วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 29, 2567

Damri

 
เรื่องราวทั้งปัจจุบันและอดีตจักมีแจ้งในกามชาดก ใน
ทวาทสนิบาต.
พระราชบุตรทั้งสองพระองค์นั้น พระองค์พี่ได้กลับมา
เป็นพระราชาในกรุงพาราณสี. พระองค์น้องได้เป็นอุปราช.
ทั้งสองพระองค์นั้น องค์พี่เป็นพระราชาเป็นผู้ไม่อิ่มในวัตถุกาม
และกิเลสกาม มีพระทัยโลภในทรัพย์สมบัติ. ในคราวนั้นพระ-
โพธิสัตว์เป็นท้าวสักกเทวราช ตรวจดูชมพูทวีป ทรงทราบว่า
พระราชานั้นมิได้ทรงอิ่มในกามทั้งสอง ทรงดำริอาทิผิด สระว่า จักไปข่มขี่
พระราชานี้ให้ละอายพระทัย จึงทรงแปลงเป็นพราหมณ์มาณพ
เข้าเฝ้าพระราชา. เมื่อพระราชาตรัสถามว่า แน่ะมาณพ ท่าน
มาด้วยประสงค์อะไร. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์
พบนครสามนครน่ารื่นรมย์มีภิกษาหารสมบูรณ์ พรั่งพร้อมด้วย
ช้าง ม้า รถ พลนิกรและเงินทองเครื่องอลังการ แต่พระองค์
สามารถยึดนครทั้ง ๓ นั้นด้วยกำลังเล็กน้อยเท่านั้น ข้าพระองค์
จึงมาเพื่อรับอาสาไปตีเมืองทั้งสามถวายพระองค์. เมื่อตรัสถาม
ว่า เราจะไปกันเมื่อไรเล่ามาณพ. กราบทูลว่า ไปพรุ่งนี้พระ-
เจ้าข้า. ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นเราไปด้วยกัน ท่านมาแต่เช้า ๆ หน่อย
ท้าวสักกะตรัสว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า พระองค์จงเตรียมพลไว้
โดยเร็วแล้วเสด็จกลับวิมานของพระองค์.
รุ่งขึ้นพระราชารับสั่งให้เที่ยวตีกลองเรียกชุมนุมพล รับ
สั่งให้อำมาตย์ทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า เมื่อวานนี้มีพราหมณ์
 
๕๗/๓๐๖/๔๑๖

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 28, 2567

Metta

 
ผู้ทำตามความปรารถนา ไม่ควรลงอาชญา และไม่ควรว่ากล่าวติเตียน ใน
ของที่ผู้อื่นหวงแหนใด โดยเจตนาอันยังความพยายามเพื่อถือเอาของที่ผู้
อื่นหวงแหนนั้น ตั้งขึ้น ของผู้มีความสำคัญในของที่ผู้อื่นหวงแหนว่า เป็น
ของอันผู้อื่นหวงแหนเป็นอทินนาทาน. อทินนาทานนั้นมีโทษน้อยในของ
ผู้อื่นที่เลว มีโทษมากในของที่ประณีต. เพราะเหตุไร. เพราะวัตถุ
ประณีต. เมื่อวัตถุสมบูรณ์มีโทษมาก ในวัตถุ อันเป็นของของผู้ยิ่งด้วย
คุณธรรม. มีโทษน้อยในวัตถุอันเป็นของของผู้มีคุณเลวกว่าผู้ยิ่งด้วยคุณ
นั้นๆ.
อทินนาทานนั้นมีองค์ ๕ คือของอันผู้อันหวงแหน ๑ รู้อยู่ว่าผู้อื่น
หวงแหน ๑ จิตคิดจะขโมย ๑ พยายามที่จะขโมย ๑ นำไปได้ด้วย
ความพยายามนั้น ๑.
บทว่า ปหาย คือ ละความเป็นผู้ทุศีล อันได้แก่เจตนาที่จะถือเอา
ของที่เขาไม่ให้ตน. บทว่า ปฏิวิรโต คือ งดเว้นจากความเป็นผู้ทุศีลนั้น
ตั้งแต่เวลาที่ละได้แล้ว. ชื่อว่า ทินฺนาทายี เพราะถือเอาแต่ของที่เขาให้
อย่างเดียว. ชื่อว่า ทินฺนปาฏิกงฺขี เพราะหวังได้แต่ของที่เขาตั้งใจให้
อย่างเดียว. ชื่อว่า เถโน คือ ขโมย. พึงเป็นผู้มีจิตไม่เป็นขโมย.
เป็นผู้มีจิตสะอาดเพราะเป็นผู้มีจิตไม่ขโมย. บทว่า อตฺตา คือ ด้วยความ
เป็นตน. ท่านอธิบายว่า ทำความเป็นตนให้มีจิตสะอาดมีจิตไม่ขโมย. ต่อ
จากนี้ มีนัยดังกล่าวแล้ว.
ความไมตรีด้วยอำนาจความเมตตา. อาการแห่งความเมตตา ชื่อว่า
เมตฺตาอาทิผิด อาณัติกะยนา. ความที่จิตมีความพร้อมเพรียงด้วยเมตตา ชื่อว่า เมตฺตา-
ยิตตฺตํ. ชื่อว่า อนุทฺทยนา เพราะย่อมเอ็นดู. อธิบายว่า ย่อมรักษา.
อาการแห่งความเอ็นดู ชื่อว่า อนุทฺทยนา. ความเป็นผู้เอ็นดู ชื่อว่า
 
๖๖/๙๘๘/๖๖๒

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 27, 2567

Thoet

 
ข. ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ทรงพยากรณ์อีกเหมือนกัน.
[๗๕๕] ป. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร ปัญหานี้
เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่
แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า
ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง
พยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว
ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีหรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร
ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า
ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก
ก็หามิได้หรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหา
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ ข้าแต่แม่เจ้า อะไรเล่าเป็นเหตุเป็น
ปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานี้.
[๗๕๖] ข. ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพจักขอย้อน
ถามมหาบพิตรในปัญหาข้อนี้บ้าง ปัญหาข้อนี้พอพระทัยมหาบพิตรอย่างใด
มหาบพิตรพึงทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนี้อย่างนั้นเถิดอาทิผิด อักขระ ขอถวายพระพร
มหาบพิตรจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน มหาบพิตรมีนักคำนวณ นัก
ประเมินหรือนักประมาณไร ๆ ซึ่งสามารถจะคำนวณทรายในแม่น้ำคงคาว่า
ทรายมีประมาณเท่านี้ หรือว่ามีทรายเท่านี้ ร้อยเม็ด หรือว่ามีทรายเท่านี้
พันเม็ด หรือว่ามีทรายเท่านี้แสนเม็ด หรือไม่.
 
๒๙/๗๕๖/๒๘๒

วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 26, 2567

Kamnot

 
พึงทราบว่ารสรส (กับข้าวต่างอย่าง) ในคำว่า รสรเส นี้. ไม่เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุผู้รับกับข้าวต่างอย่างนั้นแม้มาก.
บทว่า สมติตฺติกํ แปลว่า เต็มเสมอ คือเพียบเสมอ.
ในคำว่า ถูปีกตํ ปิณฺฑปาตํ ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส
นี้ ความว่า บิณฑบาต ที่ภิกษุทำให้ล้นรอยขอบภายในปากบาตรขึ้นมา ชื่อ
ว่า ทำให้พูนล้นบาตร คือ เพิ่มเติม แต่งเสริมให้เต็มแปล้ในบาตร. ภิกษุไม่
รับบิณฑบาตที่ทำอย่างนั้น พึงรับพอประมาณเสมอรอยภายในขอบปากบาตร.
ในคำว่า ถูปีกตํ นั้น พระอภัยเถระกล่าวว่า ที่ชื่อว่าทำให้ล้นบาตร
ได้แก่ทำ (ให้ล้นบาตร) ด้วยโภชนะทั้ง ๕. แต่พระจูฬนาคเถระผู้ทรงไตร
ปิฏกกล่าวสูตรนี้ว่า ยาคูก็ดี ภัตก็ดี ขาทนียะก็ดี ก้อนแป้งก็ดี ไม้ชำระฟัน
ก็ดี ด้ายชายผ้าก็ดี ชื่อว่าบิณฑบาต แล้วกล่าวว่า แม้ด้ายชายผ้าทำให้พูนเป็น
ยอดดุจสถูป ก็ไม่ควร.
พวกภิกษุฟังคำของพระเถระเหล่านั้นแล้ว ไปยังโรหณชนบทเรียน
ถามพระจูฬสุมนเถระว่า ท่านขอรับ บิณฑบาตล้นบาตร กำหนดอาทิผิด อักขระด้วยอะไร ?
และได้เรียนบอกให้ทราบวาทะของพระเถระเหล่านั้น .
พระเถระได้ฟังแล้วกล่าวว่า จบละ ! พระจูฬนาค ได้พลาดจาก
ศาสนา, โอ ! พระจูฬนาคนั้น ได้ให้ช่องทางแก่ภิกษุเป็นอันมาก, เราสอน
วินัยให้แก่พระจูฬนาคนี้ถึง ๗ ครั้ง ก็ไม่ได้กล่าวอย่างนี้สักครั้ง, พระจูฬนาค
นี้ได้มาจากไหน จึงกล่าวอย่างนี้.
พวกภิกษุขอร้องพระเถระว่า โปรดบอกในบัดนี้เถิด ขอรับ ! (บิณ-
ฑบาตล้นบาตร) กำหนดด้วยอะไร ? พระเถระกล่าวว่า กำหนดด้วยยาวกาลิก
ผู้มีอายุ ! เพราะฉะนั้น ยาคูก็ดี ภัตก็ดี ผลาผลก็ดี ที่เป็นอามิสอย่างใดอย่างหนึ่ง
 
๔/๘๘๑/๙๕๖

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 25, 2567

Sia

 
[ว่าด้วยวิเคราะห์แห่งอารติศัพท์เป็นต้น]
ที่ชื่อว่า อารติ เพราะวิเคราะห์ว่า เว้นไกลจากกองอาบัติเหล่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติที่เว้นอย่างกวดขันจากกองอาบัติเหล่านั้น ชื่ออารติ.
ที่ชื่อว่า วิรติ เพราะวิเคราะห์ว่า เว้นเสียต่างหากจากกองอาบัติ
เหล่านั้น.
ที่ชื่อว่า ปฏิวิรติ เพราะวิเคราะห์ว่า เว้นเฉพาะหนึ่ง ๆ จากกอง
อาบัติเหล่านั้น.
ที่ชื่อว่า เวรมณี เพราะวิเคราะห์ว่า ขับเวรเสียอาทิผิด สระ คือยังเวรให้สาบสูญ
ที่ชื่อว่า อกิริยา เพราะวิเคราะห์ว่า วิรัตินั่น เป็นเหตุอันภิกษุไม่
ทำกองอาบัติเหล่านั้น.
ที่ชื่อว่า อกรณํ เพราะเป็นข้าศึกต่อความกระทำกองอาบัติที่จะพึง
เกิดขึ้น ในเมื่อวิรัตินั้นไม่มี.
ที่ชื่อว่า อนชฺฌาปตฺติ เพราะเป็นข้าศึกต่อความต้องกองอาบัติ.
ที่ชื่อว่า เวลา เพราะเป็นเหตุผลาญ. อธิบายว่า เพราะเป็นเหตุคลอน
คือเพราะเป็นเหตุพินาศ.
ที่ชื่อว่า เสตุ เพราะวิเคราะห์ว่า ผูกไว้ คือตรึงไว้ ได้แก่ คุมไว้
ซึ่งทางเป็นที่ออกไป. คำว่า เสตุ นี้ เป็นชื่อแห่งกองอาบัติทั้งหลาย. เสตุนั้น
อันภิกษุย่อมสังหารด้วยวิรัตินั่น เพราะฉะนั้น วิรัตินั่นอาทิผิด อาณัติกะ จึงชื่อ เสตุฆาโต.
แม้ในนิทเทสแห่งวินีตวัตถุที่เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้แล.
 
๑๐/๘๖๐/๓๘๔

วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 24, 2567

Tit

 
ชาติเป็นต้น อันมีอยู่ในลัทธิของพราหมณ์นั้น แล้วทรงแสดงวิชชาและ
จรณะอันเยี่ยมยอด จึงตรัสพระดำรัสว่า น โข อมฺพฏฺฐ เป็นต้น แก่
อัมพัฏฐะนั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ชาติวาโท แปลว่า วาทะปรารภเชื้อชาติ.
ใจความว่า ได้แก่คำพูดเป็นต้นว่า สิ่งนี้ควรแก่พราหมณ์เท่านั้น หาควรแก่
ศูทรไม่. ในที่ทุกแห่งก็มีนัยเช่นนี้เหมือนกัน. บทว่า ชาติวาทวินิพนฺธา
แปลว่า ผู้ยุ่งเกี่ยวในวาทะปรารภเชื้อชาติ. ในที่ทุกแห่งก็มีนัยเช่นนี้
เหมือนกัน.
ลำดับนั้น อัมพัฏฐะคิดว่า เราคิดว่า บัดนี้พวกเราจักติดอยู่ในที่ใด
ที่นั้นพระสมณโคดมกลับเหวี่ยงพวกเราไปเสียไกลลิบ เหมือนคนซัด
แกลบขึ้นในลมแรง ก็พวกเราไม่ติดอยู่ในที่ใด พระสมณโคดมทรงชัก
จูงพวกเราไป ณ ที่นั้น การถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะของพวกเรานี้
สมควรจะรู้ไหม แล้วจึงได้ถามถึงวิชชาและจรณะอีก. ลำดับนั้น พระผู้
มีพระภาคเจ้า เพื่อที่จะทรงแสดงวิชชาและจรณะจำเดิมแต่การเกิดขึ้น
แก่อัมพัฏฐะนั้น จึงตรัสพระดำรัสว่า อิธ อมฺพฏฺฐ ตถาคโต เป็นต้น.
ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกศีล ๓ อย่าง
แม้ที่นับเนื่องในจรณะ ไม่ตรัสระบุชัดว่า ข้อนี้ก็เป็นจรณะของภิกษุนั้น
แต่ตรัสระบุชัดด้วยอำนาจแห่งศีลทีเดียวว่า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของภิกษุนั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร. เพราะว่าศีลไร ๆ แม้ของภิกษุนั้นก็มีอยู่ เพราะ
ฉะนั้น เมื่อตรัสระบุชัดอยู่ด้วยอำนาจแห่งจรณะ ภิกษุพึงติดอยู่ในจรณะ
นั้น ๆ นั่นเหละ ด้วยคิดว่า แม้พวกเราก็ถึงพร้อมด้วยจรณะ แต่จรณะใด
อันภิกษุนั้น มิได้เคยเห็นเลย แม้ด้วยความฝัน เมื่อจะตรัสระบุชัดด้วย
 
๑๑/๑๗๗/๕๗๐

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 23, 2567

Sikkha

 
บรรดาสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทแม้นี้ ก็มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา
โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓
มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
พรรณนาราชสิกขาบทในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ
และจบวรรคที่ ๑
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒
โกสิยวรรค สิกขาอาทิผิด อักขระบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๗๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัค-
คาฬวเจดีย์ เขตพระนครอาฬวี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวก
ช่างไหม กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก
จงให้พวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมาก็ปรารถนาจะทำสันถัตเจือด้วยไหม
ช่างไหมเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะ เชื้อสาย
พระศากยบุตรจึงได้เข้ามาหาพวกเรากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวก
ท่านต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก จงให้แก่พวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมา
ก็ปรารถนาจะทำสันถัตเจือด้วยไหม ดังนี้ แม้พวกเราผู้ซึ่งทำสัตว์ตัวเล็กๆ
มากมายให้วอดวาย เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา
ก็ยังชื่อว่าไม่ได้ลาภ หาได้ไม่สุจริต
 
๓/๗๔/๘๗๔

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 22, 2567

Wachi

 
ก็ปฏิสังขานพละเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า
วิบากของกายทุจริตแล ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า วิบาก
ของมโนทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า ครั้นเขาพิจารณา
ดังนี้แล้ว ย่อมละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ย่อมละวจีทุจริต เจริญ
วจีอาทิผิด อักขระสุจริต ย่อมละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปฏิสังขานพละ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาพละเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในการสละ ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์. . . ย่อมเจริญวิริย-
สัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์. . . ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. . . ย่อมเจริญอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาวนาพละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๒
อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ในบทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ เป็นต้น มีพรรณนาความ
ของบทที่ยังมิได้มีมาในหนหลัง ดังนี้ . บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ ได้แก่ อาศัย
วิเวก. ความสงัด ชื่อว่าวิเวก. วิเวกดังกล่าวนี้ มี ๕ อย่าง คือ ตทังค-
วิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก.
 
๓๓/๒๕๘/๓๐๙

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 21, 2567

Pari Nipphan

 
ปรินิพพานอาทิผิด อักขระ จากนี้ล่วงไปสามเดือน ตถาคตจักปรินิพพาน.ลำดับนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์. เมื่อ
พระผู้มีพระภาคทรงปลงอายุสังขารแล้ว ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ น่ากลัว
ขนพอง สยองเกล้า กลองทิพย์ก็บันลือลั่น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบ
ความนั้น ทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
[๙๖] พระมุนีได้ปลงเสีย ซึ่งกรรมอันชั่ว
และกรรมอันไม่ชั่วได้ อันเป็นเหตุให้เกิด
ปรุงแต่งภพ ยินดีในภายใน ตั่งมั่นได้
ทำลายกิเลสที่เกิดขึ้นในตนเสีย เหมือน
ทำลายเกราะฉะนั้น.
[๙๗] ลำดับนั้น ท่านอานนท์คิดว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ สิ่ง
ที่ไม่เคยมีก็เกิดขึ้น แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้หนอ แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้จริงหนอ
น่ากลัว ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่น อะไรหนอเป็นเหตุ
อะไรหนอเป็นปัจจัย ทำให้แผ่นดินไหวปรากฏได้. ลำดับนั้น ท่านพระ
อานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นท่านพระอานนท์นั่งแล้ว ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ เหตุไม่
เคยมีก็มีขึ้น แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้หนอ แผ่นดินนี้ไหวได้จริงหนอ น่ากลัว
ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่น อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็น
ปัจจัย ทำให้แผ่นดินไหวได้.

เหตุทำให้แผ่นดินไหว ๘ อย่าง

[๙๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เหตุ ๘ อย่าง
ปัจจัย ๘ อย่าง ทำให้แผ่นดินไหวได้. เหตุ ๘ อย่าง ปัจจัย ๘ อย่าง
 
๑๓/๙๕/๒๘๐

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 20, 2567

Gadrabha

 
๒. คัทรภอาทิผิด อักขระสูตร

ภิกษุไร้ไตรสิกขาเปรียบเหมือนลาในฝูงโค

[๕๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาเดินตามฝูงโคไป แม้จะร้องว่า
ข้า ฯ เป็นโค ข้า ฯ เป็นโค แต่สีของมันไม่เหมือนโค. เสียงก็ไม่เหมือน
รอยเท้าก็ไม่เหมือน มันได้แต่เดินตามฝูงโค ร้องไปว่า ข้า ฯ เป็นโค ข้า ฯ
เป็นโค เท่านั้น ฉันใดก็ดี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้
เดินตามหมู่ภิกษุ แม้ประกาศไปว่า ข้า ฯ เป็นภิกษุ ข้า ฯ เป็นภิกษุ
แต่ฉันทะในการสมาทานอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ของ
ภิกษุรูปนั้น ไม่มีเหมือนภิกษุอื่น ๆ ภิกษุนั้นก็ได้แต่เดินตามหมู่ภิกษุประกาศ
ไปว่า ข้า ฯ เป็นภิกษุ ข้า ฯ เป็นภิกษุ เท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า ฉันทะของเรา
จักมีอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขาและอธิปัญญาสิกขา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบคัทรภสูตรที่ ๒

อรรถกถาคัทรภสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในคัทรภสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปิฏฺฐิโต ปิฏฺฐิโต แปลว่า ข้างหลัง ๆ. บทว่า อหมฺปิ
อมฺหา อหมฺปิ อมฺหา ความว่า แม่วัวร้องอยู่ว่า อหมฺปิ อมฺหา (ฉันใด)
(ฬาก็ร้องว่า) อหมฺปิ คาวี (แม้เราก็เป็นแม่วัว) (ฉันนั้น). บทว่า เสยฺยถาปิ
 
๓๔/๕๒๑/๔๔๘

วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 19, 2567

Phram

 
สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรม
งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การเห็น
พระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดีแล ดังนี้ ครั้งนั้นพราหมณ์อาทิผิด สระ
และคฤหบดีชาวนครจัมปา ออกจากนครจัมปารวมกันเป็นหมู่ ๆ พากันไป
ยังสระโบกขรณีคัคครา.
โสณทัณฑพราหมณ์เข้าเฝ้า
[๑๘๐] สมัยนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะนอนกลางวันอยู่ ณ ปราสาท
ชั้นบน ได้เห็นพราหมณ์และคฤหบดีชาวนครจัมปา ออกจากนครจัมปา
รวมกันเป็นหมู่ ๆ พากันไปยังสระโบกขรณีคัคครา จึงเรียกที่ปรึกษามาถาม
ว่า พราหมณ์และคฤหบดีชาวนครจัมปาออกจากนครจัมปารวมกันเป็นหมู่ ๆ
ไปยังสระโบกขรณีคัคครา ทำไมกัน. ที่ปรึกษาบอกว่า เรื่องมีอยู่ขอรับ
พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในอังค-
ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงนครจัมปา
ประทับอยู่ใกล้ขอบสระโบกขรณีคัคคราในนครจัมปา เกียรติศัพท์อันงาม
ของพระองค์ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลก ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มี
ผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้เบิกบาน
แล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นพากันไปเฝ้า
พระโคดมพระองค์นั้น. โสณทัณฑะกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปหาเขา
แล้วบอกเขาอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พราหมณ์โสณทัณฑะสั่งว่า ขอให้ท่าน
 
๑๒/๑๘๐/๒

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 18, 2567

Khon

 
(๕๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ย่อมบัญญัติว่า
โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ ๔ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของ
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความ
ดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้น ๆ
ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ ๔ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจ
ของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็น
ความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ย่อม
บัญญัติอัตตาและโลก ว่าเกิดขึ้นลอย ๆ ด้วยวัตถุ ๒ แม้ข้อนั้นก็เป็น
ความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความ
แส่หา เป็นความดิ้นรนของคนอาทิผิด อักขระมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วน
อดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๑๘
แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่
เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา
 
๑๑/๕๕/๕๗

วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 17, 2567

Ruppakhan

 
๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา
[๙๕] ขันธ์ ๔ เป็นโนกิเลสะ สังขารขันธ์ เป็นกิเลสะก็มี เป็น
โนกิเลสะก็มี รูปขันธ์ เป็นสังกิเลสิกะ ขันธ์ ๔ เป็นสังกิเลสิกะก็มี เป็น
สังกิเลสิกะก็มี รูปขันธ์อาทิผิด สระ เป็นอสังกิลิฏฐะ ขันธ์ เป็นสังกิลิฏฐะก็มี เป็น
อสังกิลิฏฐะก็มี รูปขันธ์ เป็นกิเลสวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นกิเลสสัมปยุตก็มี เป็น
กิเลสวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเล-
สิกโนกิเลสะ รูปขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิกโน
กิเลสิกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี สังขารขันธ์ เป็นกิเลส-
สังกิเลสิกะก็มี เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ
แม้เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสังกิลิฏฐะ
แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็น
สังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี สังขารขันธ์
เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะก็มี เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น
กิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น
กิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
กิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี สังขารขันธ์ เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลส
สัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลส
สัมปยุตโนกิเลสะก็มี รูปขันธ์ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ ขันธ์ ๔ เป็น
กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า
แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี.
 
๗๗/๙๕/๑๕๖

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 16, 2567

Attha

 
เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในการรู้ทั่วธรรมที่รู้แล้วนั่นแหละ (โสดา-
ปัตติผลถึงอรหัตมรรค). ที่ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครอง
ความเป็นใหญ่ในความเป็นผู้รู้แจ้ง (อรหัตผล).
ในอินทริยวิภังค์ วรรณนาชื่อว่า สุตตันตภาชนีย์ พระองค์มิได้
ทรงถือเอา เพราะเหตุไร เพราะอินทรีย์ ๒๒ โดยลำดับนี้มิได้มาในพระสูตร
เพราะในพระสูตรบางแห่งทรงตรัสอินทรีย์ไว้ ๒ บางแห่งตรัสไว้ ๓ บางแห่ง
ตรัสไว้ ๕ ก็ด้วยเหตุนี้ อินทรีย์ ๒๒ ติดต่อกันเช่นนี้มิได้มี นี้เป็นนัยแห่ง
อรรถกถาในอินทริยวิภังค์ก่อน.
ก็นัยอื่นอีก พึงทราบดังต่อไปนี้. จริงอยู่ ในอินทรีย์เหล่านี้
อตฺถโต ลกฺขณาทีหิ กมโต จ วิชานิยา
เภทาเภทา ตถา กิจฺจา ภูมิโต จ วินิจฺฉยํ
พึงทราบการวินิจฉัย โดยอรรถ
โดยลักษณะเป็นต้น โดยลำดับ โดยความ
ต่างกันและไม่ต่างกัน โดยกิจ และโดยภูมิ.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ
บรรดาวินิจฉัยเหล่านั้น อรรถอาทิผิด อักขระแห่งอินทรีย์มีจักขุเป็นต้น ข้าพเจ้า
ประกาศไว้ก่อนแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ที่ชื่อว่า จักขุ เพราะอรรถว่า ย่อม
เห็น. แต่ในอินทรีย์ (ที่เป็นโลกุตระ) ๓ หลัง โลกุตรอินทรีย์ข้อแรก
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ดังนี้ เพราะ
ความเกิดขึ้น และเพราะความเกิดพร้อมแห่งอรรถของอินทรีย์แก่พระอริยะผู้ถึง
 
๗๗/๒๔๑/๔๐๙

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 15, 2567

Mahori

 
ตามมาเร็วพลัน ถัดจากนั้น จงจัดกระบวนรถรบ
หมื่นสี่พัน มีกำกงอันหุ้มด้วยเหล็ก เรือนรถวิจิตรด้วย
ทอง และจงยกธงขึ้นปักบนรถนั้น ๆ พวกนายขมัง
ธนูผู้ยิงได้แม่นยำ เป็นคนคล่องแคล่วในรถทั้งหลาย
จงเตรียมโล่ห์ เกราะและเกาทัณฑ์ไว้ให้เสร็จ พลโยธี
เหล่านี้ จงตระเตรียมให้พร้อมรีบตามมา.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
[๑๒๓๙] เวสสันดรโอรสของเรา จักเสด็จมา
โดยมรรคาใด ๆ ตามมรรคานั้น ๆ จงให้โปรยข้าวตอก
ดอกไม้ มาลัย ของหอมและเครื่องลูบไล้ และจงให้
ตั้งเครื่องบูชาอันมีค่ารับเสด็จมา ในบ้านหนึ่ง ๆ จงให้ตั้ง
หม้อสุราเมรัยรับไว้ บ้านละร้อย ๆ รายไปตามมรรคา
ที่เวสสันดรโอรสของเราจักเสด็จมา จงให้ตั้งมังสาหาร
และขนม เช่นขนมแดกงา ขนมกุมมาสอันปรุงด้วย
เนื้อปลา รายไปตามมรรคาที่เวสสันดรโอรสของเรา
จักเสด็จมา จงให้ตั้งเนยใส น้ำมัน นมส้ม นมสด
ขนมที่ทำด้วยข้าวฟ่าง และสุราเป็นอันมาก รายไป
ตามมรรคาที่เวสสันดรโอรสของเราจักเสด็จมา ให้มี
พนักงานวิเศษทั้งครัวหวานและครัวคาว จัดตั้งไว้เลี้ยง
ประชาชนทั่วไป ให้มีมหรสพฟ้อนรำขับร้องทุก ๆ อย่าง
เพลงปรบมือ กลองยาว ช่างขับเสภาอันบรรเทาความ
เศร้าโศก พวกมโหรีอาทิผิด อักขระจงเล่นดนตรีดีดพิณพร้อมทั้งกลอง
 
๖๔/๑๒๓๙/๕๘๕

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 14, 2567

Hattha

 
เราได้ถวายช้างตัวประเสริฐมีงางอนงามควรเป็นราช-
พาหนะ ทั้งลูกช้างอันงาม มีเครื่องหัตถาอาทิผิด อักขระลังการ กั้น
ฉัตรขาว แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ เราซื้อสถานที่ทั้งหมดนั้นแล้ว
ได้ให้สร้างอารามถวายแก่สงฆ์ ได้ให้สร้างปราสาทไว้
ภายในวิหารนั้น ๕๔,๐๐๐ หลัง ได้ทำทานดุจห้วงน้ำใหญ่
มอบถวายแด่พระพุทธเจ้า. พระสยัมภูมหาวีรเจ้า ผู้เป็น
อัครบุคคล ทรงอนุโมทนา ทรงยังชนทั้งหมดให้ร่าเริง
ทรงแสดงอมตบท. พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายก พระนาม
ว่าปทุมุตตระ ทรงกระทำผลบุญที่เราทำแล้วนั้นให้แจ้งชัด
แล้ว ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ว่า ผู้นี้ได้ให้สร้างปราสาท ๕๔,๐๐๐ หลัง เราจัก
แสดงวิบากของคนผู้นี้ ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
กูฏาคารหมื่นแปดพันหลังจักมีแก่ผู้นี้ และกูฏาคารเหล่า
นั้นสำเร็จด้วยทองล้วน เกิดในวิมานอันอุดม ผู้นี้จักเป็น
จอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติ ๕๐ ครั้ง และจักเป็นพระ-
เจ้าจักรพรรดิ ๕๘ ครั้ง. ในกัปที่แสน พระศาสดาพระ-
นามว่า โคดม โดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้า
โอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้อันกุศลมูลกระตุ้น
เตือนแล้ว จักจุติจากเทวโลก ไปบังเกิดในสกุลที่เจริญ
มีโภคสมบัติมาก ภายหลังอันกุศลมูลกระตุ้นเตือน จัก
บวช จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา โดยมีชื่อว่ารัฐปาละ
 
๕๓/๓๘๘/๖๐

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 13, 2567

Suam

 
ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าสีเขียวล้วน ไม่พึงสวมรองเท้าสี
เหลืองล้วน ไม่พึงสวมรองเท้าสีแดงล้วน ไม่พึงสวมรองเท้าสีบานเย็นล้วน
ไม่พึงสวมอาทิผิด อักขระรองเท้าสีดำล้วน ไม่พึงสวมรองเท้าสีแสดล้วน ไม่พึงสวมรองเท้า
สีชมพูล้วน รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมรองเท้ามีหูไม่สมควร
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สวมรองเท้ามีหูสีเขียว . . . สวมรองเท้ามีหูสี
เหลือง . . . สวมรองเท้ามีหูสีแดง . . . สวมรองเท้ามีหูสีบานเย็น . . . สวมรองเท้า
มีหูสีดำ . . . สวมรองเท้ามีหูสีแสด . . .สวมรองเท้ามีหูสีชมพู ชาวบ้านพากัน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีเขียว ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีเหลือง ไม่
พึงสวมรองเท้ามีหูสีแดง ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีบานเย็น ไม่พึงสวมอาทิผิด อาณัติกะรองเท้ามี
หูสีดำ ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีแสด ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีชมพู รูปใดสวม
ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธบัญญัติทรงห้ามสวมรองเท้าบางชนิด
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สวมรองเท้าติดแผ่นหนังหุ้มส้น. . . สวมรอง
เท้าหุ้มแข้ง . . .สวมรองเท้าปกหลังเท้า . . . สวมรองเท้ายัดนุ่น. . . สวมรองเท้ามี
หูลายคล้ายขนปีกนกกระทำ. . .สวมรองเท้าที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขาแกะ. . .
สวมรองเท้าที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขาแพะ . . . สวมรองเท้าที่ทำประกอบหูงอน
 
๗/๖/๑๔

วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 12, 2567

Khatha

 
ก็ในอานาปานสติสูตร แม้ปุถุชนผู้ดีงามอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บริษัทนี้ไม่มีแกลบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้มีแกลบออกแล้ว ดำรงอยู่
ในสาระอันบริสุทธิ์ ดังนี้ ตรัสว่า เป็นคนแกลบ ส่วนในสูตรนี้และในกปิล-
สูตร ผู้ต้องปาราชิกอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงนำคนแกลบ ไม่ใช่สมณะแต่
สำคัญว่า สมณะออกจากที่นั้น ดังนี้ ตรัสว่า เป็นคนแกลบ.
บทว่า ปฏิรูเปน จรํ ส มคฺคทูสี ความว่า บุคคลนั้นกระทำ
เพศแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกผู้มีวัตรอันงามให้เป็น
เครื่องปกปิดแล้วนั้น ประพฤติด้วยวัตตปฏิรูป คือ วัตตรูป ได้แก่ด้วย
อาจาระสักว่าภายนอก โดยประการที่ชนย่อมรู้เรา ตามที่ประพฤติอยู่ว่า ภิกษุ
นี้ อยู่ในป่าเป็นวัตร ถือรุกขมูลเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร ผู้มีความปรารถนาน้อย ผู้สันโดษ ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นสมณะ
ผู้ประทุษร้ายมรรค เพราะประทุษร้ายโลกุตรมรรคของตน และเพราะประทุษ-
ร้ายสุคติมรรคของคนเหล่าอื่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงขยายสมณะผู้สักว่าโวหาร ผู้ทุศีลว่า
เป็นสมณะผู้ประทุษร้ายมรรค ด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ
จะทรงแสดงความที่สมณะเหล่านั้นเป็นผู้ไม่เข้ากันและกัน จึงตรัสว่า เอเต จ
ปฏิวิชฺฌิ ดังนี้.
คาถาอาทิผิด อักขระนั้นมีเนื้อความว่า ผู้ใดจะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นกษัตริย์ก็ตาม
เป็นพราหมณ์ก็ตาม คนใดคนหนึ่งก็ตาม ทราบชัด คือรู้ทั่ว กระทำให้แจ้ง
ซึ่งสมณะ ๔ เหล่านั้น ด้วยลักษณะตามที่กล่าวแล้ว สดับลักษณะของสมณะ ๔

ขุ. สุ. ๓๐๙.
 
๔๖/๓๐๒/๓๐๖

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 11, 2567

Thayok

 
๓. เรื่องอุกกัณฐิตภิกษุ [๒๖]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้กระสัน
(จะสึก ) รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “สุทุทฺทสํ”
เป็นต้น.

พระเถระแนะอุบายพ้นทุกข์แก่เศรษฐีบุตร
ดังได้สดับมา เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี บุตรเศรษฐี
ผู้หนึ่ง เข้าไปหาพระเถระผู้เป็นชีต้นของตน เรียนว่า “ท่านผู้เจริญ กระผม
ใคร่จะพ้นจากทุกข์, ขอท่านโปรดบอกอาการสำหรับพ้นจากทุกข์แก่
กระผมสักอย่างหนึ่ง. ”
พระเถระ กล่าวว่า “ดีละ ผู้มีอายุ ถ้าเธอใคร่จะพ้นจากทุกข์ไซร้,
เธอจงถวายสลากภัต ถวายปักขิกภัต ถวายวัสสาวาสิกภัต ถวาย
ปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น, แบ่งทรัพย์สมบัติของตนให้เป็น ๓ ส่วน
ประกอบการงานด้วยทรัพย์ส่วน ๑ เลี้ยงบุตรและภรรยาด้วยทรัพย์ส่วน ๑
ถวายทรัพย์ส่วน ๑ ไว้ในพระพุทธศาสนา.” เขารับว่า “ดีละ ขอรับ”
แล้วทำกิจทุกอย่าง ตามลำดับแห่งกิจที่พระเถระบอก แล้วเรียนถาม
พระเถระอีกว่า “กระผมจะทำบุญอะไรอย่างอื่น ที่ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกเล่า ?
ขอรับ.”

๑. กุลุปกะ ผู้เข้าไปสู่ตระกูล ๒. ภัตที่ทายกอาทิผิด อักขระถวายตามสลาก. ๓. ภัตที่ทายกถวายในวัน
ปักษ์. ๔. ภัตที่ทายกถวายแก่ภิกษุผู้จำพรรษา.
 
๔๐/๑๓/๔๐๗

วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 10, 2567

Sam

 
พระองค์ทรงปราบพวกเดียรถีย์ ทรงกำจัดมารพร้อมทั้ง
เสนามาร และความมืดมนอนธการแล้ว ได้ทรงสร้างนคร
ธรรมไว้.
ข้าแต่พระธีรเจ้า ในนครธรรมนั้น มีศีลเป็นดังกำแพง
พระญาณของพระองค์เป็นดังซุ้มประตู ศรัทธาของพระองค์
เป็นดังเสาระเนียด และสังวรของพระองค์เป็นดังนายประตู.
ข้าแต่พระมุนี สติปัฏฐานของพระองค์เป็นดังป้อม ปัญญา
ของพระองค์เป็นดังทางสี่แพร่ง อิทธิบาทเป็นดังทางสามอาทิผิด อักขระ
แพร่ง.
ธรรมวิถีพระองค์ทรงสร้างไว้สวยงาม พระวินัย พระสูตร
พระอภิธรรม และพระพุทธพจน์อันมีองค์ ๙ ทั้งสิ้นนี้ เป็น
ดังธรรมสภาในนครธรรมของพระองค์.
วิหารธรรม คือสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิต-
วิโมกข์ อเนญชสมาบัติ และนิโรธนี้ เป็นดังธรรมกุฎีในนคร
ธรรมของพระองค์.
พระธรรมเสนาบดีของพระองค์มีนามว่า สารีบุตร ทรงตั้ง
ไว้ว่า เป็นผู้เลิศด้วยปัญญา และว่าเป็นผู้ฉลาดในปฏิภาณ.
ข้าแต่พระมุนี ปุโรหิตของพระองค์มีนามว่า โกลิตะ ผู้ฉลาด
ในจุติและอุปบัติ ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์.
ข้าแต่พระมุนี พระมหากัสสปเถระผู้ดำรงวงศ์โบราณ
มีเดชรุ่งเรือง หาผู้เทียบถึงได้ยาก เลิศในธุดงคคุณ เป็นผู้
พิพากษาของพระองค์.
 
๗๐/๘/๕๗๔

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 09, 2567

Sing

 
ที่แจ้งทั้งในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็น
ที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน
เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นี้สาราณียธรรม ๖.

เรื่องทำความแตกร้าว ๑๘
[๘๕๗] ในหัวข้อเหล่านั้น เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘ เป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงสภาพมิใช่ธรรมว่า เป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่า สภาพมิใช่ธรรม
๓. แสดงสภาพมิใช่วินัยว่า เป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่า สภาพมิใช่วินัย
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคต
ทรงภาษิต ตรัสไว้
๖. แสดงสิ่งอาทิผิด อาณัติกะที่พระตถาคตได้ทรงภาษิต ตรัสไว้แล้วว่า พระตถาคต
มิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้
๗. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตทรง
ประพฤติมา
๘. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตมิได้ทรง
ประพฤติมา
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตทรง
บัญญัติไว้
 
๑๐/๘๕๗/๓๘๐

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 08, 2567

Thamnop

 
ควรถือเอาโอกาสที่ห้วงน้ำท่วม ในคราวฝนชุกเกินไป. เพราะว่าโอกาสนั้น
ย่อมถึงความนับว่าเป็นคามสีมาด้วย.
ชนทั้งหลายเมื่อจะไขน้ำเข้าลำราง ย่อมทำทำนบอาทิผิด สระในแม่น้ำ, และน้ำท่วม
หรือเซาะแทงทำนบนั้นไหลไป จะทำกรรมในที่ซึ่งน้ำไหลทุกแห่ง ย่อมควร
แต่ถ้ากระแสน้ำขาดสายทำนบกั้นก็ดี ด้วยถูกถมทำสะพานก็ดี น้ำย่อมไม่ไหล
จะทำกรรมในที่ซึ่งน้ำไม่ไหลไม่ควร. จะทำแม้บนยอดทำนบ ก็ไม่ควร. ถ้า
ประเทศแห่งทำนบบางแห่ง น้ำท่วมน้ำ เหมือนประเทศแห่งแก่งศิลาและเกาะ
ซึ่งกล่าวแล้วในหนหลัง, จะทำกรรม ณ ประเทศแห่งทำนบที่น้ำท่วมถึงนั้น
ย่อมควร. เพราะว่าประเทศแห่งทำนบนั้นย่อมถึงความนับว่าแม่น้ำเหมือนกัน.
ชนทั้งหลายจะกั้นแม่น้ำเสีย ทำให้เป็นบึง ก่อคันไว้ที่ปลายน้ำ น้ำไหลมาขังอยู่
เต็มบึง จะทำกรรมในบึงนี้ ไม่ควร. น้ำที่เขาทิ้งเสียในที่ซึ่งไหลตอนบนและ
ตอนล่าง แห่งบึงนั้น ย่อมควร จำเดิมแต่ที่ซึ่งล้นแล้วไหลบ่าลงสู่แม่น้ำ. ใน
เมื่อฝนไม่ตก ในคราวฝนแล้ง หรือในฤดูร้อนและในฤดูหนาว จะทำกรรม
แม้ในแม่น้ำที่แห้ง ย่อมควร. ในลำรางที่เขาชักออกจากแม่น้ำ ไม่ควร. ถ้า
ลำรางนั้นพังกลายเป็นแม่น้ำในกาลอื่น ย่อมควร. แม่น้ำบางสายขึ้นท่วมคาม
สีมาและนิคมสีมาไหลไปตามฤดูกาล, แม่น้ำนั้น ย่อมเป็นแม่น้ำเหมือนกัน
สมควรทำกรรมได้. แต่ถ้าท่วมวิหารสีมา ย่อมถึงความนับว่า วิหารสีมา ด้วย
อันภิกษุทั้งหลายผู้จะทำกรรมแม้ในทะเลเล่า น้ำที่ขึ้นอย่างสูง ย่อมท่วมประเทศ

๑. ปาฐะในอรรถกถาว่า อาวรเณน วา โกฏฺฐกพนฺธเนน วา. โยชนาหน้า ๒๔๖ แก้ว่า อาวรเณน วาติ ทารุอาทึ นิกฺขนิตฺวา อุทกนีวารเณน. โกฏฺฐลสมฺพทฺเธน วาติ มตฺติกาทีหิ ปูเรตฺวา กตเสตุพทฺเธน แม้อักษรจะเพี้ยนไปบ้างก็ตาม เสตุพนฺธ หมายความว่าทำสะพานตามความนิยมของภาษา เช่นในมงฺคลตฺถทีปนี ภาค ๒ ตอน อนวชฺชกมฺมกถา หน้า ๑๒๔ มีกล่าวถึงอุบาสกคนหนึ่ง . . . อุทกกาเล มาติกาสุ เสตุํ พนฺธติ. ดังนั้นอาศัยนัยโยชนา จึงได้แปลเช่นนี้ ให้ได้ ความชัดลงไป.
 
๖/๑๖๕/๔๒๘

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 07, 2567

Withi

 
เราปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงชี้แจงวิธีบูชามหายัญ ที่จะเป็นประ-
โยชน์และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน.
[๒๐๖] ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อพระเจ้ามหาวิชิตราช รับสั่งอย่างนี้
แล้ว พราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลว่า ชนบทของพระองค์ยังมีเสี้ยนหนาม
ยังมีการเบียดเบียนกัน โจรปล้นบ้านก็ดี ปล้นนิคมก็ดี ปล้นเมืองก็ดี
ทำร้ายในหนทางเปลี่ยวก็ดี ยังปรากฏอยู่. พระองค์จะโปรดยกภาษีอากร
ในเมื่อบ้านเมืองยังมีเสี้ยนหนาม ยังมีการเบียดเบียนกัน ด้วยเหตุที่ยกเสีย
นั้น จะพึงชื่อว่าทรงกระทำการมิสมควร. บางคราวพระองค์จะทรงดำริ
อย่างนี้ว่า เราจักปราบปรามเสี้ยนหนามคือโจรด้วยการประหาร ด้วยการ
จองจำ ด้วยการปรับไหม ด้วยการตำหนิ หรือเนรเทศ. อันการปราบ
ปรามด้วยวิธีเช่นนี้ ไม่ชื่อว่าเป็นการปราบปรามโดยชอบ. เพราะว่าโจร
บางพวกที่เหลือจากถูกกำจัดจักยังมีอยู่ ภายหลังมันก็จักเบียดเบียนบ้าน
เมืองของพระองค์. แต่ว่าการปราบปรามเสี้ยนหนามคือโจรนั้น จะชื่อว่า
เป็นการปราบปรามโดยชอบ เพราะอาศัยวิธีอาทิผิด การดังต่อไปนี้
พลเมืองเหล่าใดในบ้านเมืองของพระองค์ ขะมักเขม้นในกสิกรรม
และโครักขกรรม ขอพระองค์จงเพิ่มข้าวปลูกและข้าวกินให้แก่พลเมืองเหล่า
นั้นในโอกาสอันสมควร พลเมืองเหล่าใดในบ้านเมืองของพระองค์ ขะมัก-
เขม้นในพาณิชยกรรม ขอพระองค์จงเพิ่มทุนให้แก่พลเมืองเหล่านั้นใน
โอกาสอันสมควร ข้าราชการเหล่าใด ในบ้านเมืองของพระองค์ขยัน ขอพระ
องค์จงพระราชทานเบี้ยเลี้ยง และเงินเดือนแก่ข้าราชการเหล่านั้น ในโอกาส
อันสมควร พลเมืองเหล่านั้นนั่นแหละ จักเป็นผู้ขวนขวายในการงานของ
ตน ๆ จักไม่เบียดเบียนบ้านเมืองของพระองค์. อนึ่ง กองพระราชทรัพย์
มีจำนวนมาก จักเกิดแก่พระองค์ บ้านเมืองก็จะตั้งมั่นอยู่ในความเกษม
 
๑๒/๒๐๖/๔๘

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 06, 2567

Thiam

 
หม่อมฉันเสวยในนรกนั้น ย่อมไม่ได้รับความสบายใจเลย หม่อมฉันย่อมเกิด
แต่ความกลัวเท่านั้น. บทว่า ภินฺนาคเต ความว่า ในภินนาคตรัฐ หรือ
ในนครชื่อว่า ภินนาคตะ. บทว่า อุทฺธตปฺผโล ได้แก่ พืชที่ถูกเขาตอน
ก็แพะนั้นได้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง. คนทั้งหลายแม้ขึ้นขี่หลังแพะนำแพะนั้น
ไป เทียมอาทิผิด อักขระแพะนั้นแม้ที่ยานน้อย.
พระนางรุจาราชธิดา เมื่อประกาศความนั้นจึงกล่าวว่า
กระหม่อมฉันพาลูกผู้ดีทั้งหลายไปด้วยหลังบ้าง
ด้วยรถบ้าง นั่นเป็นผลแห่งกรรมคือการที่หม่อมฉัน
คบชู้กับภรรยาของคนอื่น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาตปุตฺตา ได้แก่ บุตรแห่งอำมาตย์
ทั้งหลาย. บทว่า ตสฺส กมฺมสฺส ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
การที่หม่อมฉันหมกไหม้อยู่ในมหาโรรุวนรก และกรรมที่หม่อมฉันถูกตอนใน
กาลเป็นแพะ ทั้งหมดนั่น เป็นผลของกรรมนั้น คือกรรมที่หม่อมฉันคบชู้กับ
ภรรยาของคนอื่น.
ก็แล ครั้นหม่อมฉันจุติจากชาติเป็นลานั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในกำเนิด
ลิงในป่า ครั้นในวันที่หม่อมฉันเกิด พวกลิงเหล่านั้นนำหม่อมฉันไปแสดงแก่
ลิงผู้เป็นนายฝูง ลิงผู้เป็นนายฝูงกล่าวว่า จงนำบุตรมาให้เรา ดังนี้แล้วจับไว้
มั่นแล้วกัดลูกอัณฑะของลิงนั้นถึงจะร้องเท่าไรก็ไม่ปล่อย.
เมื่อพระนางรุจาราชธิดาประกาศความนั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระชนกนาถผู้ปกครองวิเทหรัฐ กระ-
หม่อมฉันจุติจากชาติลานั้นแล้ว ก็ไปเป็นลิงอยู่ในป่า
สูง ถูกลิงนายฝูงคนองปากขบกัดลูกอัณฑะ นั่นเป็น
ผลของการที่เป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น.
 
๖๔/๘๙๒/๒๖๖