วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 26, 2567

Kamnot

 
พึงทราบว่ารสรส (กับข้าวต่างอย่าง) ในคำว่า รสรเส นี้. ไม่เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุผู้รับกับข้าวต่างอย่างนั้นแม้มาก.
บทว่า สมติตฺติกํ แปลว่า เต็มเสมอ คือเพียบเสมอ.
ในคำว่า ถูปีกตํ ปิณฺฑปาตํ ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส
นี้ ความว่า บิณฑบาต ที่ภิกษุทำให้ล้นรอยขอบภายในปากบาตรขึ้นมา ชื่อ
ว่า ทำให้พูนล้นบาตร คือ เพิ่มเติม แต่งเสริมให้เต็มแปล้ในบาตร. ภิกษุไม่
รับบิณฑบาตที่ทำอย่างนั้น พึงรับพอประมาณเสมอรอยภายในขอบปากบาตร.
ในคำว่า ถูปีกตํ นั้น พระอภัยเถระกล่าวว่า ที่ชื่อว่าทำให้ล้นบาตร
ได้แก่ทำ (ให้ล้นบาตร) ด้วยโภชนะทั้ง ๕. แต่พระจูฬนาคเถระผู้ทรงไตร
ปิฏกกล่าวสูตรนี้ว่า ยาคูก็ดี ภัตก็ดี ขาทนียะก็ดี ก้อนแป้งก็ดี ไม้ชำระฟัน
ก็ดี ด้ายชายผ้าก็ดี ชื่อว่าบิณฑบาต แล้วกล่าวว่า แม้ด้ายชายผ้าทำให้พูนเป็น
ยอดดุจสถูป ก็ไม่ควร.
พวกภิกษุฟังคำของพระเถระเหล่านั้นแล้ว ไปยังโรหณชนบทเรียน
ถามพระจูฬสุมนเถระว่า ท่านขอรับ บิณฑบาตล้นบาตร กำหนดอาทิผิด อักขระด้วยอะไร ?
และได้เรียนบอกให้ทราบวาทะของพระเถระเหล่านั้น .
พระเถระได้ฟังแล้วกล่าวว่า จบละ ! พระจูฬนาค ได้พลาดจาก
ศาสนา, โอ ! พระจูฬนาคนั้น ได้ให้ช่องทางแก่ภิกษุเป็นอันมาก, เราสอน
วินัยให้แก่พระจูฬนาคนี้ถึง ๗ ครั้ง ก็ไม่ได้กล่าวอย่างนี้สักครั้ง, พระจูฬนาค
นี้ได้มาจากไหน จึงกล่าวอย่างนี้.
พวกภิกษุขอร้องพระเถระว่า โปรดบอกในบัดนี้เถิด ขอรับ ! (บิณ-
ฑบาตล้นบาตร) กำหนดด้วยอะไร ? พระเถระกล่าวว่า กำหนดด้วยยาวกาลิก
ผู้มีอายุ ! เพราะฉะนั้น ยาคูก็ดี ภัตก็ดี ผลาผลก็ดี ที่เป็นอามิสอย่างใดอย่างหนึ่ง
 
๔/๘๘๑/๙๕๖

ไม่มีความคิดเห็น: