วันพุธ, กุมภาพันธ์ 28, 2567

Metta

 
ผู้ทำตามความปรารถนา ไม่ควรลงอาชญา และไม่ควรว่ากล่าวติเตียน ใน
ของที่ผู้อื่นหวงแหนใด โดยเจตนาอันยังความพยายามเพื่อถือเอาของที่ผู้
อื่นหวงแหนนั้น ตั้งขึ้น ของผู้มีความสำคัญในของที่ผู้อื่นหวงแหนว่า เป็น
ของอันผู้อื่นหวงแหนเป็นอทินนาทาน. อทินนาทานนั้นมีโทษน้อยในของ
ผู้อื่นที่เลว มีโทษมากในของที่ประณีต. เพราะเหตุไร. เพราะวัตถุ
ประณีต. เมื่อวัตถุสมบูรณ์มีโทษมาก ในวัตถุ อันเป็นของของผู้ยิ่งด้วย
คุณธรรม. มีโทษน้อยในวัตถุอันเป็นของของผู้มีคุณเลวกว่าผู้ยิ่งด้วยคุณ
นั้นๆ.
อทินนาทานนั้นมีองค์ ๕ คือของอันผู้อันหวงแหน ๑ รู้อยู่ว่าผู้อื่น
หวงแหน ๑ จิตคิดจะขโมย ๑ พยายามที่จะขโมย ๑ นำไปได้ด้วย
ความพยายามนั้น ๑.
บทว่า ปหาย คือ ละความเป็นผู้ทุศีล อันได้แก่เจตนาที่จะถือเอา
ของที่เขาไม่ให้ตน. บทว่า ปฏิวิรโต คือ งดเว้นจากความเป็นผู้ทุศีลนั้น
ตั้งแต่เวลาที่ละได้แล้ว. ชื่อว่า ทินฺนาทายี เพราะถือเอาแต่ของที่เขาให้
อย่างเดียว. ชื่อว่า ทินฺนปาฏิกงฺขี เพราะหวังได้แต่ของที่เขาตั้งใจให้
อย่างเดียว. ชื่อว่า เถโน คือ ขโมย. พึงเป็นผู้มีจิตไม่เป็นขโมย.
เป็นผู้มีจิตสะอาดเพราะเป็นผู้มีจิตไม่ขโมย. บทว่า อตฺตา คือ ด้วยความ
เป็นตน. ท่านอธิบายว่า ทำความเป็นตนให้มีจิตสะอาดมีจิตไม่ขโมย. ต่อ
จากนี้ มีนัยดังกล่าวแล้ว.
ความไมตรีด้วยอำนาจความเมตตา. อาการแห่งความเมตตา ชื่อว่า
เมตฺตาอาทิผิด อาณัติกะยนา. ความที่จิตมีความพร้อมเพรียงด้วยเมตตา ชื่อว่า เมตฺตา-
ยิตตฺตํ. ชื่อว่า อนุทฺทยนา เพราะย่อมเอ็นดู. อธิบายว่า ย่อมรักษา.
อาการแห่งความเอ็นดู ชื่อว่า อนุทฺทยนา. ความเป็นผู้เอ็นดู ชื่อว่า
 
๖๖/๙๘๘/๖๖๒

ไม่มีความคิดเห็น: