วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 12, 2566

Thi

 
ไปอย่างนี้ว่า มนุษย์ทั้งหลายในชนบทของพวกเรา มีศรัทธา มีความเลื่อมใส
ถึงความสิ้นไป ถึงความเสื่อมไปแล้ว ดังนี้ ย่อมไม่ชื่อว่า ความตรึกถึง
ชนบท.
ความตรึกเพื่อความต้องการไม่ให้ตาย หรือว่าความตรึกอันไม่ตาย
ชื่อว่า อมรวิตก ความตรึกอันไม่ตายตัว. ในข้อนั้น ความตรึกอันเกี่ยวด้วย
ความพอใจในการทำสิ่งที่อาทิผิด อาณัติกะทำได้โดยยากของผู้ทำทุกรกิริยาโดยตรึกว่า เมื่อความ
ทุกข์เกิดขึ้นด้วยความเพียรมีการนั่งกระโหย่งเป็นต้น ซึ่งทำจนหมดแรงแล้ว
อัตตา ย่อมเกิดเป็นสุข ย่อมไม่ตายในภพเบื้องหน้า ดังนี้ ชื่อว่า ความตรึก
เพื่อความต้องการไม่ตายตัว. ก็บุคคลผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น ถูกผู้อื่นถามปัญหา
ว่า ท่านย่อมกล่าวว่า อัตตาและโลกเที่ยงเป็นต้น ท่านก็จะกล่าววาจาดิ้นได้
ไม่ตายตัวว่า สิ่งนี้ย่อมปรากฏแก่เราว่า.
เอวนฺติปิ เม โน แปลว่า แม้อย่างนี้ ก็ไม่ใช่
ตถาติปิ เม โน แปลว่า แม้อย่างนั้น ก็ไม่ใช่
อญฺญถาติปิ เม โน แปลว่า แม้อย่างอื่น ก็ไม่ใช่
โนติปิ เม โน แปลว่า แม้สิ่งที่ไม่ใช่ ก็ไม่ใช่
โน โนติปิ เม โน แปลว่า แม้สิ่งที่ไม่ใช่ไม่ใช่ ก็ไม่ใช่ ดังนี้
ย่อมถึงความสับสน. ความตรึกอันประกอบด้วยทิฏฐิคตะของบุคคลนั้น เปรียบ
เหมือนปลาไหลโจนลงน้ำไปแล้ว ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อให้ตาย บุคคลผู้จับปลา.
ไหลนั้น ย่อมวิ่งไป ข้างนี้ ๆ ก็ไม่สามารถเคลื่อนไปจับมันได้ฉันใด ข้อนี้
ก็ฉันนั้นนั่นแหละ. ชื่อว่า ความตรึกไม่ตายตัว เพราะอรรถว่าไม่คงที่และ
เพราะไม่ตั้งมั่นอยู่ในฝ่ายหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสความตรึกอันไม่ตาย
ตัวนี้ โดยรวมเอาความตรึกแม้ทั้งสองชนิดนั้น.
 
๗๘/๑๐๗๒/๙๑๐

ไม่มีความคิดเห็น: