วันพุธ, กุมภาพันธ์ 08, 2566

Sai

 
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า โย เต วิสฺสาสเต เท่ากับ
โย ตว วิสฺสาเสยฺย แปลว่า ผู้ใดพึงคุ้นเคยกับเจ้า. สองบทว่า
ขเมยฺย เต ความว่า ผู้ใดพึงอดทนต่อความคุ้นเคยที่เจ้ากระทำแล้ว
ในตน. บทว่า สุสฺสูสี จ ตีติกฺขี จ ความว่า ผู้ใดพึงเป็นผู้ประกอบ
แล้วด้วยการฟังด้วยดี ซึ่งถ้อยคำของเจ้าและด้วยการอดกลั้นต่อถ้อยคำ
ของเจ้า. ด้วยบทว่า โอรสีว ปติฏฺฐาย เจ้าพึงตั้งตน คือพึงดำรงตน
อยู่เหมือนบุตรผู้เกิดแต่อกของมารดา ฉะนั้น แล้วรู้สึกอยู่ว่า เหมือน
มารดาของตนพึงคบผู้นั้น. บทว่า โย จ ธมฺเมน จรติ ความว่า
ผู้ใดประพฤติโดยสุจริตธรรมสามอย่างนั่นแล. บทว่า น มญฺญติ
ความว่า แม้เมื่อประพฤติอยู่อย่างนั้น ก็ไม่ถือตัวว่าเราประพฤติธรรม.
บทว่า วิสุทฺธการึ ได้แก่ผู้กระทำกุศลกรรมบถสิบประการอันบริสุทธิ์.
บทว่า ราควิราคินํ ได้แก่ผู้รักง่ายและหน่ายเร็ว คือมีอันรักแล้ว
ก็หน่ายในขณะนั้นเป็นสภาพ. บทว่า นิมฺมนุสฺสมฺปิ เจ สิยา ความว่า
แม้ถ้าว่าพื้นชมพูทวีปจะไม่มีมนุษย์ไซร้อาทิผิด อักขระ มีแต่มนุษย์ผู้นั้นประดิษฐาน
อยู่ผู้เดียว แม้ถึงกระนั้นเจ้าก็อย่าคบคนเช่นนั้น. บทว่า มหาปถํ
คือดุจบุคคลละเว้นหนทางที่เปรอะเปื้อนด้วยคูถฉะนั้น. บทว่า ยานีว
คือดุจบุคคลผู้ไปด้วยยาน. บทว่า วิสมํ คือที่ไม่เรียบราบเช่นเป็น
ที่ลุ่มที่ดอนมีตอและหินเป็นต้น. บทว่า พาลํ อจฺจูปเสวโต ได้แก่
ผู้คบคนพาลคือคนไม่มีปัญญา. บทว่า สพฺพทา ความว่า แน่ะพ่อ
ขึ้นชื่อว่าการอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ทุกเมื่อ คือตลอดกาลเป็นนิจ
 
๕๙/๑๒๙๑/๗๑๖

ไม่มีความคิดเห็น: