วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 22, 2566

Pati

 
แม้จะไม่ได้ผลไม้ก็ไม่ยินดี ไม่เสียใจ วางจิตเป็นกลางกลับไป ฉันใด มุนีเข้า
ไปสู่ตระกูล แม้จะได้ แม้จะไม่ได้ลาภ ก็วางจิตเป็นกลางกลับไปฉันนั้น.
คาถาว่า สปตฺตปาณี มุนีมีบาตรในมือเป็นต้นมีความง่ายทั้งนั้น.
พึงทราบการเกี่ยวเนื่องกันของคาถานี้ว่า อุจฺจาวจา ปฏิปทาสูงต่ำต่อไป. มุนี
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยภิกขาจารวัตรอย่างนี้แล้ว ไม่พึงยินดีเพียงเท่านั้น ควรยินดี
ปฏิปทาต่อไป. เพราะคำสั่งสอน มีสาระอยู่ที่การปฏิบัติ. ก็ปฏิปทานั้นทั้งสูง
และต่ำ พระสมณะทรงประกาศแล้ว มุนีทั้งหลายย่อมไม่ไปสู่นิพพานถึงสองครั้ง
นิพพานนี้ควรถูกต้องครั้งเดียวเท่านั้นหามิได้.
บทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ มรรคปฏิปทานี้ชื่อว่าสูงต่ำ เพราะมีประเภท
ดีและเลว อันพระพุทธสมณะทรงประกาศไว้แล้ว จริงอยู่ การปฏิอาทิผิด อักขระบัติง่าย
รู้เร็ว เป็นปฏิปทาสูง. ปฏิบัติยาก รู้ช้าเป็นปฏิอาทิผิด อักขระปทาต่ำ. อีกสองอย่างนั้นเป็น
ปฏิปทาสูงด้วยองค์หนึ่ง ต่ำด้วยองค์หนึ่ง. หรือว่าปฏิปทาต้นสูง อีกสามอย่าง
ก็ต่ำ. มุนีทั้งหลายย่อมไม่ไปสู่นิพพานถึงสองครั้งด้วยปฏิอาทิผิด อักขระปทาสูงหรือต่ำนี้นั้น.
ปาฐะว่า ทุคุณํ สองครั้งก็มี. อธิบายว่า มุนีทั้งหลายย่อมไม่ไปสู่นิพพาน
ถึงสองครั้งด้วยมรรคเดียว. เพราะเหตุไร เพราะกิเลสเหล่าใดถูกละไปแล้ว ด้วย
มรรคใด ไม่พึงละกิเลสเหล่านั้นอีก ด้วยบทนั้น ท่านแสดงความไม่เสื่อมแห่ง
ธรรม. บทว่า น อิทํ เอกคุณมุตฺตํ นิพพานนี้ควรถูกต้องครั้งเดียวเท่านั้น
หามิได้ อธิบายว่า นิพพานนี้นั้นแม้ควรถูกต้องครั้งเดียวเท่านั้นก็หามิได้.
เพราะเหตุไร. เพราะไม่มีการละกิเลสทั้งหมดได้ด้วยมรรคเดียว. ด้วยบทนี้
ท่านแสดงความไม่บรรลุพระอรหัตด้วยมรรคเดียวเท่านั้น.
 
๔๗/๓๘๙/๖๕๕

ไม่มีความคิดเห็น: