วันอังคาร, ธันวาคม 05, 2566

Akappiya

 
กาลิกใด ๆ เป็นของมีรสระคนปนกันไม่ได้อย่างนั้น กาลิกนั้น ๆ แม้
รับประเคนรวมกัน; ล้างหรือปอกเสียจนบริสุทธิ์แล้วฉัน ด้วยอำนาจแห่งกาล
ของกาลิกนั้น ๆ ย่อมควร. แต่ถ้ากาลิกใดเป็นของมีรสแทรกกันได้ ปนกัน
ได้ กาลิกนั้น ย่อมไม่ควร.
จริงอยู่ ยาวกาลิกย่อมชักกาลิกทั้ง ๓ มียามกาลิกเป็นต้น ซึ่งมีรส
เจือกับตน เข้าสู่สภาพของตน ถึงยามกาลิก ก็ชักกาลิก แม้ ๒ มีสัตตาห
กาลิกเป็นต้น เข้าสู่สภาพของตน สัตตาหกาลิกเล่า ย่อมชักยาวชีวิกที่ระคน
เข้ากับตน เข้าสู่สภาพของตนเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบสันนิษฐาน
ว่า ยาวชีวิกที่รับประเคนในวันนั้นก็ดี รับประเคนในวันก่อน ๆ ก็ดี ปนกับ
สัตตาหกาลิกนั้น ซึ่งรับประเคนในวันนั้น ควรเพียง ๗ วัน ปนกับสัตตาห
กาลิกที่รับประเคนไว้ ๒ วัน ควรเพียง ๖ วัน ปนกับสัตตาหกาลิกที่รับประ-
เคนไว้ ๓ วัน ควรเพียง ๕ วัน ปนกับสัตตาหกาลิกที่รับประเคนไว้ ๗ วัน
ควรในวันนั้นเท่านั้น ก็เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ยาวชีวิกที่รับประเคนในวันนั้น ปนกับสัตตาหกาลิก ควร ๗ วัน
ตรัสว่า ยาวชีวิกที่รับประเคนแล้ว คือปนกับสัตตาหกาลิก ควร ๗ วัน ก็
เมื่อกาลิก ๓ นี้ก้าวล่วงกาล ยาม และ ๗ วัน พึงทราบอาบัติด้วยอำนาจวิกาล
โภชนสิกขาบท สันนิธิสิกขาบท และเภสัชชสิกขาบท.
ก็แล ในกาลิก ๔ นี้ กาลิก ๒ คือ ยาวกาลิก ๑ ยามกาลิก ๑ นี้
เท่านั้น เป็นอันโตวุตถะด้วย เป็นสันนิธิการกะด้วย: แต่สัตตาหกาลิกและยาว
ชีวิก แม้จะเก็บไว้ในอกัปปิยอาทิผิด กุฏิ ก็ควร. ทั้งไม่ให้เกิดสันนิธิด้วย ดังนี้แล.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

อรรถกถาเภสัชชขันธกะ จบ
 
๗/๙๔/๑๙๒

ไม่มีความคิดเห็น: