วันเสาร์, พฤศจิกายน 04, 2566

Sat

 
ผ้าที่ชื่อว่า สามุททิยะ ได้แก่ ผ้าที่ถูกคลื่นทะเลซัดอาทิผิด อักขระขึ้นบก. ผ้าที่ชื่อว่า
ปันถิกะ ได้แก่ ผ้าที่คนเดินทางใช้แผ่นหินทุบแล้วห่ม เพราะกลัวโจร.
ผ้าที่ชื่อว่า อิทธิมยะ ได้แก่ ผ้าของเอหิภิกขุ. ผ้าที่เหลือปรากฏชัดแล้ว.
ข้อว่า จีวรสนฺโตโส ได้แก่ ความสันโดษในจีวร ๒๐. ก็ในจีวร
สันโดษ ๒๐ คือ สันโดษในการตรึก สันโดษในการไป สันโดษใน
การแสวงหา สันโดษในการได้ สันโดษในการรับแต่พอประมาณ สันโดษ
ในการเว้นจากความอยากได้ สันโดษตามแต่ได้ สันโดษตามกำลัง สันโดษ
ตามความสมควร สันโดษในน้ำ (ซัก ) สันโดษในการซัก สันโดษใน
การทำ สันโดษในปริมาณ สันโดษในด้าย สันโดษในการเย็บ สันโดษ
ในการย้อม สันโดษในการทำกัปปะ สันโดษในการใช้สอย สันโดษใน
การเว้นจากการสะสม สันโดษในการสละ. บรรดาสันโดษเหล่านั้น ภิกษุ
ผู้ยินดีอยู่จำพรรษาประจำครบไตรมาส จะตรึกเพียงเดือนเดียว ก็ควร.
ก็ภิกษุนั้นปวารณาแล้ว ย่อมทำจีวรในเดือนที่ทำจีวร. ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุล
ย่อมทำโดยครึ่งเดือนเท่านั้น. การตรึกเพียงหนึ่งเดือนหรือครึ่งเดือน ชื่อว่า
สันโดษในการตรึก ด้วยประการฉะนี้. ก็ภิกษุผู้สันโดษด้วยการสันโดษ
ในการตรึก พึงเป็นผู้เช่นกับพระบังสุกูลเถระ ผู้จำพรรษาอยู่ในปาจีน-
ขัณฑราชีวิหารเถิด.
มีเรื่องเล่ามาว่า พระเถระมาด้วยความหวังว่า จักไหว้พระเจดีย์
ในเจติยบรรพตวิหาร ครั้นไหว้พระเจดีย์แล้ว ก็คิดว่า จีวรของเราเก่าแล้ว
เราจักได้ในที่อยู่ของภิกษุมาก. ท่านจึงไปยังมหาวิหาร พบพระสังฆเถระ
แล้วถามถึงที่อยู่ แล้วก็อยู่ในที่นั้น วันรุ่งขึ้น จึงถือเอาจีวรมาไหว้พระ
 
๑๖/๓๖๓/๓๓๒

ไม่มีความคิดเห็น: