย ก็ไม่ขวนขวายฉะนั้น นี้เรียกว่า ความเพ่งดู
จิตอยู่เฉย ๆ ในสมัย. การหลีกเว้นไกลบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ยังไม่ถึงอุปจาระ
หรืออัปปนา ชื่อว่า หลีกเว้น บุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ. การเสพ การคบหาอาทิผิด อักขระ
การเข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิด้วยอุปจาระ หรืออัปปนา ชื่อว่า การ
คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ. ความที่จิตน้อมไป โน้มไป โอนไปเพื่อเกิด
สมาธิในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่งเป็นต้น ชื่อว่า ความน้อมจิต
ไปในสมาธินั้น. ก็เธอเมื่อปฏิบัติอย่างนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมเกิดขึ้น
ก็สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมเจริญเต็มที่ได้ด้วยอรหัต-
มรรค.
ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ คือ ความวางเฉยในสัตว์ ๑ ความวางเฉยในสังขาร ๑ ความหลีก
เว้นบุคคลผู้พัวพันอยู่ในสัตว์และสังขาร ๑ ความคบหาบุคคลผู้วางเฉยในสัตว์
และสังขาร ๑ ความน้อมจิตไปในอุเบกขานั้น ๑.
บรรดาบทเหล่านั้น เธอให้ความวางเฉยในสัตว์ตั้งขึ้น ด้วยอาการ ๒
คือด้วยการพิจารณาเห็นความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตนอย่างนี้ว่า ท่านมา
ด้วยกรรมของตน ก็จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแหละ แม้เขามาด้วยกรรม
ของตน ก็จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแหละ ท่านจะพัวพันกับใครดังนี้ และ
ด้วยการพิจารณาเห็นมิใช่สัตว์อย่างนี้ว่า โดยปรมัตถ์สัตว์ไม่มีเลย ท่านนั้นจะ
พัวพันกับใครเล่า ดังนี้. ย่อมให้ความวางเฉยในสังขารตั้งขึ้น ด้วยอาการ ๒
คือ ด้วยการพิจารณาเห็นความไม่มีเจ้าของอย่างนี้ว่า จีวรนี้เข้าถึงความมีสี
เปลี่ยนไป และความคร่ำคร่าโดยลำดับ เป็นท่อนผ้าสำหรับเช็ดเท้า จักเป็น
 
๓๐/๕๔๖/๒๙๑

ไม่มีความคิดเห็น: