วันอาทิตย์, มกราคม 15, 2566

Sathan

 
อรรถกถาปาริฉัตตกสูตรที่ ๕
ปาริฉัตตกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปณฺฑุปลาโส ได้แก่ใบไม้แก่ที่หล่น. บทว่า ชาลกชาโต
ได้แก่มีปุ่มใบและดอกเกิดพร้อมกัน ด้วยว่า ปุ่มใบและปุ่มดอก
ของต้นทองหลางนั้น ออกพร้อมกันทีเดียว. บทว่า ขารกชาโต
ความว่า ประกอบแล้วด้วยปุ่มใบอ่อน และปุ่มดอก อันแตกงาม
แต่ตั้งอยู่แยกกันคนละส่วน บทว่า กุฑุมลกชาโต ได้แก่เกิดเป็น
ดอกตูม บทว่า โกกาสกชาโต ความว่า ประกอบด้วยดอกทั้งหลาย
ที่มีหน้าดอกเจือกัน มีท้องดอกใหญ่ ยังไม่บาน (คือแย้ม). บทว่า
สพฺพผาลิผุลฺโล ความว่า บานดีแล้ว โดยอาการทั้งปวง. บทว่า
ทิพฺเพ จตฺตาโร มาเส ความว่า ตลอด ๔ เดือน โดยอายุทิพย์. แต่เมื่อ
นับตามอายุมนุษย์ ย่อมมีอายุถึงหมื่นสองพันปี. บทว่า ปริจาเรนติ
ความว่า เทวดาเหล่านั้น ย่อมบำเรออินทรีย์ทั้งหลายเที่ยวไปข้างโน้น
และข้างนี้ อธิบายว่า ย่อมเด่น ย่อมร่าเริง.
บทว่า อาภาย ผุฏํ โหติ ความว่า สถานอาทิผิด ที่เท่านี้ เป็นอัน
รัศมีต้องแล้ว ก็รัศมีของดอกไม้เหล่านั้น ย่อมเป็นเหมือนแสง
แห่งอาทิตย์ทอแสงอ่อน ๆ ใบของดอกไม้เหล่านั้น มีขนาดเท่าร่ม
ใบไม้ ภายในดอกมีละอองเกษรขนาดทนานใบใหญ่. แต่เมื่อต้น
ปาริฉัตตกะดอกบานแล้ว ไม่ต้องมีกิจในการขึ้นต้น ไม่มีกิจเอาไม้
สอยให้ลงมา ไม่ต้องเอาผอบเพื่อนำดอกไม้มา ลมสำหรับจะตัด
 
๓๗/๖๖/๒๔๔

ไม่มีความคิดเห็น: