อรรถกถาโจรวัตถุ
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องโจรทั้งหลาย:-
สองบทว่า มนุสฺสา ปสฺสิตฺวา มีความว่า พระองคุลิมาลนั้น อัน
ชนเหล่าใดเคยเห็นในเวลาที่ท่านเป็นคฤหัสถ์ และชนเหล่าใดได้ฟังต่อชนเหล่า
อื่นว่า ภิกษุนี้ คือ องคุลิมาลนั้น ชนเหล่านั้นได้อาทิผิด เห็น แล้ว ย่อมตกใจบ้าง ย่อม
หวาดหวั่นบ้าง ย่อมปิดประตูบ้าง. แต่ท่านย่อมได้ภิกษาในเรือนของเหล่าชน
ที่ไม่รู้จัก.
บทว่า น ภิกฺขเว มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เองเป็น
เจ้าของแห่งธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย
เพื่อต้องการมิให้กระทำต่อไป จึงตรัสอย่างนั้น. วินิจฉัยในคำนั้นว่า โจรชื่อ
ว่าธชพันธะ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่าดุจผูกธงเที่ยวไป. มีคำอธิบายว่า เป็นคน
โด่งดังในโลก เหมือนมูลเทพ๑ เป็นต้น. เพราะเหตุนั้นผู้ใดเที่ยวทำการฆ่าชาว
บ้านก็ดี รบกวนคนเดินทางก็ดี. ทำกรรมมีตัดที่ต่อเป็นต้นในเมืองก็ดี อนึ่ง
ผู้ใดอันชนทั้งหลายรู้จักกันแซ่ว่า คนชื่อโน้น ทำกรรมนี้ ๆ ผู้นั้นไม่ควรให้
บวช. ส่วนผู้ใดเป็นราชบุตร ปรารถนาจะเป็นพระราชากระทำกรรมมีฆ่าชาวบ้าน
เป็นต้น. ผู้นั้น ควรให้บวช. เพราะว่าเมื่อราชบุตรนั้นผนวชแล้ว พระราชา
ทั้งหลายย่อมพอพระหฤทัย แต่ถ้าไม่ทรงพอพระหฤทัย ไม่ควรให้บวช. โจร
๑. ในพระบาลีวินัยเป็น ธชพทฺโธ. ส่วนคำว่า มูลเทวาทโย โยชนาแก้อรรถว่า อาทิภูเทวาทโย. ธชพทฺโธ หมายความไปในทางมีชื่อเสียงโด่งดังทางเสีย อ้างว่า เหมือนมูลเทพเป็นต้น คำว่า มูลเทโว ทางสันสกฤต เป็นพระนามของท้าวกังสะ กษัตริย์ทรราชแห่งแคว้นมถุรา ทรงฆ่าทารกเสียมากมายก่ายกอง เพราะโหรทำนายว่า พระองค์จะถูกลูกชายของหญิงนางหนึ่งปลงพระชนม์ ด้วยความร้ายกาจนี้เอง ประชาชนพลเมืองจึงเห็นว่าท้าวเธอเป็นอสูร เป็นยักษ์ เป็นมาร มูลเทโว จ มาเป็นตัวอย่างในคำว่า มูลเทวาทโยนี้หรืออย่างไร ?
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องโจรทั้งหลาย:-
สองบทว่า มนุสฺสา ปสฺสิตฺวา มีความว่า พระองคุลิมาลนั้น อัน
ชนเหล่าใดเคยเห็นในเวลาที่ท่านเป็นคฤหัสถ์ และชนเหล่าใดได้ฟังต่อชนเหล่า
อื่นว่า ภิกษุนี้ คือ องคุลิมาลนั้น ชนเหล่านั้น
หวาดหวั่นบ้าง ย่อมปิดประตูบ้าง. แต่ท่านย่อมได้ภิกษาในเรือนของเหล่าชน
ที่ไม่รู้จัก.
บทว่า น ภิกฺขเว มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เองเป็น
เจ้าของแห่งธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย
เพื่อต้องการมิให้กระทำต่อไป จึงตรัสอย่างนั้น. วินิจฉัยในคำนั้นว่า โจรชื่อ
ว่าธชพันธะ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่าดุจผูกธงเที่ยวไป. มีคำอธิบายว่า เป็นคน
โด่งดังในโลก เหมือนมูลเทพ๑ เป็นต้น. เพราะเหตุนั้นผู้ใดเที่ยวทำการฆ่าชาว
บ้านก็ดี รบกวนคนเดินทางก็ดี. ทำกรรมมีตัดที่ต่อเป็นต้นในเมืองก็ดี อนึ่ง
ผู้ใดอันชนทั้งหลายรู้จักกันแซ่ว่า คนชื่อโน้น ทำกรรมนี้ ๆ ผู้นั้นไม่ควรให้
บวช. ส่วนผู้ใดเป็นราชบุตร ปรารถนาจะเป็นพระราชากระทำกรรมมีฆ่าชาวบ้าน
เป็นต้น. ผู้นั้น ควรให้บวช. เพราะว่าเมื่อราชบุตรนั้นผนวชแล้ว พระราชา
ทั้งหลายย่อมพอพระหฤทัย แต่ถ้าไม่ทรงพอพระหฤทัย ไม่ควรให้บวช. โจร
๑. ในพระบาลีวินัยเป็น ธชพทฺโธ. ส่วนคำว่า มูลเทวาทโย โยชนาแก้อรรถว่า อาทิภูเทวาทโย. ธชพทฺโธ หมายความไปในทางมีชื่อเสียงโด่งดังทางเสีย อ้างว่า เหมือนมูลเทพเป็นต้น คำว่า มูลเทโว ทางสันสกฤต เป็นพระนามของท้าวกังสะ กษัตริย์ทรราชแห่งแคว้นมถุรา ทรงฆ่าทารกเสียมากมายก่ายกอง เพราะโหรทำนายว่า พระองค์จะถูกลูกชายของหญิงนางหนึ่งปลงพระชนม์ ด้วยความร้ายกาจนี้เอง ประชาชนพลเมืองจึงเห็นว่าท้าวเธอเป็นอสูร เป็นยักษ์ เป็นมาร มูลเทโว จ มาเป็นตัวอย่างในคำว่า มูลเทวาทโยนี้หรืออย่างไร ?
๖/๑๐๗/๒๕๐
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น