วันอังคาร, มิถุนายน 13, 2566

Thuk

 
เราไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ. คำว่า พึงเข้าไปอาทิผิด ตัดความตรึก ธรรมเป็นที่
อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ ความว่า ภิกษุพึงเข้าไปตัด
ตัดขาด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความตรึก
ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พึงเข้าไปตัดความตรึก ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก พึงเป็น
ผู้ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น และพึงเข้าไปตัดความตรึก
ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ.
[๙๗๕] ภิกษุถูกอาทิผิด อักขระตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ พึง
ทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย พึง
เปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่
พึงคิดเพื่อธรรม คือการว่ากล่าวซึ่งชน.

ว่าด้วยการยินดีในการตักเตือน
[๙๗๖] คำว่า ถูกตักเตือน ในคำว่า ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา
พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ ความว่า พระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ พระเถระ
ปูนอุปัชฌายะ พระเถระปูนอาจารย์ มิตรผู้เคยเห็นกัน ผู้ที่เคยคบกันมา
หรือสหาย ตักเตือนว่า ท่านผู้มีอายุ กรรมนี้ไม่ควรแก่ท่าน กรรมนี้ยัง
ไม่ถึงแก่ท่าน กรรมนี้ไม่เหมาะแก่ท่าน กรรมนี้ไม่งดงามแก่ท่าน ภิกษุ
 
๖๖/๙๗๕/๖๒๐

ไม่มีความคิดเห็น: