วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 18, 2566

Sapplap

 
ไว้ในกัมมัฏฐาน ป้องกันเดินออกนอกทาง. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สติ เม ผาลปาจนํ ดังนี้.
บทว่า กายคุตฺโต ได้แก่คุ้มครองด้วยกายสุจริต ๓ อย่าง. บทว่า
วจีคุตฺโต ได้แก่คุ้มครองด้วยวจีสุจริต ๔ อย่าง. ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้
เป็นอันท่านกล่าวปาติโมกขสังวรศีลแล้ว. ในข้อว่า อาหาเร อุทเร ยโต
นี้ มีความว่า สำรวมในปัจจัยทั้ง ๔ อย่าง เพราะท่านสงเคราะห์ปัจจัยทุกอย่าง
ด้วยมุขคืออาหาร อธิบายว่า สำรวมแล้ว คือปราศจากอุปกิเลส. ด้วยคำนี้
เป็นอันท่านกล่าวอาชีวปาริสุทธิศีลแล้ว. บทว่า อุทเร ยโต ได้แก่สำรวม
ในท้อง คือสำรวม คือบริโภคพอประมาณ. ท่านอธิบายไว้ว่า รู้จักประมาณ
ในอาหาร. ด้วยมุขคือความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคนี้ เป็นอัน
ท่านกล่าวการเสพเฉพาะปัจจัยสันนิสสิตศีลแล้ว. ถามว่า ด้วยข้อนั้น ท่าน
แสดงความอย่างไร. ตอบว่า ท่านแสดงความว่า พราหมณ์ ท่านหว่านพืช
แล้ว ล้อมด้วยรั้วหนามรั้วต้นไม้หรือกำแพง เพื่อรักษาข้าวกล้า ฝูงโคกระบือ
และเนื้อทั้งหลายเข้าไปไม่ได้ แย่งข้าวกล้าไม่ได้ เพราะการล้อมนั้น ฉันใด
เราตถาคตก็ฉันนั้น หว่านพืช คือ ศรัทธาเป็นอันมากแล้ว ล้อมรั้ว ๓ ชั้น
ได้แก่ควบคุมกาย ควบคุมวาจา และควบคุมอาหาร เพื่อรักษากุศลธรรม
นานาประการ ฝูงโคกระบือและเนื้อกล่าวคืออกุศลธรรมมีราคะเป็นต้น เข้าไป
ไม่ได้ แย่งข้าวกล้าคือกุศลนานาประการของเราไปไม่ได้เพราะการล้อมรั้วนั้น.
การพูดไม่ผิดด้วยอาการ ๒ อย่าง ชื่อว่า สัจจะ ในคำว่า สจฺจํ
กโรมิ นิทฺทานํ นี้. บทว่า นิทฺทานํ ได้แก่ ตัด เกี่ยว ถอน. แลคำนี้
พึงทราบว่าเป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. ก็ในคำนี้มีเนื้อความ
ดังนี้ว่า เราดายหญ้า (คือวาจาสับปลับอาทิผิด อักขระ) ด้วยคำสัตย์. คำนี้มีอธิบายว่า
ท่านทำการไถภายนอก ใช้มือหรือมีดดายหญ้าที่ทำข้าวกล้าให้เสีย ฉันใด
 
๒๕/๖๗๖/๒๖๑

ไม่มีความคิดเห็น: