วันอังคาร, พฤษภาคม 02, 2566

Nirutti

 
สำเร็จประโยชน์.
คำนี้ว่า อัชฌายกะ (ผู้ไม่มีฌาน) เป็นคำกล่าวติเตียนพวก
พราหมณ์ผู้ปราศจากฌาน ในกาลอันเป็นปฐมกัปอย่างนี้ว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ
และภารทวาชะ พราหมณ์เหล่านั้นไม่เพ่งในบัดนี้ พราหมณ์เหล่านี้ ไม่เล่าเรียน
ในบัดนี้ เพราะเหตุนี้แล อักษรที่ ๓ ว่า อัชฌายิกา อัชฌายิกา ดังนี้
แลจึงเกิดขึ้น.
แต่บัดนี้ชนทั้งหลาย เรียกพราหมณ์นั้นกระทำให้เป็นคำสรรเสริญ
แล้ว ด้วยความหมายนี้ว่า บุคคลใดย่อมเล่าเรียน บุคคลนั้น ชื่อว่า
อัชฌายกะ (ผู้คงแก่เรียน) คือสาธยายมนต์. บุคคลใดย่อมทรงจำมนต์
ทั้งหลายได้ บุคคลนั้นชื่อมันตธระ (ผู้ทรงจำมนต์ได้.)บทว่า ไตรเพท คือ
อิรุพเพทยชุพเพทและสามเพท. บุคคลใดถึงแล้วซึ่งฝั่ง ด้วยอำนาจกระทำ
ให้ริมฝีปากกระทบกัน บุคคลนั้น ชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง (ผู้เรียนจบไตรเพท).
ไตรเพทเป็นไปกับด้วยนิฆันฑุศาสตร์และเกฏุภศาสตร์ ชื่อว่าพร้อมกับ
นิฆัณฑุศาสตร์และเกฏุภศาสตร์.
คำว่า นิฆัณฑุ คือศาสตร์ที่แสดงถึงคำไวพจน์ของสิ่งทั้งหลายมี
นิฆัณฑุรุกข์ เป็นต้น. คำว่า เกฏุภะ คือ กิริยากัปปวิกัปป ได้แก่ ศาสตร์ว่า
ด้วยเครื่องมือของกวีทั้งหลาย. ไตรเพทเป็นไปกับด้วยประเภทแห่งอักขระ
ชื่อว่า พร้อมด้วยประเภทแห่งอักขระ. บทว่า ประเภทแห่งอักขระ ได้แก่
สิกขา และนิรุตติอาทิผิด อักขระ. บทว่า มีศาสตร์ว่าด้วยพงศาวดารเป็นที่ ๕ ความว่า
พงศาวดาร กล่าวคือเรื่องราวเก่า ๆ ที่ประกอบด้วยคำเช่นนี้ ว่า อิติห อส
อิติห อส (สิ่งนี้ได้เป็นมาแล้วเช่นนี้ สิ่งนี้ได้เป็นมาแล้วเช่นนี้) เป็น
๑. อัคคัญญสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๑๑ หน้า ๑๐๓
 
๑๑/๑๗๗/๕๓๘

ไม่มีความคิดเห็น: