วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 15, 2566

Phu

 
ความย่อยยับแตกหักฉะนั้น คือ ไม่ได้ความสุข หรือความสำราญในโลกนี้
เลย. บทว่า ตสฺมา อิทนฺเตวิชฺชานํ พฺราหฺมณานํ ความว่า เพราะฉะนั้น
นี้เป็นปาพจน์ คือ ไตรเพทที่แสดงถึงทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมของ
พราหมณ์ทั้งหลายผู้จบไตรเพท บทว่า เตวิชฺชาอีริณํ ได้แก่ ป่าคือไตรเพท
ก็ป่าใหญ่ที่ไม่มีบ้านท่านกล่าวว่าทุ่ง. บทว่า เตวิชฺชาวิวนํ ได้แก่ป่าที่ไม่มีน้ำ
ปกคลุมด้วยต้นไม้ที่มีดอกผลใช้บริโภคไม่ได้. ท่านกล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เขาเรียกกันว่าป่าใหญ่คือไตรเพท ดังนี้ ก็มี ทรงหมายถึงป่าที่ใคร ๆ
ไม่สามารถที่จะแวะลงแล้วเปลี่ยนทางได้. บทว่า ความพินาศแห่งไตรเพท
คำนี้ เช่นเดียวกับความพินาศ ๕ อย่างของไตรเพท. ท่านแสดงว่า ผู้จบ
ไตรเพท ย่อมไม่มีความสุข เพราะอาศัย คำสอนหลักอันได้แก่ไตรเพท
เหมือนอย่างผู้ที่ถึงความพินาศ แห่งญาติ โรค โภคะ ทิฏฐิ และ ศีล ย่อม
หาความสุขมิได้ ฉะนั้น.
บทว่า เกิดแล้ว เติบโตแล้ว ได้แก่ เกิดและเติบโต. อธิบายว่า
เพราะหนทางไปบ้านใกล้เคียงของผู้ที่เกิดในที่หนึ่ง แล้วไปเติบโตในที่อื่น
ไม่ประจักษ์ด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เกิด
แล้วเติบโตแล้วดังนี้. ผู้ที่แม้เกิด เติบโตแล้ว แต่จากไปเสียนาน ย่อมไม่
ประจักษ์ด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ออกไป
แล้ว ในทันทีทันใดแน่นอน. อธิบายว่า ออกไปในขณะนั้นเทียว. บทว่า
ความเป็นผู้ชักช้า คือ ชักช้าโดยสงสัยว่า ทางนี้ หรือไม่ใช่หนอ. บทว่า
ความเป็นผู้อ้ำอึ้ง ได้แก่ การถึงความเป็นผู้อาทิผิด กระด้างเหมือนอย่างเมื่อใคร ๆ
ถูกถามฉับพลันถึงเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เขาถึงความเป็นผู้มีสรีระกระ-
ด้างฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงความที่พระสัพพัญญุตญาณ ไม่
 
๑๒/๓๘๕/๒๘๓

ไม่มีความคิดเห็น: