วันศุกร์, มิถุนายน 30, 2566

Sahaphu

 
เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ ธาตุ ๒ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี
เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสวิปปยุตต-
ปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี.

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
[๑๔๐] ธาตุ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ ธาตุ ๗ เป็นสารัมมณะ ธรรมธาตุ
เป็นสารัมมณะก็มี เป็นอนารัมมณะก็มี ธาตุ ๑๑ เป็นโนจิตะ ธาตุ ๗ เป็น
จิตะ ธาตุ ๑๗ เป็นอเจตสิกะ ธรรมธาตุ เป็นเจตสิกะก็มี เป็นอเจตสิกะก็มี
ธาตุ ๑๐ เป็นจิตตวิปปยุต ธรรมธาตุ เป็นจิตตสัมปยุตก็มี เป็นจิตตวิปปยุต
ก็มี ธาตุ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสัมปยุต แม้เป็นจิตตวิปปยุต ธาตุ ๑๐
เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ ธรรมธาตุ เป็นจิตตสังสัฏฐะก็มี เป็นจิตตวิสังสัฏฐะก็มี
ธาตุ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสังสัฏฐะ แม้เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ ธาตุ ๑๒
เป็นโนจิตตอาทิผิด สมุฏฐานะ ธาตุ ๖ เป็นจิตตสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสมุฏฐานะก็มี
ธาตุ ๑๗ เป็นโนจิตตสหภูอาทิผิด สระ ธรรมธาตุ เป็นจิตตสหภูก็มี เป็นโนจิตตสหภูก็มี
ธาตุ ๑๗ เป็นโนจิตตานุปริวัตติ ธรรมธาตุ เป็นจิตตานุปริวัตติก็มี เป็นโน-
จิตตานุปริวัตติก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ธรรมธาตุ เป็น
จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี ธาตุ ๑๗ เป็น
โนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู ธรรมธาตุ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี
เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี
ปริวัตติ ธรรมธาตุ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐ-
สมุฏฐานานุปริวัตติก็มี ธาตุ ๑๒ เป็นอัชฌัตติกะ ธาตุ ๖ เป็นพาหิระ ธาตุ ๙
 
๗๗/๑๔๐/๒๗๖

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 29, 2566

Upathan

 
๖๘-๑๔. อุปาทินนทุกะ
อุปาทินฺนา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย
ตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครอง
อนุปาทินฺนา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย
ตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง
อุปาทานอาทิผิด สระโคจฉกะ
หมวดที่ ๑๑ มี ๖ ทุกะ คือ
[๑๒] ๖๙-๑. อุปาทานทุกะ
อุปาทานา ธมฺมา ธรรมเป็นอุปาทานอาทิผิด สระ
โน อุปาทานา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอุปาทาน
๗๐-๒. อุปาทานิยทุกะ
อุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทานอาทิผิด สระ
อนุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานอาทิผิด สระ
๗๑-๓. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ
อุปาทานสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทานอาทิผิด สระ
อุปาทานวิปฺยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานอาทิผิด สระ
๗๒-๔. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ
อุปาทานา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานิยา จ อุปาทาน
อุปาทานิยา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทานอาทิผิด สระ แต่ไม่
โน จ อุปาทานา เป็นอุปาทานอาทิผิด สระ
 
๗๕/๑๒/๑๘๔

วันพุธ, มิถุนายน 28, 2566

Chamnuan

 
อนุโลมปัจจนียนัย
การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ
[๔๕๘] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ.... ใน
นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย
มี ๙ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
ในปัจจัยทั้งปวง มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตต-
ปัจจัย มี ๖ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

ปัจจนียานุโลมนัย
การนับจำนวนอาทิผิด สระวาระในปัจจนียานุโลม
[๔๕๙] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ... ใน
อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ อนุโลมมาติกา ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.
อุปาทานสัมปยุตตทุกะ จบ
 
๘๙/๔๕๘/๕๑๓

วันอังคาร, มิถุนายน 27, 2566

Lang

 
ดังยานนาวาของพ่อ ไม่หวั่นไหวต่อสาครคือภพ พ่อ
จักข้ามฝั่งคือชาติ จักยังมนุษย์ทั้งเทวดาให้ข้ามด้วย
พระชาลีราชกุมารได้ทรงสดับพระดำรัสของพระราชบิดา จึงทรงคิดว่า
ตาพราหมณ์จงทำเราตามใจชอบเถิด เราจักไม่กล่าวคำสองกับพระราชบิดา
จึงโผล่พระเศียรแหวกใบบัวออกเสด็จขึ้นจากน้ำ หมอบแทบพระบาทเบื้องขวา
แห่งพระมหาสัตว์ กอดข้อพระบาทไว้มั่นทรงกันแสง ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึง
ตรัสถามพระชาลีว่า แน่ะพ่อ น้องหญิงของพ่อไปไหน พระชาลีทูลสนองว่า
ข้าแต่พระราชบิดา ธรรมดาว่าสัตว์ทั้งหลาย เมื่อภัยเกิดขึ้น ก็ย่อมรักษาตัว
ทีเดียว ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ก็ทรงทราบว่า ลูกทั้งสองของเราจักนัดหมาย
กัน จึงตรัสเรียกว่า แม่กัณหา แม่จงมา แล้วตรัสคาถาว่า
ดูก่อนแม่กัณหาธิดารัก แม่จง มาจงเพิ่มพูนทาน
บารมีที่รักของพ่อ จงช่วยโสรจสรงหทัยของพ่อให้เย็น
ฉ่ำ จงทำตามคำของพ่อ ขอเจ้าทั้งสองจงเป็นดังยาน
นาวาของพ่อ ไม่หวั่นไหวต่อสาครคือภพ พ่อจักข้าม
ฝั่งคือชาติ จักยกขึ้นซึ่งมนุษย์ทั้งเทวดาด้วย.
พระนางกัณหาชินาราชกุมารีได้ทรงสดับพระดำรัสของพระราชบิดา
จึงทรงคิดว่า เราจักไม่กล่าวคำสองกับพระราชบิดา จึงเสด็จขึ้นจากน้ำ
เหมือนกัน หมอบแทบพระบาทเบื้องซ้ายแห่งพระมหาสัตว์ กอดข้อพระบาท
ไว้มั่นทรงกันแสง พระอัสสุชลของสองพระกุมารกุมารีตกลงยังหลังอาทิผิด พระบาท
แห่งพระมหาสัตว์ ซึ่งมีพรรณดุจดอกปทุมบาน พระอัสสุชลของพระมหาสัตว์ก็
ตกลงบนพระปฤษฏางค์แห่งสองพระกุมารกุมารีซึ่งเช่นกับแผ่นทองคำ.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ถึงความกวัดแกว่ง ราวกะว่ามีพระทัยหดหู่
ทรงลูบพระปฤษฏางค์แห่งราชกุมารกุมารีด้วยฝ่าพระหัตถ์อันอ่อนนุ่ม ยังพระ-
 
๖๔/๑๒๖๙/๗๒๐

วันจันทร์, มิถุนายน 26, 2566

Chang

 
แด่พระมหาสัตว์อย่างนี้แล้วก็นิ่งอยู่ พระมหาสัตว์เสด็จเที่ยวบิณฑบาต ได้
ภัตตาหารที่เจือปนแล้วเสด็จออกจากพระนคร ประทับนั่งเสวยในที่มีน้ำสมบูรณ์
พระองค์เสร็จเสวยพระกระยาหารแล้ว บ้วนพระโอฐ ล้างบาตรนำเข้าถุงแล้ว
ตรัสเรียกพระนางสีวลีมาตรัสว่า
ดูก่อนนางสีวลี เธอได้ยินคาถาที่ช่างอาทิผิด อักขระศรกล่าว
หรือยัง ช่างศรเป็นเพียงคนใช้ยังติเตียนเราได้ ความ
ที่เราทั้งสองประพฤตินั้นเป็นเหตุแห่งความครหา
ดูก่อนนางผู้เจริญ ทางสองแพร่งนี้อันเราทั้งสองผู้เดิน
ทางมาจงแยกกันไป เธอจงถือเอาทางหนึ่งไป อาตมา
ก็จะถือเอาทางอื่นอีกทางหนึ่งไป เธออย่าเรียกอาตมา
ว่าเป็นพระสวามีของเธอ และอาตมาก็จะไม่เรียกเธอ
ว่าเป็นมเหสีของอาตมาอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุณสิ ความว่า เธอฟังคาถาหรือ
พระมหาสัตว์ตรัสพระดำรัสว่า เปสิโย มํ นี้ ทรงหมายถึงโอวาทของช่างศร
นั่นเอง.
ได้ยินว่า พระนางสีวลีเทวีนั้น แม้ถูกพระมหาสัตว์ตรัสว่า เธออย่า
เรียกอาตมาว่าเป็นพระสวามีของเธอดังนี้ ก็ยังเสด็จติดตามพระมหาสัตว์อยู่
นั่นเอง พระราชาก็ไม่สามารถให้พระนางสีวลีนั้นเสด็จกลับได้ แม้มหาชนก็
ตามเสด็จพระองค์อยู่นั่นเอง ก็แต่ที่นั้นมีดงแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล ลำดับนั้น
พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นแนวป่าเขียวชอุ่ม มีพระราชประสงค์จะให้
พระนางเสด็จกลับ เมื่อดำเนินไปได้ทอดพระเนตรเห็นหญ้ามุงกระต่ายในที่ใกล้
ทาง พระองค์จึงทรงถอนหญ้ามุงกระต่ายนั้น ตรัสเรียกพระเทวีมาตรัสว่า
 
๖๓/๔๘๑/๑๕๒

วันอาทิตย์, มิถุนายน 25, 2566

Yapyang

 
อรรถกถาลกุณฑกภัททิยเถรคาถาที่ ๒

คาถาของท่านพระลกุณฑกภัททิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปเร
อมฺพาฏการาเม ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ พระเถระนี้
บังเกิดในตระกูลมีโภคะมาก ในหังสวดีนคร พอเจริญวัย นั่งฟังธรรมอยู่
ในสำนักของพระศาสดา ในขณะนั้น ได้เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุ
รูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้มีเสียงไพเราะ แม้ตนเองก็
ปรารถนาฐานันดรนั้น จึงถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประธาน แล้วได้กระทำปณิธานความปรารถนาว่า โอหนอ แม้ข้าพระองค์
ก็พึงเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้มีเสียงไพเราะ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์
หนึ่งในอนาคต เหมือนภิกษุรูปนี้. และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นความ
ปรารถนานั้นไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์แล้วหลีกไป.
เขาการทำบุญในหังสวดีนั้นจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผุสสะ เกิดเป็นนกดุเหว่า
มีขนปีกวิจิตรงดงาม คาบผลมะม่วงหวานจากพระราชอุทยานบินไป ได้เห็น
พระศาสดา มีใจเลื่อมใส จึงเกิดความคิดว่าจักถวาย. พระศาสดาทรง
ทราบความคิดของนกดุเหว่านั้น จึงทรงนั่งถือบาตร. นกดุเหว่าได้ใส่ผล
มะม่วงสุกลงในบาตรของพระศาสดา. พระศาสดาเสวยผลมะม่วงสุกนั้น.
นกดุเหว่านั้นมีใจเลื่อมใสจึงยับยั้งอาทิผิด อาณัติกะอยู่ตลอดสัปดาห์ ด้วยสุขอันเกิดจากปีติ
นั้น และด้วยบุญกรรมนั้น จึงเป็นผู้มีเสียงไพเราะ.

๑. บาลีเป็น ลกุณฏกเถรคาถา.
 
๕๒/๓๖๒/๒๔๔

วันเสาร์, มิถุนายน 24, 2566

Wa

 
เดียวกัน ดุจหน่อแห่งต้นไม้เป็นต้นที่มีกิ่งก้านคาคบอันสมบูรณ์แล้ว ดังนี้
คำถามของสกวาทีว่า อายตนะ ๖ เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำ
ตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า บุคคลมีอวัยวะน้อยใหญ่ครบครัน
เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงด้วยคำว่า เมื่อสฬายตนะมีอยู่ สัตว์ผู้จะเกิด
ในครรภ์ก็พึงเป็นเช่นนี้ ๆ แล้วจึงก้าวลงสู่ท้องมารดา. คำถามว่า
จักขายตนะเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดาในภายหลัง เป็นของ
ปรวาที. คำถามข้างหน้าว่า ไม่พึงกล่าวว่าอาทิผิด อาณัติกะ ผม ขนเป็นต้นเกิดแก่สัตว์
ผู้อยู่ในครรภ์มารดาในภายหลังหรือ เป็นของปรวาที คำที่เหลือในที่นี้
มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อรรถกถาสฬายตนุปปัตติกถา จบ
 
๘๑/๑๕๖๐/๔๐๕

วันศุกร์, มิถุนายน 23, 2566

Pathan

 
คำที่จะพึงกล่าวในเรื่องแผ่นดินไหว ๖ ประการนอกจากนี้ ท่านกล่าวไว้แล้วใน
มหาปทานอาทิผิด อักขระสูตร.
ในเหตุเกิดแผ่นดินไหว ๘ ประการนี้ ดังกล่าวมานี้ ครั้งที่ ๑ ไหว
ด้วยธาตุกำเริบ ครั้งที่ ๒ ไหวด้วยอานุภาพของผู้มีฤทธิ์ ครั้งที่ ๓ และครั้งที่ ๔
ไหวด้วยเดชแห่งบุญ ครั้งที่ ๕ ไหวด้วยอำนาจแห่งญาณ ครั้งที่ ๖ ไหว
ด้วยอำนาจสาธุการ ครั้งที่ ๗ ไหวด้วยอำนาจความเป็นผู้มีกรุณา ครั้งที่ ๘
ไหวด้วยการร้องไห้. ครั้งเมื่อพระมหาสัตว์ลงสู่พระครรภ์พระมารดาและออก
จากพระครรภ์นั้น แผ่นดินไหวด้วยอำนาจแห่งบุญของพระองค์. ครั้งตรัสรู้
อภิสัมโพธิญาณ แผ่นดินไหวด้วยอำนาจพระญาณ ครั้งประกาศพระธรรมจักร
แผ่นดินก็ผงาดขึ้นให้สาธุการไหว ครั้งปลงอายุสังขาร แผ่นดินผงาดขึ้นด้วย
ความกรุณา ทนความเคลื่อนไหวแห่งจิตไม่ได้ก็ไหว. ครั้งปรินิพพานแผ่นดิน
ก็ถูกกระหน่ำด้วยกำลังการร้องไห้ก็ไหว. ก็ความนี้พึงทราบด้วยอำนาจเทวดา
ประจำแผ่นดิน. แต่ข้อนี้ไม่มีแก่ปฐวีธาตุ ที่เป็นมหาภูตรูป เพราะไม่มีเจตนาแล
บทว่า อิเม ในคำว่า อิเม โข อานนฺท อฏฺฐ เหตู นี้เป็นการ
ชี้ข้อที่ทรงแสดงมาแล้ว. ก็แลด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านพระอานนท์ กำหนดว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปลงอายุสังขารวันนี้แน่แท้. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้ทรงทราบว่าพระอานนท์กำหนดได้ ก็ไม่ประทานโอกาส ทรงประมวลเหตุ
ทั้ง ๘ แม้อย่างอื่นเข้าไว้ด้วย จึงตรัสว่าอาทิผิด อาณัติกะ อฏฺฐ โข อิมา ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกสตํ ขตฺติยปริสํ ได้แก่ บริษัท
เช่น สมาคมพระเจ้าพิมพิสาร สมาคมพระญาติ และสมาคมเจ้าลิจฉวีเป็นอาทิ.
คำนี้ใช้ได้แม้ในจักรวาลอื่น ๆ. บทว่า สลฺลปิตปุพฺพํ ได้แก่ เคยกระทำ
การสนทนาปราศรัย. บทว่า สากจฺฉา ได้แก่ เคยเข้าร่วมแม้แต่การสนทนา
ธรรม. บทว่า ยาทิสโก เตสํ วณฺโณ ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น
 
๑๓/๑๖๒/๓๙๖

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 22, 2566

Pati

 
แม้จะไม่ได้ผลไม้ก็ไม่ยินดี ไม่เสียใจ วางจิตเป็นกลางกลับไป ฉันใด มุนีเข้า
ไปสู่ตระกูล แม้จะได้ แม้จะไม่ได้ลาภ ก็วางจิตเป็นกลางกลับไปฉันนั้น.
คาถาว่า สปตฺตปาณี มุนีมีบาตรในมือเป็นต้นมีความง่ายทั้งนั้น.
พึงทราบการเกี่ยวเนื่องกันของคาถานี้ว่า อุจฺจาวจา ปฏิปทาสูงต่ำต่อไป. มุนี
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยภิกขาจารวัตรอย่างนี้แล้ว ไม่พึงยินดีเพียงเท่านั้น ควรยินดี
ปฏิปทาต่อไป. เพราะคำสั่งสอน มีสาระอยู่ที่การปฏิบัติ. ก็ปฏิปทานั้นทั้งสูง
และต่ำ พระสมณะทรงประกาศแล้ว มุนีทั้งหลายย่อมไม่ไปสู่นิพพานถึงสองครั้ง
นิพพานนี้ควรถูกต้องครั้งเดียวเท่านั้นหามิได้.
บทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ มรรคปฏิปทานี้ชื่อว่าสูงต่ำ เพราะมีประเภท
ดีและเลว อันพระพุทธสมณะทรงประกาศไว้แล้ว จริงอยู่ การปฏิอาทิผิด อักขระบัติง่าย
รู้เร็ว เป็นปฏิปทาสูง. ปฏิบัติยาก รู้ช้าเป็นปฏิอาทิผิด อักขระปทาต่ำ. อีกสองอย่างนั้นเป็น
ปฏิปทาสูงด้วยองค์หนึ่ง ต่ำด้วยองค์หนึ่ง. หรือว่าปฏิปทาต้นสูง อีกสามอย่าง
ก็ต่ำ. มุนีทั้งหลายย่อมไม่ไปสู่นิพพานถึงสองครั้งด้วยปฏิอาทิผิด อักขระปทาสูงหรือต่ำนี้นั้น.
ปาฐะว่า ทุคุณํ สองครั้งก็มี. อธิบายว่า มุนีทั้งหลายย่อมไม่ไปสู่นิพพาน
ถึงสองครั้งด้วยมรรคเดียว. เพราะเหตุไร เพราะกิเลสเหล่าใดถูกละไปแล้ว ด้วย
มรรคใด ไม่พึงละกิเลสเหล่านั้นอีก ด้วยบทนั้น ท่านแสดงความไม่เสื่อมแห่ง
ธรรม. บทว่า น อิทํ เอกคุณมุตฺตํ นิพพานนี้ควรถูกต้องครั้งเดียวเท่านั้น
หามิได้ อธิบายว่า นิพพานนี้นั้นแม้ควรถูกต้องครั้งเดียวเท่านั้นก็หามิได้.
เพราะเหตุไร. เพราะไม่มีการละกิเลสทั้งหมดได้ด้วยมรรคเดียว. ด้วยบทนี้
ท่านแสดงความไม่บรรลุพระอรหัตด้วยมรรคเดียวเท่านั้น.
 
๔๗/๓๘๙/๖๕๕

วันพุธ, มิถุนายน 21, 2566

Sakkara

 
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล
การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ
พินาศสิ้น หลังจากตายไป ย่อมไม่มี ใช่ไหม ?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัย
ในฐานะ ๖ เหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ใน
ทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อนั้น
อริยสาวกนี้เราตถาคตเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ
เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ นัตถิทินนสูตร

อรรถกถานัตถิทินนสูตรที่ ๕

ในบทว่า นตถิ ทินฺนํ เป็นต้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :-
ด้วยบทว่า นตฺถิ ทินฺนํ บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งหลายกล่าว
หมายถึงว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล.
การบูชาใหญ่ เรียกว่า ยิฏฐะ. ในบทว่า หุตํ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ประสงค์เอาลาภสักการะอาทิผิด อักขระมาก. บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งหลาย ปฏิเสธ
บุญกรรมทั้งสองอย่างนั้น โดยหมายเอาว่า. ไม่มีผลเลย.
บทว่า สุกฏทุกฺกฏานํ ได้แก่ แห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่ว อธิบาย
ว่า แห่งกุศลกรรม และอกุศลกรรมทั้งหลาย.
 
๒๗/๔๒๖/๔๖๙

วันอังคาร, มิถุนายน 20, 2566

Tham

 
๙. มหาอัสสปุรสูตร

[๔๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของหมู่
เจ้าอังคะในอังคชนบท ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประชุมชนย่อม
รู้จักพวกเธอว่าสมณะๆ ก็แหละพวกเธอ เมื่อเขาถามว่า ท่านทั้งหลายเป็น
อะไร ก็ปฏิญญา (รับ) ว่า พวกเราเป็นสมณะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวก
เธอนั้น มีชื่ออย่างนี้มีปฏิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้ง
หลายจักสมาทานประพฤติธรรมอาทิผิด อักขระ ทำความเป็นสมณะด้วย ทำความเป็น
พราหมณ์ด้วย เมื่อพวกเราปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อและปฏิญญานี้ของพวกเรา
ก็จักเป็นความจริงแท้ ใช่แต่เท่านั้น พวกเราบริโภค จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายกเหล่าใด สักการะทั้งหลาย
นั้น ของทายกเหล่านั้น ก็จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ในเพราะพวกเรา
อีกอย่างหนึ่งเล่า บรรพชานี้ของพวกเรา ก็จักไม่เป็นหมันจักมีผล มีกำไร.
[๔๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมทำความเป็นสมณะและทำ
ความเป็นพราหมณ์ เป็นอย่างไร พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้ง
หลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ บางทีพวกเธอจะมีความดำริ
ว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้
พอละพวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะประโยชน์ของความเป็นสมณะ
(มรรค ผล นิพพาน) พวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้น
 
๑๙/๔๕๙/๒๐๕

วันจันทร์, มิถุนายน 19, 2566

Prakot

 
พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ละหรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ
ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏอาทิผิด อักขระแลหรือ ทีฆาวุอุบาสกกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ เยียวยาอัตภาพให้เป็น
ไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนักไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบ
ย่อมปรากฏอาทิผิด อักขระ ความทุเลาย่อมไม่ปรากฏ.
[๑๔๑๙] พ. ดูก่อนทีฆาวุ เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่าง
นี้ว่า เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าฯลฯ
ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ จักเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า
ใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูก่อนทีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
[๑๔๒๐] ที. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุ
โสดา ๔ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้น มีอยู่ใน
ข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์ประกอบ
ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ
ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ.
พ. ดูก่อนทีฆาวุ เพราะฉะนั้นแหล่ะ ท่านตั้งอยู่ในองค์แห่งธรรม
เป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ เหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่ง
วิชชา ๖ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป.
[๑๔๒๑] ดูก่อนทีฆาวุ ท่านจงพิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าเป็น
ของไม่เที่ยง มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ มีความสำคัญในสิ่งที่
เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา มีความสำคัญในการละ มีความสำคัญในความคลาย-
กำหนัด มีความสำคัญในการดับ ดูก่อนทีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล.
 
๓๑/๑๔๑๘/๒๗๕

วันอาทิตย์, มิถุนายน 18, 2566

Sisa

 
ในครั้งนั้น เวลาก่อนอาหาร ชาวพระนครพากันให้ทาน เวลาหลังอาหาร
นุ่งห่มเรียบร้อยแล้วก็ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปยังวิหารเพื่อฟังธรรม.
มาณพเห็นเข้า ถามว่า พวกท่านไปไหนกัน. พวกเขาตอบว่า ไปฟังธรรม
ในสำนักของพระทศพล. แม้เขาพร้อมด้วยบริวารก็ไปกับชาวพระนครเหล่านั้น
กระทำปฏิสันถารแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสกะเขาว่า วังคีสะ ได้ยินว่าเธอรู้ศิลปะดีหรือ. เขาตอบว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้มาก พระองค์ตรัสหมายเอาศิลปะประเภทไหน.
พระศาสดาตรัสว่า ศิลปะที่เกี่ยวกับซากศพ. เชิญเถิด ท่านพระโคดม. ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงศีรษะของสัตว์ผู้เกิดในนรก ด้วยอานุภาพของ
พระองค์แก่เขา แล้วตรัสถามว่า วังคีสะ ผู้นี้เกิดในที่ไหน. เขาร่ายมนต์แล้ว
เอานิ้วเคาะดู ทูลว่า เกิดในนรก. พระศาสดาตรัสว่า ดีละ วังคีสะ เธอตอบ
ดีแล้ว. พระองค์ทรงแสดงศีรษะของสัตว์ผู้เกิดในเทวโลก แม้ศีรษะนั้นเขาก็
พยากรณ์ได้อย่างนั้นเหมือนกัน. ลำดับนั้น พระศาสดาจึงทรงแสดงศีรษะอาทิผิด สระของ
พระขีณาสพแก่เขา. เขาร่ายมนต์แล้วร่ายมนต์อีกก็ดี เอานิ้วเคาะก็ดี ก็ไม่รู้ที่
สัตว์เกิด.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะเขาว่า ลำบากไหมวังคีสะ.
เขาทูลว่า ลำบาก ท่านโคดม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอใคร่ครวญบ่อย ๆ สิ.
เขาแม้เมื่อทำอย่างนั้น ก็ไม่เห็น จึงทูลว่า ท่านพระโคดม พระองค์ทรงรู้หรือ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รู้วังคีสะ. บุคคลนั้น ชื่อว่าไปดีแล้ว เพราะไม่มีที่อาศัย
เรารู้คติของเขา. ทูลถามว่า พระองค์รู้ได้ด้วยมนต์ หรือท่านพระโคดม. ถูกแล้ว
วังคีสะ เราตถาคตรู้ได้ด้วยมนต์อย่างเดียวเท่านั้น. ทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม
 
๒๕/๗๖๐/๓๕๐

วันเสาร์, มิถุนายน 17, 2566

Chanthaphakha

 
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งพุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกจัมปกปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบเอกจัมปกปุปผิยเถราปทาน
ติมิรปุปผิยเถราปทานที่ ๙ (๓๖๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกดีหมี
[๓๗๑] เราเที่ยวไปตามกระแสน้ำใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคาอาทิผิด อักขระ ได้
เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าปราศจากกิเลสธุลี เหมือนพญารัง
มีดอกบาน.
เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ถือเอาดอกดีหมีมาโปรยลง
เหนือศีรษะ บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นมุนีอันอุดม.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งพุทธบูชา.
 
๗๑/๓๗๑/๘๔๔

วันศุกร์, มิถุนายน 16, 2566

Saen

 
แห่งละ ๒ พันรูปเป็นนิตยกาล. พระภิกษุรูปใด ปรารถนาของสิ่งใด
จะเป็นข้าวน้ำอาทิผิด หรือเภสัช ของนั้นก็สำเร็จแก่พระภิกษุรูปนั้นสมปรารถนา.

เศรษฐีไม่เคยทูลถามปัญหา
ในท่านทั้งสองนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ไม่เคยทูลถาม
ปัญหาต่อพระศาสดา จนวันเดียว. ได้ยินว่า ท่านคิดว่า “ พระ-
ตถาคตเจ้า เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ละเอียดอ่อน เป็นกษัตริย์ผู้ละเอียดอ่อน
เมื่อทรงแสดงธรรมแก่เรา ด้วยทรงพระดำริว่า ‘ คฤหบดีมีอุปการะ
แก่เรามาก ’ ดังนี้ จะทรงลำบาก ” แล้วไม่ทูลถามปัญหาด้วยความรัก
ในพระศาสดาเป็นอย่างยิ่ง. ฝ่ายพระศาสดา พอท่านเศรษฐีนั่งแล้ว
ทรงพระพุทธดำริว่า “ เศรษฐีผู้นี้ รักษาเราในที่ไม่ควรรักษา, เหตุว่า
เราได้ตัดศีรษะของเราอันประดับประดาแล้ว ควักดวงตาของเราออกแล้ว
ชำแหละเนื้อหัวใจของเราแล้ว สละลูกเมียผู้เป็นที่รักเสมอด้วยชีวิตของ
เราแล้ว บำเพ็ญบารมีอยู่ ๔ อสงไขยกับแสนอาทิผิด กัลป์ ก็บำเพ็ญแล้วเพื่อ
แสดงธรรมแก่ผู้อื่นเท่านั้น เศรษฐีนี่รักษาเราในที่ไม่ควรรักษา,” (ครั้น
ทรงพุทธดำริ) ฉะนี้แล้ว ก็ตรัสพระธรรมเทศนากัณฑ์หนึ่งเสมอ.

ชาวสาวัตถีไปฟังธรรม
ครั้งนั้น ในกรุงสาวัตถี มีคนอยู่ ๗ โกฏิ๑. ในคนหมู่นั้น คน
ได้ฟังธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว เกิดเป็นอริยสาวกประมาณ ๕ โกฏิ

๑. ในกรุงสาวัตถีไม่ปรากฏว่าใหญ่โตถึงกับจุคนได้ตั้ง ๗๐ ล้าน เพราะฉะนั้นน่าจะเป็นอเนกสังขยากระมัง ?
 
๔๐/๑๑/๑๑

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 15, 2566

Phu

 
ความย่อยยับแตกหักฉะนั้น คือ ไม่ได้ความสุข หรือความสำราญในโลกนี้
เลย. บทว่า ตสฺมา อิทนฺเตวิชฺชานํ พฺราหฺมณานํ ความว่า เพราะฉะนั้น
นี้เป็นปาพจน์ คือ ไตรเพทที่แสดงถึงทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมของ
พราหมณ์ทั้งหลายผู้จบไตรเพท บทว่า เตวิชฺชาอีริณํ ได้แก่ ป่าคือไตรเพท
ก็ป่าใหญ่ที่ไม่มีบ้านท่านกล่าวว่าทุ่ง. บทว่า เตวิชฺชาวิวนํ ได้แก่ป่าที่ไม่มีน้ำ
ปกคลุมด้วยต้นไม้ที่มีดอกผลใช้บริโภคไม่ได้. ท่านกล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เขาเรียกกันว่าป่าใหญ่คือไตรเพท ดังนี้ ก็มี ทรงหมายถึงป่าที่ใคร ๆ
ไม่สามารถที่จะแวะลงแล้วเปลี่ยนทางได้. บทว่า ความพินาศแห่งไตรเพท
คำนี้ เช่นเดียวกับความพินาศ ๕ อย่างของไตรเพท. ท่านแสดงว่า ผู้จบ
ไตรเพท ย่อมไม่มีความสุข เพราะอาศัย คำสอนหลักอันได้แก่ไตรเพท
เหมือนอย่างผู้ที่ถึงความพินาศ แห่งญาติ โรค โภคะ ทิฏฐิ และ ศีล ย่อม
หาความสุขมิได้ ฉะนั้น.
บทว่า เกิดแล้ว เติบโตแล้ว ได้แก่ เกิดและเติบโต. อธิบายว่า
เพราะหนทางไปบ้านใกล้เคียงของผู้ที่เกิดในที่หนึ่ง แล้วไปเติบโตในที่อื่น
ไม่ประจักษ์ด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เกิด
แล้วเติบโตแล้วดังนี้. ผู้ที่แม้เกิด เติบโตแล้ว แต่จากไปเสียนาน ย่อมไม่
ประจักษ์ด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ออกไป
แล้ว ในทันทีทันใดแน่นอน. อธิบายว่า ออกไปในขณะนั้นเทียว. บทว่า
ความเป็นผู้ชักช้า คือ ชักช้าโดยสงสัยว่า ทางนี้ หรือไม่ใช่หนอ. บทว่า
ความเป็นผู้อ้ำอึ้ง ได้แก่ การถึงความเป็นผู้อาทิผิด กระด้างเหมือนอย่างเมื่อใคร ๆ
ถูกถามฉับพลันถึงเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เขาถึงความเป็นผู้มีสรีระกระ-
ด้างฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงความที่พระสัพพัญญุตญาณ ไม่
 
๑๒/๓๘๕/๒๘๓

วันพุธ, มิถุนายน 14, 2566

Morana

 
[๘๗๔] บทว่า ความสลดใจนั้น มีนิเทศว่า ญาณอันเห็นชาติ
โดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นชราโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นพยาธิโดยความ
เป็นภัย ญาณอันเห็นมรณะโดยความเป็นภัย.
บทว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ นั้น มีนิเทศว่า ชาติ
ชรา พยาธิ มรณะอาทิผิด อักขระ.
บทว่า ความพยายามโดยแยบคายแห่งบุคคลผู้มีใจสลดแล้ว
นั้น มีนิเทศว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด ย่อมพยายาม
ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตไว้ ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิด
ขึ้นแห่งอกุศล บาปธรรมทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลบาปธรรม
ทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่
บังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่จืดจาง เพื่อความเพิ่มพูน เพื่อความ
ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิด
ขึ้นแล้ว.
[๘๗๕] บทว่า ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรม นั้น มีนิเทศว่า
ความพอใจยิ่ง ๆ ขึ้นไปของบุคคลผู้ไม่รู้จักอิ่ม ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย.
บทว่า ความไม่ท้อถอยในความพยายาม นั้น มีนิเทศว่า ความ
เป็นผู้กระทำโดยเคารพ ความเป็นผู้กระทำติดต่อ ความเป็นผู้กระทำไม่หยุด
ความเป็นผู้ประพฤติไม่ย่อหย่อน ความเป็นผู้ไม่ทิ้งอาทิผิด สระฉันทะ ความเป็นผู้ไม่ทอด
ธุระ การเสพ การเจริญ การกระทำให้มาก เพื่อความเจริญแห่งกุศลอาทิผิด สระธรรม
ทั้งหลาย.
[๘๗๖] บทว่า วิชชา นั้น มีนิเทศว่า วิชชา ๓ วิชชาคือญาณ
อันตามระลึกชาติหนหลังได้ (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) วิชชาคือญาณในจุติ
 
๗๖/๘๗๔/๕๑๒

วันอังคาร, มิถุนายน 13, 2566

Thuk

 
เราไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ. คำว่า พึงเข้าไปอาทิผิด ตัดความตรึก ธรรมเป็นที่
อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ ความว่า ภิกษุพึงเข้าไปตัด
ตัดขาด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความตรึก
ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พึงเข้าไปตัดความตรึก ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก พึงเป็น
ผู้ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น และพึงเข้าไปตัดความตรึก
ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ.
[๙๗๕] ภิกษุถูกอาทิผิด อักขระตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ พึง
ทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย พึง
เปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่
พึงคิดเพื่อธรรม คือการว่ากล่าวซึ่งชน.

ว่าด้วยการยินดีในการตักเตือน
[๙๗๖] คำว่า ถูกตักเตือน ในคำว่า ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา
พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ ความว่า พระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ พระเถระ
ปูนอุปัชฌายะ พระเถระปูนอาจารย์ มิตรผู้เคยเห็นกัน ผู้ที่เคยคบกันมา
หรือสหาย ตักเตือนว่า ท่านผู้มีอายุ กรรมนี้ไม่ควรแก่ท่าน กรรมนี้ยัง
ไม่ถึงแก่ท่าน กรรมนี้ไม่เหมาะแก่ท่าน กรรมนี้ไม่งดงามแก่ท่าน ภิกษุ
 
๖๖/๙๗๕/๖๒๐

วันจันทร์, มิถุนายน 12, 2566

Daen

 
เนินคืออะไร ?
๕๖) บัดนี้ ท่านพระสารีบุตรผู้ถูกท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ที่ประสงค์จะให้ท่านอธิบายว่ากิเลสเพียงดังเนินนั้นให้ชัด โดยประการ
ต่าง ๆ ถามแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า คำที่ท่านเรียกว่า เนิน เนิน ได้แก่
อะไร? ดังนี้ เมื่อจะตอบคำถามนั้น จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า ดูก่อนท่าน
ผู้มีอายุ คำว่า เนิน นี้ เป็นชื่อของอกุศลธรรมที่ชั่วช้าแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺฉาวจรานํ (เป็นแดนอาทิผิด อักขระของอิจฉา)
มีเนื้อความว่า (อกุศล) เป็นที่เที่ยวไปแห่งความอยาก คือ ความโกรธ
และความน้อยใจนานัปการ ที่ข้ามลง คือเป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่ง
ความอยาก.
๕๗) ข้อว่า ยํ อิเธกจฺจสฺส (เหตุที่ให้ความอยากเกิดขึ้นแก่
ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้) มีอรรถาธิบายว่า ความอยากนี้ พึงเกิด
ขึ้นแก่ภิกษุลางรูปโดยเหตุอย่างใด เหตุอย่างนั้น ที่เป็นฐานแห่งความอยาก
นั้น มีอยู่ คือยังมี ได้แก่ยังหาได้.
บทว่า อาปนฺโน อสฺสํ เท่ากับ อาปนฺโน ภเวยฺยํ แปลว่า
พึงเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว.
ประโยคว่า น จ ภิกฺขู ชาเนยฺยุํ เท่ากับ ภิกฺขู จ มํ น
ชาเนยฺยุํ (แปลว่า และขออย่าให้ภิกษุทั้งหลายรู้จักเรา).
ในเรื่องที่ไม่ให้ภิกษุทั้งหลายรู้จักนี้ มีอะไรเป็นเหตุ ?
มีความที่เธอเป็นผู้มีความต้องการลาภ เป็นเหตุ.
อธิบายว่า ภิกษุผู้มีความต้องการลาภตามปกติแล้ว ก็เป็นผู้ทำบุญไว้
 
๑๗/๗๒/๓๗๒

วันอาทิตย์, มิถุนายน 11, 2566

Thing

 
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ฉันนภิกษุพยากรณ์
ความเป็นผู้ไม่ควรด้วยตำหนิต่อหน้าเธอแล้วมิใช่หรือ.
สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบ้านในแคว้นวัชชีนามว่าปุพพชิระ
ที่หมู่บ้านนั้น ท่านพระฉันนะยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย และสกุลคนที่คอย
ตำหนิอยู่.
[๗๕๓] พ. ดูก่อนสารีบุตร ฉันนภิกษุยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย
และสกุลที่คอยตำหนิอยู่ก็จริง แต่เราหาเรียกบุคคลว่า ควรถูกตำหนิด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ไม่ ดูก่อนสารีบุตร บุคคลใดแล ทิ้งอาทิผิด สระกายนี้และยึดมั่นกายอื่น
บุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตำหนิ ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุ
หาศาสตรามาฆ่าตัว อย่างไม่ควรถูกตำหนิ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึง
ชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ ฉันโนวาทสูตร ที่ ๒
 
๒๓/๗๕๓/๔๓๓

วันเสาร์, มิถุนายน 10, 2566

Fai

 
นางทาสี ถึงที่นั้นแล้วได้ยืนคอยการมาของนายพรานอยู่. แม้นายพรานก็
ขับเกวียนออกไปแต่เช้าตรู่. ฝ่ายอาทิผิด อักขระนางก็เดินตามหลังนายพรานนั้นไป. เขา
เห็นนางจึงพูดว่า “ ข้าพเจ้าไม่รู้จักเจ้าว่า ‘ เป็นธิดาของผู้ชื่อโน้น .’ แน่ะ
แม่ เจ้าอย่าตามฉันไปเลย. ” นางตอบว่า “ท่านไม่ได้เรียกฉันมา ฉัน
มาตามธรรมดาของตน. ท่านจงนิ่ง ขับเกวียนของตนไปเถิด.” เขาห้าม
นางแล้ว ๆ เล่า ๆ ทีเดียว. ครั้นนางพูดกับเขาว่า “ อันการห้ามสิริอันมา
สู่สำนักของตนย่อมไม่ควร ” นายพรานทราบการมาของนางเพื่อตนโดย
ไม่สงสัยแล้ว ได้อุ้มนางขึ้นเกวียนไป.
มารดาบิดาของนางให้คนหาข้างโน้นข้างนี้ก็ไม่พบ สำคัญว่า “ นาง
จักตายเสียแล้ว ” จึงทำภัตเพื่อผู้ตาย๑. แม้นางอาศัยการอยู่ร่วมกับนาย-
พรานนั้น คลอดบุตร ๗ คนโดยลำดับ ผูกบุตรเหล่านั้นผู้เจริญวัยเติบโต
แล้ว ด้วยเครื่องผูกคือเรือน๒.
กุกกุฏมิตรอาฆาตในพระพุทธเจ้า
ภายหลังวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลกในเวลาใกล้รุ่ง
ทรงเห็นนายพรานกุกกุฏมิตรกับบุตรและสะใภ้ เข้าไปภายในข่ายคือพระ-
ญาณของพระองค์ ทรงใคร่ครวญว่า “ นั่นเหตุอะไรหนอแล ? ” ทรง
เห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรคของชนเหล่านั้นแล้ว ทรงถือบาตรและ
จีวร ได้เสด็จไปที่ดักบ่วงของนายพรานนั้นแต่เช้าตรู่. วันนั้นแม้เนื้อ
สักตัวหนึ่งก็มิได้ติดบ่วง.
พระศาสดาทรงแสดงรอยพระบาท ที่ใกล้บ่วงของเขาแล้วประทับ
นั่งที่ใต้ร่มพุ่มไม้พุ่มหนึ่งข้างหน้า. นายพรานกุกกุฏมิตรถือธนูไปสู่บ่วง
๑. ทำบุญเลี้ยงพระแล้วอุทิศผลบุญให้ผู้ตาย. ๒. จัดแจงแต่งงานให้มีเหย้าเรือน.
 
๔๒/๑๙/๓๗

วันศุกร์, มิถุนายน 09, 2566

Khong

 
ในคราวนั้น พญานกกุณาละเกิดเป็นปัญจาลจัณฑปุโรหิต เมื่อนำเหตุ
ที่ตนได้เห็นมาแสดงจึงกล่าวว่า
บัณฑิตได้เห็นแล้วซึ่งเรื่องอะไร ของพระเจ้า
กินนรและนางกินรี ก็พึงรู้เถิดว่า หญิงทั้งปวงย่อม
ไม่ยินดีในเรือนของตน ภรรยาไปเห็นบุรุษอื่นแม้เป็น
ง่อยเปลี้ย ยังทิ้งเสียซึ่งสามีอย่างกับพระเจ้ากินนรได้.
อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า บัณฑิตเห็นเหตุแห่งความหน่ายแหนง
ของอาทิผิด อักขระกินนรและนางกินรีเหล่านี้ คือ พระราชาผู้เป็นกินนรและนางกินรีเทวี
แล้วก็พึงรู้เถิดว่า หญิงทั้งปวงย่อมไม่ยินดีในเรือนแห่งสามีของตน. จริงอย่าง
นั้น นางกินรีเทวีผู้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้ากินนร เห็นบุรุษเปลี้ยคนอื่น
ยังยอมสละพระราชาพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้มีความฉลาดในการอภิรมย์เช่นนั้น
เสียแล้ว กระทำกรรมอันเป็นบาปกับมนุษย์เปรตนั้นได้.
เรื่องอื่นยังมีอีก ในอดีตกาล พระเจ้าพาราณสีทรงพระนามว่า พกะ
เสด็จทรงราชย์โดยธรรม ยังมีหญิงชื่อปัญจปาปี เป็นธิดาของคนยากไร้คนหนึ่ง
ซึ่งอยู่ในบ้านข้างประตูตะวันออกเมืองพาราณสี เล่ากันมาว่า เมื่อชาติก่อน
นางเกิดเป็นธิดาของคนยากไร้คนหนึ่ง นั่งขยำดินทาฝาเรือนอยู่ เวลานั้นมี
พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งคำนึงว่า จักหาดินละเอียดที่ไหนหนอ มาฉาบทา
เงื้อมฝาที่อยู่อาศัย ครั้นตกลงใจว่า อาจหาได้ในเมืองพาราณสีดังนี้แล้ว จึง
ห่มคลุมถือบาตรเข้าไปในเมือง ไปยืนอยู่ใกล้หญิงนั้น นางแลเห็นพระปัจเจก
พุทธเจ้าแล้วก็โกรธ จึงพูดขึ้นด้วยใจร้ายว่า ชิ้นดินก็ขอ. พระปัจเจกพุทธเจ้า
ก็นิ่งมิได้หวั่นไหว นางเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ามิได้หวั่นไหว ก็เกิดมีใจเลื่อมใส
อีกจึงกล่าวว่า สมณะ ท่านจักได้ดินเหนียวหรือ ว่าแล้วก็ยกดินเหนียวก้อนใหญ่
 
๖๒/๓๑๔/๕๘๘

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 08, 2566

Chueng

 
พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาที่สองดังต่อไปนี้. บทว่า หลิทฺทึ ได้แก่
สีเหลืองอย่างใด อย่างหนึ่ง. บทว่า นีลํ ได้แก่ สีเขียว สำริด หรือสีเขียว
ใบไม้. บทว่า อรูปี แปลว่า ไม่มีรูป.
ถามว่า ก็ปริจฉินนากาส ในระหว่างแห่งหมู่ไม้ทั้งสอง หรือต้นไม้
หรือที่นอน หรือศิลา ก็ปรากฏว่า รูป มิใช่หรือ เพราะเหตุไร ในที่นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงอาทิผิด สระตรัสว่า อากาศเป็นของไม่มีรูปร่าง ดังนี้.
ตอบว่า เพราะปฏิเสธการเห็นรูป. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ จึงตรัส
คำว่า อนิทสฺสโน แปลว่า ชี้ให้เห็นไม่ได้. จริงอยู่ ใคร ๆ ไม่อาจเขียน
รูป แสดงรูปให้ปรากฏในอากาศนั้นได้ ฉะนั้น จึงตรัสว่า อรูปี แปลว่า
ไม่มีรูป ดังนี้. บทว่า อนิทสฺสโน คือ ไม่ใช่วิถีของจักขุวิญญาณที่ทำ
หน้าที่เห็น. ก็ในการเปรียบเทียบอุปมาในข้อที่สองนี้ เมตตาจิต เปรียบเหมือน
อากาศ ทางแห่งถ้อยคำ ๕ อย่างเปรียบเหมือนเครื่องเขียนสี ๔ อย่าง มีปุยฝ้าย
เป็นที่ ๕. บุคคลผู้ถือเอาทางแห่งถ้อยคำ ๕ อย่างมาแล้ว เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้ถือเอาเครื่องเขียนสีทั้งหลาย มีปุยฝ้ายเป็นที่ ๕ มาแล้ว. บุรุษนั้น ย่อมไม่
อาจทำรูปภาพให้ปรากฏในอากาศได้ด้วยเครื่องเขียนสีทั้งหลาย ซึ่งมีปุยฝ้ายเป็น
ที่ ๕ ฉันใด บุคคลผู้ถือเอาทางแห่งถ้อยคำทั้ง ๕ มาแล้ว ก็จักไม่อาจกระทำ
เมตตาจิตของท่านทั้งหลายให้แปรปรวน คือให้เป็นโทสะเกิดขึ้นได้ฉันนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาที่สามดังต่อไปนี้. บทว่า อาทิตฺตํ
คือว่า ไฟลุกขึ้นโพลงแล้ว. บทว่า คมฺภีรา อปฺปเมยฺยา ความว่า ส่วน
ที่ลึกแห่งแม่น้ำคงคานี้มีคาวุตหนึ่ง (หนึ่งร้อยเส้น) ก็มี กึ่งโยชน์ก็มี หนึ่ง
๑. อากาศมี ๔ ประเภท คือ อัชฏากาส ได้แก่ อากาศในท้องฟ้า ปริจฉินนากาส ได้แก่ อากาศ
ที่กำหนดได้ในระหว่างแห่งวัตถุ กสิณุคฆาปฏิมากาส ได้แก่ อากาศที่ได้มาเนื่องจากเพิกกสิณ
๙ ปริจเฉทากาส ได้แก่ อากาศที่ขั้นระหว่างรูปกับรูป.
 
๑๘/๒๗๓/๒๗๖

วันพุธ, มิถุนายน 07, 2566

Koet

 
สูตรทั้งสิ้นนั้น คือที่จะพึงตรัสในบัดนี้.
ก็นิทานพจน์ใด ที่ประดับประดาด้วยกาละ เทศะ ผู้แสดง เรื่องราว
บริษัท และประเทศ เหมือนท่าน้ำอันมีภูมิภาคขาวสะอาดเดียรดาษด้วยเมล็ด
ทรายคล้ายสุธาดลอันเกลื่อนกล่นไปด้วยแก้วมุกดา มีบันไดอันพิลาสรจนา
ด้วยแผ่นศิลาที่ขัดไว้จนไร้ราคี เพื่อง่ายต่อการลงสู่สระโบกขรณีที่สล้างไป
ด้วยดอกบัวเขียว มีน้ำใสสะอาดรสจืดสนิท เหมือนบันไดอันมีชั้นละเอียด
อ่อนสำเร็จด้วยงาช้าง งามรุ่งเรืองเกิดอาทิผิด อักขระแต่รัศมีของพวงแก้วมณีที่ร้อยด้วย
ลวดทองคำ เพื่อสะดวกต่อการก้าวขึ้นสู่พระมหาปราสาท มีฝาจัดได้
สมส่วน แลกั้นด้วยไพทีอันวิจิตรที่มีองค์ ( ดูเสมือน) จะเคลื่อนไหว
ได้ เสมือนมีประสงค์จะให้สูงเสียดทางเดินของดวงดาว เหมือนมหาทวาร
ที่มีบานกว้างใหญ่อันติดตั้งไว้ดีแล้ว เพริศแพร้วเรืองรองด้วยทองเงิน
มณี มุกดา และแก้วประพาฬเป็นอาทิ เพื่อสะดวกต่อการเข้าไปสู่คฤหาสน์
อัน โสภิตไปด้วยอิสสริยสมบัติ อัน โอฬาร เป็นสถานขวักไขว่ ไปด้วยผู้คนที่
พูดจาหัวเราะขับเสียงอันไพเราะประสานกับเสียงกระทบของกำไลทองที่
คล้องไว้เป็นระเบียบ อันพระอานนทเถระเจ้ากล่าวไว้แล้ว การพรรณนา
ความแห่งนิทานพจน์นั้น เป็นอันจบบริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้.
เหตุเกิดพระสูตร ๔ อย่าง
บัดนี้ ถึงลำดับโอกาสที่จะพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกขึ้นแสดงโดยนัยมีอาทิว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ ดังนี้. ก็การ
พรรณนาพระสูตรนี้ เพราะเมื่อได้พิจารณาเหตุที่ทรงยกพระสูตรขึ้นแสดง
แล้ว จึงกล่าวย่อมแจ่มแจ้ง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักวิจารณ์เหตุที่ทรงยก
 
๑๗/๙/๔๓