วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 14, 2566

Semha

 
เสมหะอาทิผิด อักขระมาก ที่มีสีดำเพราะดีกำเริบ ที่มีสีแดงเพราะเลือดคั่ง เป็นดังถนนเพราะ
มากด้วยธาตุดิน ชื่อว่าย่อมไหลออกเพราะมากด้วยธาตุน้ำ ว่าย่อมแผดเผา
เพราะมากด้วยธาตุไฟ ชื่อว่าย่อมหมุนไปมา เพราะมากด้วยธาตุลม นี้ชื่อว่า
สสัมภารจักษุ. ประสาทอาศัยมหาภูตรูป ๔ ผูกพันในจักษุนี้ ชื่อ ปสาทจักษุ.
จริงอยู่ ปสาทจักษุนี้ย่อมเป็นไปโดยความเป็นวัตถุทวาร ตามสมควรแก่จักษุ
วิญญาณเป็นต้น .
แม้ในโสตะเป็นต้นพึงทราบความดังต่อไปนี้. โสตะมี ๒ อย่าง คือ
ทิพยโสตะ ๑ มังสโสตะ ๑. ในโสตะ ๒ อย่างนี้ ได้ยินเสียงทั้งสองด้วย
โสตธาตุอันเป็นทิพย์ บริสุทธิ์ล่วงเกินมนุษย์ นี้ชื่อว่า ทิพยโสตะ. ทั้งหมด
มีอาทิว่า มังสโสตะมี ๒ อย่างคือ สสัมภารโสตะ ๑ ปสาทโสตะ ๑ พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวแล้วในจักษุ. ฆานะและชิวหาก็เหมือนกัน. แต่กายมีหลายอย่าง
เป็นต้นว่า โจปนกาย กรชกาย สมูหกาย ปสาทกาย. ในกายเหล่านั้น
กายนี้ คือ
ผู้มีปัญญา สำรวมกาย และสำรวม
วาจา ชื่อว่า โจปนกาย.
นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ ชื่อ กรชกาย. แต่สมูหกายมีหลายอย่างมาแล้ว
ด้วยสามารถแห่งหมู่วิญญาณเป็นต้น. จริงอย่างนั้น ท่านกล่าวหมู่วิญญาณไว้ใน
บทมีอาทิว่า ดูก่อนอาวุโส หมู่วิญญาณเหล่านี้มี ๖ อย่าง ดังนี้. ท่านกล่าว
ถึงหมู่ผัสสะเป็นต้น ในบทมีอาทิว่า หมู่ผัสสะ ๖ อย่าง ดังนี้. อนึ่ง ท่านกล่าว
เวทนาขันธ์เป็นต้น ในบทมีอาทิว่า กายปัสสัทธิ (ความสงบกาย) กายลหุตา
(ความเบากาย). ท่านกล่าวหมู่ปฐวีธาตุเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า บุคคลบางคน
ในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นปฐวีกาย อาโปกาย เตโชกาย วาโยกาย เกสกาย
โลมกาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ดังนี้. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
 
๔๕/๒๐๖/๑๙๑

ไม่มีความคิดเห็น: