วันเสาร์, พฤศจิกายน 11, 2566

Nalat

 
บทว่า ปขุมํ ในคำว่า โคปขุโม นี้ท่านประสงค์เอาดวงพระเนตร
ทั้งหมด. ดวงพระเนตรนั้นมีธาตุหนาของลูกโคดำ ใสแจ๋วคล้ายดวงตาของ
ลูกโคแดง หมายความว่า มีดวงพระเนตรเหมือนลูกโคแดงที่เกิดชั่วครู่นั้น.
ก็ดวงตาของคนเหล่าอื่นไม่เต็ม ประกอบด้วยนัยน์ตา เฉออกไปบ้าง ลึกไปบ้าง
เช่นเดียวกับนัยน์ตาของช้าง หนูและกาเป็นต้น. ส่วนของพระตถาคตเจ้ามี
พระเนตรที่อ่อนดำสนิท สุขุมตั้งอยู่ดุจคู่แก้วมณีที่เขาล้างขัดไว้ฉะนั้น.
บทว่า อุณฺณา ได้แก่พระอุณณาโลม (ขนขาว). บทว่า ภมุกนฺตเร
ความว่า พระอุณณาโลมเกิดเหนือนาสิกตรงกลางคิ้วทั้งสองนั่นเทียว แต่เกิดที่
กลางพระนลาฏสูงขึ้นไป. บทว่า โอทาตา ได้แก่บริสุทธิ์ มีสีดุจดาวประจำรุ่ง.
บทว่า มุทุ ความว่า เช่นกับปุยฝ้ายที่เขาจุ่มในเนยใส แล้วสลัดถึงร้อยครั้ง
ตั้งไว้. บทว่า ตูลสนฺนิภา ความว่า เสมอด้วยปุยดอกงิ้วและปุยลดา. นี้เป็น
ข้ออุปมาของความที่พระอุณณาโลมนั้นมีสีขาว. ก็พระอุณณาโลมนั้น เมื่อจับ
ที่ปลายดึงมา จะมีประมาณเท่ากึ่งแขน. ปล่อยไปแล้ว จะขดกลมมีปลายสูง
ขึ้นอยู่ โดยเป็นทักษิณาวัฏ. ย่อมรุ่งเรืองด้วยศิริอันชื่นใจยิ่ง เหมือนกับฟองเงิน
ที่เขาวางไว้ตรงกลางแผ่นทอง เหมือนสายน้ำนมที่ไหลออกจากหม้อทอง และ
เหมือนดาวประจำรุ่ง (ดาวพระศุกร์) ในท้องฟ้า อันรุ่งเรืองด้วยแสงอรุณฉะนั้น .
คำว่า อุณฺหิสสีโส นี้ ท่านกล่าวอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ
คือ มีพระนลาฏเต็ม ๑ มีพระเศียรเต็ม ๑. คือชั้นพระมังสะตั้งขึ้น ตั้งแต่หมวก
พระกรรณเบื้องขวาไปปิดพระนลาฏอาทิผิด อักขระทั้งสิ้น เต็มไปจดหมวกพระกรรณเบื้องซ้าย
อยู่ รุ่งเรืองดุจแผ่นกรอบพระพักตร์ ที่พระราชาทรงสวมไว้ ได้ยินว่า
นักปราชญ์ทราบลักษณะนี้ของพระโพธิสัตว์ในปัจฉิมภพ จึงได้กระทำแผ่น
พระอุณหิสถวายพระราชา. อรรถข้อหนึ่งเท่านี้ก่อน. ส่วนคนเหล่าอื่นมีศีรษะ
ไม่เต็ม. บางคนมีศีรษะดุจหัวลิง บางคนมีศีรษะดุจผลไม้ บางคนมีศีรษะดุจ
 
๒๑/๖๐๓/๒๗๑

ไม่มีความคิดเห็น: