วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 24, 2567

Tit

 
ชาติเป็นต้น อันมีอยู่ในลัทธิของพราหมณ์นั้น แล้วทรงแสดงวิชชาและ
จรณะอันเยี่ยมยอด จึงตรัสพระดำรัสว่า น โข อมฺพฏฺฐ เป็นต้น แก่
อัมพัฏฐะนั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ชาติวาโท แปลว่า วาทะปรารภเชื้อชาติ.
ใจความว่า ได้แก่คำพูดเป็นต้นว่า สิ่งนี้ควรแก่พราหมณ์เท่านั้น หาควรแก่
ศูทรไม่. ในที่ทุกแห่งก็มีนัยเช่นนี้เหมือนกัน. บทว่า ชาติวาทวินิพนฺธา
แปลว่า ผู้ยุ่งเกี่ยวในวาทะปรารภเชื้อชาติ. ในที่ทุกแห่งก็มีนัยเช่นนี้
เหมือนกัน.
ลำดับนั้น อัมพัฏฐะคิดว่า เราคิดว่า บัดนี้พวกเราจักติดอยู่ในที่ใด
ที่นั้นพระสมณโคดมกลับเหวี่ยงพวกเราไปเสียไกลลิบ เหมือนคนซัด
แกลบขึ้นในลมแรง ก็พวกเราไม่ติดอยู่ในที่ใด พระสมณโคดมทรงชัก
จูงพวกเราไป ณ ที่นั้น การถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะของพวกเรานี้
สมควรจะรู้ไหม แล้วจึงได้ถามถึงวิชชาและจรณะอีก. ลำดับนั้น พระผู้
มีพระภาคเจ้า เพื่อที่จะทรงแสดงวิชชาและจรณะจำเดิมแต่การเกิดขึ้น
แก่อัมพัฏฐะนั้น จึงตรัสพระดำรัสว่า อิธ อมฺพฏฺฐ ตถาคโต เป็นต้น.
ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกศีล ๓ อย่าง
แม้ที่นับเนื่องในจรณะ ไม่ตรัสระบุชัดว่า ข้อนี้ก็เป็นจรณะของภิกษุนั้น
แต่ตรัสระบุชัดด้วยอำนาจแห่งศีลทีเดียวว่า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของภิกษุนั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร. เพราะว่าศีลไร ๆ แม้ของภิกษุนั้นก็มีอยู่ เพราะ
ฉะนั้น เมื่อตรัสระบุชัดอยู่ด้วยอำนาจแห่งจรณะ ภิกษุพึงติดอยู่ในจรณะ
นั้น ๆ นั่นเหละ ด้วยคิดว่า แม้พวกเราก็ถึงพร้อมด้วยจรณะ แต่จรณะใด
อันภิกษุนั้น มิได้เคยเห็นเลย แม้ด้วยความฝัน เมื่อจะตรัสระบุชัดด้วย
 
๑๑/๑๗๗/๕๗๐

ไม่มีความคิดเห็น: