วันจันทร์, พฤศจิกายน 06, 2566

Rupang

 
เนื้อความโดยนัยเป็นต้นว่า ขันธ์ทั้งหลายชื่อว่ารูปขันธ์หรือ แห่งบท
ทั้งหลาย ว่าขันธ์ทั้งหลายชื่อว่ารูปหรือ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้
ก็ด้วยเหตุนั้น วาระนั้นท่านจึงเรียกว่า สุทธักขันธวาระ ในสุทธัก-
ขันธวาระนี้ คำว่า น ขนฺธา เป็นคำที่มีประมาณ เหมือนในการ
ชำระคำ ก็สุทธักขันธวาระย่อมได้โดยประการใด ๆ เนื้อความเทียว
เป็นประมาณ ย่อมได้โดยประการนั้น ๆ แม้ในอายตนยมกเป็นต้น
ข้างหน้าก็มีนัยนี้เหมือนกัน ก็ในสุทธักขันธวาระมี ๒ อย่าง ด้วย
อำนาจอนุโลมและปฏิโลม ในอนุโลมและปฏิโลมเหล่านั้น ในอนุโลม
วาระมียมก ๕ อย่าง คือ รูปํ ขนฺโธ, ขนฺธา รูปํอาทิผิด สระ เป็นต้น แม้
ในปฏิโลมวาระก็มียมก ๕ อย่าง คือ นรูปํ นขนฺโธ, นขนฺธา
นรูปํอาทิผิด สระ ดังนี้เป็นต้น
เบื้องหน้าแต่นั้นท่านกระทำการผูกมูลแห่งขันธ์หนึ่ง ๆ แห่งสุท-
ธักขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นโดยนัยเป็นต้นว่า รูปํ ขนฺโธ ขนธา เวทนาอาทิผิด สระ
ให้เป็น ๔ ชื่อ สุทธักขันธมูลจักกวาระ เพราะความที่จักรมี
สุทธักขันธ์เป็นมูลมีอยู่ ในสุทธักขันธมูลจักกวาระนั้น พึงทราบ
เนื้อความ โดยนัยเป็นต้นว่า ขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า เวทนาขันธ์หรือ
แห่งคำถามว่า ขนฺธา เวทนา เป็นต้น
โดยประการนอกนี้ จึงมีความผิดกันกับนิทเทสวาระ แม้สุทธัก-
ขันธมูลจักกวาระนั้นก็มี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจอนุโลมและปฏิโลม ใน
 
๘๒/๓๑/๗๘

ไม่มีความคิดเห็น: