วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 22, 2567

Wachi

 
ก็ปฏิสังขานพละเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า
วิบากของกายทุจริตแล ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า วิบาก
ของมโนทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า ครั้นเขาพิจารณา
ดังนี้แล้ว ย่อมละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ย่อมละวจีทุจริต เจริญ
วจีอาทิผิด อักขระสุจริต ย่อมละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปฏิสังขานพละ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาพละเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในการสละ ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์. . . ย่อมเจริญวิริย-
สัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์. . . ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. . . ย่อมเจริญอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาวนาพละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๒
อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ในบทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ เป็นต้น มีพรรณนาความ
ของบทที่ยังมิได้มีมาในหนหลัง ดังนี้ . บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ ได้แก่ อาศัย
วิเวก. ความสงัด ชื่อว่าวิเวก. วิเวกดังกล่าวนี้ มี ๕ อย่าง คือ ตทังค-
วิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก.
 
๓๓/๒๕๘/๓๐๙

ไม่มีความคิดเห็น: