วันศุกร์, มิถุนายน 02, 2566

Kham

 
ในบทเหล่านั้น บทว่า อพฺรหฺมจริยา ได้แก่ ประพฤติธรรมไม่ประ-
เสริฐ. บทว่า เมถุนา คือพึงเว้นจากการเข้าถึงเมถุนธรรม. บทว่า รตฺตึ น
ภุญฺเชยฺย วิกาลโภชนํ ได้แก่ ไม่พึงบริโภคแม้ในกลางคืน ไม่พึงบริโภค
โภชนะล่วงกาลแม้ในกลางวัน. แม้แป้งสำหรับลูบไล้ พึงทราบว่า ท่านถือเอา
ด้วยคันธศัพท์ในบทว่า น จ คนฺธํ นี้. บทว่า มญฺเจ คือเตียงที่เป็นกัปปิยะ.
บทว่า สนฺถเต ได้แก่ บนพื้นที่เขาลาดแล้วด้วยเครื่องลาดอันเป็นกัปปิยะ มีเสื่อ
ผืนเล็กเป็นต้น. แม้ลาดด้วยเครื่องลาดมีพรมทำด้วยขนแกะเป็นต้นบนแผ่นดิน
ก็ควร. บทว่า อฏฺฐงฺคิกํ คือไม่พ้นองค์ ๘ ดุจดนตรีมีองค์ ๕. บทว่า
ทุกฺขนฺตคุนา คือพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ในวัฏฏะ. บทที่เหลือในข้อ
นี้ปรากฏชัดดีแล้ว. พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า ก็กึ่งคาถาหลัง พระสังคีติกา-
จารย์กล่าวไว้แล้วบ้าง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงองค์แห่งอุโบสถอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เมื่อจะทรงแสดงกาลแห่งอุโบสถ จึงตรัส ว่า ตโต จ ปกฺขสฺส ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตโต เป็นนิบาตเพียงทำบทให้บริบูรณ์. พึง
ประกอบด้วยบทอื่นอย่างนี้ว่า ปกฺขสสุปวสฺสุโปสถํ ความว่า พึงเข้าจำอุโบสถ
ทุก ๓ วันเหล่านี้คือ ตลอด ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ พึงเข้าจำ
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล. ก็ในบทว่า ปาฏิหาริกปกฺขญฺจ นี้ ห้า
เดือนเหล่านี้คือ (อาสาฬหะ) เดือน ๘ ต้นใกล้วันเข้าพรรษา สามเดือนในพรรษา
และเดือน ๑๒ ท่านเรียกว่าปาฏิหาริยปักษ์. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่าปาฏิหาริย.
ปักษ์ มีสามเดือนเท่านั้นคือเดือน ๘ เดือน ๑๒ และเดือน ๔, อาจารย์อีกพวก
หนึ่งกล่าวว่ามี ๔ วัน คือ ๑๓ ค่ำ ค่ำอาทิผิด สระ ๗ ค่ำ และ ๙ ค่ำในทุก ๆ ปักษ์ โดย
 
๔๗/๓๓๓/๗๗๘

ไม่มีความคิดเห็น: