วันอาทิตย์, พฤษภาคม 21, 2566

Tat

 
ยืนอีก ในข้อนี้มีการเทียบเคียงอุปมาดังว่ามานี้. ทรงหมายเอาภาวนาวิธี
ซึ่งเป็นดังว่ามานี้ จึงตรัสว่า พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ.
บทว่า เมตฺตา ได้แก่ กรรมฐานมีเมตตาเป็นอารมณ์. บทว่า
พฺยาปาทสฺส ปหานาย ได้แก่ เพื่อละความโกรธอันเกิดขึ้น โดยนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า อานาปานสฺสติ ได้แก่ อานาปานสติอัน
มีวัตถุ ๑๖. บทว่า วิตกฺกุปจฺเฉทาย ได้แก่ เพื่อตัดอาทิผิด สระวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว
โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า อสฺมิมานสมุคฺฆาตาย ได้แก่ เพื่อ
ถอนมานะ ๙ อย่างที่เกิดขึ้นว่าเรามี. บทว่า อนิจฺจสญฺญิโน ได้แก่ ผู้มี
ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ด้วยอนิจจานุปัสสนาที่เป็นไปว่า สังขารทั้งปวงชื่อว่า
ไม่เที่ยง เพราะมีแล้วกลับไม่มี เพราะมีความเกิดขึ้นและดับไปเป็นที่สุด
เพราะมีการแตกดับ เพราะเป็นไปชั่วขณะ เพราะปฏิเสธความเป็นของ
เที่ยง. บทว่า อนตฺตสญฺญา สณฺฐาติ ได้แก่ อนัตตสัญญา กล่าวคือ
อนัตตานุปัสสนาที่เป็นไปอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งปวงชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะ
ไม่มีแก่นสาร เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะเป็นอื่น เพราะว่าง
เพราะเปล่า และเพราะสูญ ย่อมไม่ดำรงอยู่ คือไม่ตั้งมั่นอยู่ในจิต.
จริงอยู่ เมื่อเห็นอนิจจลักษณะก็เป็นอันชื่อว่าเห็นอนัตตลักษณะเหมือนกัน.
ก็บรรดาลักษณะทั้ง ๓ เมื่อเห็นลักษณะหนึ่ง ก็เป็นอันชื่อว่าเห็นลักษณะ
๒ อย่างนอกนี้เหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เมฆิยะ ก็อนัตตสัญญา
ย่อมดำรงอยู่แก่ผู้มีความสำคัญในสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยง. เมื่อเห็น
อนัตตลักษณะ มานะที่เกิดขึ้นว่าเรามี ก็ชื่อว่าละได้ด้วยนั่นเอง เพราะ-
เหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ผู้มีความสำคัญในสังขารว่าเป็นอนัตตา ย่อม
ถึงการถอนอัสมิมานะเสียได้. บทว่า ทิฏฺเฐว ธมฺเม นิพฺพานํ ความว่า
 
๔๔/๘๙/๔๑๐

ไม่มีความคิดเห็น: