วันพุธ, กุมภาพันธ์ 22, 2566

Mangsa

 
ราชบุตรเหล่านั้นทุก ๆ พระองค์ ไปถึงชนบทของตน ๆ แล้วแสดง
ศิลปะแก่พระราชมารดาบิดาของตนแล้ว ตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้วต่างส่งราชสาส์น
พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการเพื่อให้ทราบความที่ตนตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้ว
และประพฤติอยู่ในโอวาทด้วย พระมหาสัตว์ได้ทรงทราบข่าวสาส์นนั้น แล้ว
ทรงตอบพระราชสาส์นไปว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ในบรรดา
พระราชาเหล่านั้น พระเจ้าพาราณสีเว้นมังสะเสียแล้วเสวยอาหารไม่ได้ แม้
ในวันอุโบสถพวกห้องเครื่องต้นก็ต้องเก็บมังสะไว้ถวายท้าวเธอ อยู่มาวันหนึ่ง
เนื้อที่เก็บไว้อย่างนั้น พวกโกไลยสุนัข ในพระราชวังกินเสียหมด เพราะความ
เลินเล่อของคนทำเครื่องต้น คนทำเครื่องต้นไม่เห็นมังสะ จึงถือกหาปณะ
กำมือหนึ่งเที่ยวไป ก็ไม่อาจจะหามังสะได้ จึงดำริว่า ถ้าหากเราจักตั้งเครื่อง
เสวยไม่มีมังสะ เราก็จะไม่มีชีวิต จักทำอย่างไรเล่าหนอ ครั้นนึกอุบายได้ใน
เวลาค่ำจึงไปสู่ป่าช้าผีดิบ ตัดเอาเนื้อตรงขาของบุรุษที่ตายเมื่อครู่หนึ่งนั้น นำมา
ทำให้สุกดีแล้ว หุงข้าวจัดแจงตั้งเครื่องเสวย พร้อมด้วยมังสะอาทิผิด อักขระ พอพระราชาวาง
ชิ้นมังสะลง ณ ปลายพระชิวหา ชิ้นมังสะนั้น ก็แผ่ไปสู่เส้นประสาทที่รับรสทั้ง
๗ พัน ซาบซ่านไปทั่วพระสรีระ มีคำถามสอดเข้ามาว่า ที่เป็นดังนี้ เพราะเหตุไร
เฉลยว่า เพราะเคยเสวยมาก่อนแล้ว.
ได้ยินว่า ในอัตภาพต่อกันที่ล่วงไปแล้ว ท้าวเธอเกิดเป็นยักษ์กิน
เนื้อมนุษย์เสียเป็นอันมาก เพราะฉะนั้น เนื้อมนุษย์จึงได้เป็นสิ่งที่โปรด
ปรานของพระองค์ ท้าวเธอทรงพระดำริว่า ถ้าเราจักนิ่งเสียแล้วบริโภค
คนทำเครื่องนี้ก็จักไม่บอกเนื้อชนิดนี้ แก่เรา จึงแกล้งถ่มให้ตกลงบนภาค
พื้นพร้อมด้วยพระเขฬะ เมื่อคนทำเครื่องต้นกราบทูลว่า ขอเดชะ มังสะ
นี้หาโทษมิได้ เชิญพระองค์เสวยเถิด จึงทรงรับสั่งให้ราชเสวกออกไป
เสียแล้ว ตรัสถามคนทำเครื่องต้นว่า เราเองก็ทราบว่าเนื้อนี้หาโทษมิได้ แต่
 
๖๒/๓๙๓/๖๔๒

ไม่มีความคิดเห็น: