วันพฤหัสบดี, มกราคม 12, 2566

Mua Mong

 
หรือไม่รู้ได้ว่า เป็นถาดดินหรือเป็นถาดทองสัมฤทธิ์. พระเถระเมื่อจะรับ
รองคำนี้ จึงกล่าวว่า เป็นอย่างนั้นนั่นแหละท่าน.
พระธรรมเสนาบดี (สารีบุตร) เมื่อจะยืนยันข้ออุปไมยอีกครั้ง
จึงได้กล่าวคำมีอาทิไว้ว่า เอวเมว โข ( ก็เหมือนกันนั่นแหละ ).
ในคำนั้น ควรทราบการเปรียบเทียบคำอุปมากับคำอุปไมย ดังต่อ
ไปนี้ :-
บุคคลที่ยังมีกิเลสเพียงดังเนินอยู่ เปรียบเหมือนถาดสัมฤทธิ์ที่มัว
หมอง การที่บุคคลนั้นเมื่อจะได้บวช ก็กลับได้บวชในสำนักของบุคคลผู้
ขวนขวายในอเนสนาทั้งหลายมีเวชกรรม ( เป็นหมอ ) เป็นต้น เปรียบ
เหมือนการทอดทิ้งถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองอยู่แล้ว ไว้ในที่ทางที่มี
ละอองเพราะไม่ได้ใช้สอย เป็นต้น. การทำอเนสนามีเวชกรรมเป็นต้นแห่ง
บุคคลนั้น ผู้สำเหนียกอยู่ตามอาจารย์และอุปัชฌาย์ ตามลำดับ (และ)
การมรณภาพทั้งที่ยังมีกิเลสเพียงดังเนินของบุคคลผู้ดำรงอยู่ในวีติกกมโทษ
คือการทำอเนสนามีเวชกรรมเป็นต้น (เป็นหมอเหมือนอาจารย์) เปรียบ
เหมือนภาวะของถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองอยู่แล้ว กลับมัวหมองอาทิผิด อักขระยิ่งขึ้นไป
กว่าเดิมอีก.
อีกอย่างหนึ่ง การมรณภาพทั้ง ๆ ที่ยังมีกิเลสเพียงดังเนินอยู่แห่ง
เขาผู้ดำรงอยู่ในวีติกกมโทษนี้ตามลำดับ คือ การต้องอาบัติทุกกฏ และ
ทุพภาสิต ( เปรียบเหมือนภาวะของถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองอยู่แล้ว
กลับมัวหมองขึ้นไปอีก ). อีกอย่างหนึ่ง การมรณภาพทั้ง ๆ ที่ยังมีกิเลส
เพียงดังเนินอยู่ของเขาผู้ดำรงอยู่ในวีติกกมโทษนี้ตามลำดับ คือ การต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ และถุลลัจจัย การต้องอาบัติสังฆาทิเสส การต้องอาบัติ
 
๑๗/๗๒/๓๖๘

ไม่มีความคิดเห็น: