วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 08, 2567

Thamnop

 
ควรถือเอาโอกาสที่ห้วงน้ำท่วม ในคราวฝนชุกเกินไป. เพราะว่าโอกาสนั้น
ย่อมถึงความนับว่าเป็นคามสีมาด้วย.
ชนทั้งหลายเมื่อจะไขน้ำเข้าลำราง ย่อมทำทำนบอาทิผิด สระในแม่น้ำ, และน้ำท่วม
หรือเซาะแทงทำนบนั้นไหลไป จะทำกรรมในที่ซึ่งน้ำไหลทุกแห่ง ย่อมควร
แต่ถ้ากระแสน้ำขาดสายทำนบกั้นก็ดี ด้วยถูกถมทำสะพานก็ดี น้ำย่อมไม่ไหล
จะทำกรรมในที่ซึ่งน้ำไม่ไหลไม่ควร. จะทำแม้บนยอดทำนบ ก็ไม่ควร. ถ้า
ประเทศแห่งทำนบบางแห่ง น้ำท่วมน้ำ เหมือนประเทศแห่งแก่งศิลาและเกาะ
ซึ่งกล่าวแล้วในหนหลัง, จะทำกรรม ณ ประเทศแห่งทำนบที่น้ำท่วมถึงนั้น
ย่อมควร. เพราะว่าประเทศแห่งทำนบนั้นย่อมถึงความนับว่าแม่น้ำเหมือนกัน.
ชนทั้งหลายจะกั้นแม่น้ำเสีย ทำให้เป็นบึง ก่อคันไว้ที่ปลายน้ำ น้ำไหลมาขังอยู่
เต็มบึง จะทำกรรมในบึงนี้ ไม่ควร. น้ำที่เขาทิ้งเสียในที่ซึ่งไหลตอนบนและ
ตอนล่าง แห่งบึงนั้น ย่อมควร จำเดิมแต่ที่ซึ่งล้นแล้วไหลบ่าลงสู่แม่น้ำ. ใน
เมื่อฝนไม่ตก ในคราวฝนแล้ง หรือในฤดูร้อนและในฤดูหนาว จะทำกรรม
แม้ในแม่น้ำที่แห้ง ย่อมควร. ในลำรางที่เขาชักออกจากแม่น้ำ ไม่ควร. ถ้า
ลำรางนั้นพังกลายเป็นแม่น้ำในกาลอื่น ย่อมควร. แม่น้ำบางสายขึ้นท่วมคาม
สีมาและนิคมสีมาไหลไปตามฤดูกาล, แม่น้ำนั้น ย่อมเป็นแม่น้ำเหมือนกัน
สมควรทำกรรมได้. แต่ถ้าท่วมวิหารสีมา ย่อมถึงความนับว่า วิหารสีมา ด้วย
อันภิกษุทั้งหลายผู้จะทำกรรมแม้ในทะเลเล่า น้ำที่ขึ้นอย่างสูง ย่อมท่วมประเทศ

๑. ปาฐะในอรรถกถาว่า อาวรเณน วา โกฏฺฐกพนฺธเนน วา. โยชนาหน้า ๒๔๖ แก้ว่า อาวรเณน วาติ ทารุอาทึ นิกฺขนิตฺวา อุทกนีวารเณน. โกฏฺฐลสมฺพทฺเธน วาติ มตฺติกาทีหิ ปูเรตฺวา กตเสตุพทฺเธน แม้อักษรจะเพี้ยนไปบ้างก็ตาม เสตุพนฺธ หมายความว่าทำสะพานตามความนิยมของภาษา เช่นในมงฺคลตฺถทีปนี ภาค ๒ ตอน อนวชฺชกมฺมกถา หน้า ๑๒๔ มีกล่าวถึงอุบาสกคนหนึ่ง . . . อุทกกาเล มาติกาสุ เสตุํ พนฺธติ. ดังนั้นอาศัยนัยโยชนา จึงได้แปลเช่นนี้ ให้ได้ ความชัดลงไป.
 
๖/๑๖๕/๔๒๘

ไม่มีความคิดเห็น: