วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 25, 2567

Sia

 
[ว่าด้วยวิเคราะห์แห่งอารติศัพท์เป็นต้น]
ที่ชื่อว่า อารติ เพราะวิเคราะห์ว่า เว้นไกลจากกองอาบัติเหล่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติที่เว้นอย่างกวดขันจากกองอาบัติเหล่านั้น ชื่ออารติ.
ที่ชื่อว่า วิรติ เพราะวิเคราะห์ว่า เว้นเสียต่างหากจากกองอาบัติ
เหล่านั้น.
ที่ชื่อว่า ปฏิวิรติ เพราะวิเคราะห์ว่า เว้นเฉพาะหนึ่ง ๆ จากกอง
อาบัติเหล่านั้น.
ที่ชื่อว่า เวรมณี เพราะวิเคราะห์ว่า ขับเวรเสียอาทิผิด สระ คือยังเวรให้สาบสูญ
ที่ชื่อว่า อกิริยา เพราะวิเคราะห์ว่า วิรัตินั่น เป็นเหตุอันภิกษุไม่
ทำกองอาบัติเหล่านั้น.
ที่ชื่อว่า อกรณํ เพราะเป็นข้าศึกต่อความกระทำกองอาบัติที่จะพึง
เกิดขึ้น ในเมื่อวิรัตินั้นไม่มี.
ที่ชื่อว่า อนชฺฌาปตฺติ เพราะเป็นข้าศึกต่อความต้องกองอาบัติ.
ที่ชื่อว่า เวลา เพราะเป็นเหตุผลาญ. อธิบายว่า เพราะเป็นเหตุคลอน
คือเพราะเป็นเหตุพินาศ.
ที่ชื่อว่า เสตุ เพราะวิเคราะห์ว่า ผูกไว้ คือตรึงไว้ ได้แก่ คุมไว้
ซึ่งทางเป็นที่ออกไป. คำว่า เสตุ นี้ เป็นชื่อแห่งกองอาบัติทั้งหลาย. เสตุนั้น
อันภิกษุย่อมสังหารด้วยวิรัตินั่น เพราะฉะนั้น วิรัตินั่นอาทิผิด อาณัติกะ จึงชื่อ เสตุฆาโต.
แม้ในนิทเทสแห่งวินีตวัตถุที่เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้แล.
 
๑๐/๘๖๐/๓๘๔

ไม่มีความคิดเห็น: