วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 08, 2566

Chueng

 
พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาที่สองดังต่อไปนี้. บทว่า หลิทฺทึ ได้แก่
สีเหลืองอย่างใด อย่างหนึ่ง. บทว่า นีลํ ได้แก่ สีเขียว สำริด หรือสีเขียว
ใบไม้. บทว่า อรูปี แปลว่า ไม่มีรูป.
ถามว่า ก็ปริจฉินนากาส ในระหว่างแห่งหมู่ไม้ทั้งสอง หรือต้นไม้
หรือที่นอน หรือศิลา ก็ปรากฏว่า รูป มิใช่หรือ เพราะเหตุไร ในที่นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงอาทิผิด สระตรัสว่า อากาศเป็นของไม่มีรูปร่าง ดังนี้.
ตอบว่า เพราะปฏิเสธการเห็นรูป. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ จึงตรัส
คำว่า อนิทสฺสโน แปลว่า ชี้ให้เห็นไม่ได้. จริงอยู่ ใคร ๆ ไม่อาจเขียน
รูป แสดงรูปให้ปรากฏในอากาศนั้นได้ ฉะนั้น จึงตรัสว่า อรูปี แปลว่า
ไม่มีรูป ดังนี้. บทว่า อนิทสฺสโน คือ ไม่ใช่วิถีของจักขุวิญญาณที่ทำ
หน้าที่เห็น. ก็ในการเปรียบเทียบอุปมาในข้อที่สองนี้ เมตตาจิต เปรียบเหมือน
อากาศ ทางแห่งถ้อยคำ ๕ อย่างเปรียบเหมือนเครื่องเขียนสี ๔ อย่าง มีปุยฝ้าย
เป็นที่ ๕. บุคคลผู้ถือเอาทางแห่งถ้อยคำ ๕ อย่างมาแล้ว เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้ถือเอาเครื่องเขียนสีทั้งหลาย มีปุยฝ้ายเป็นที่ ๕ มาแล้ว. บุรุษนั้น ย่อมไม่
อาจทำรูปภาพให้ปรากฏในอากาศได้ด้วยเครื่องเขียนสีทั้งหลาย ซึ่งมีปุยฝ้ายเป็น
ที่ ๕ ฉันใด บุคคลผู้ถือเอาทางแห่งถ้อยคำทั้ง ๕ มาแล้ว ก็จักไม่อาจกระทำ
เมตตาจิตของท่านทั้งหลายให้แปรปรวน คือให้เป็นโทสะเกิดขึ้นได้ฉันนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาที่สามดังต่อไปนี้. บทว่า อาทิตฺตํ
คือว่า ไฟลุกขึ้นโพลงแล้ว. บทว่า คมฺภีรา อปฺปเมยฺยา ความว่า ส่วน
ที่ลึกแห่งแม่น้ำคงคานี้มีคาวุตหนึ่ง (หนึ่งร้อยเส้น) ก็มี กึ่งโยชน์ก็มี หนึ่ง
๑. อากาศมี ๔ ประเภท คือ อัชฏากาส ได้แก่ อากาศในท้องฟ้า ปริจฉินนากาส ได้แก่ อากาศ
ที่กำหนดได้ในระหว่างแห่งวัตถุ กสิณุคฆาปฏิมากาส ได้แก่ อากาศที่ได้มาเนื่องจากเพิกกสิณ
๙ ปริจเฉทากาส ได้แก่ อากาศที่ขั้นระหว่างรูปกับรูป.
 
๑๘/๒๗๓/๒๗๖

ไม่มีความคิดเห็น: