วันพุธ, กันยายน 27, 2566

Kayo

 
อารทฺธํ โข ปน เม พฺราหฺมณ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อารทฺธํ โข ปน เม พฺราหฺมณ วีริยํ อโหสิ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์
ความเป็นผู้เจริญที่สุดและประเสริฐสุดอันยอดเยี่ยมนี้ เราบรรลุ
ด้วยความเกียจคร้าน ด้วยความมีสติหลงลืม ด้วยกายอันกระสับ-
กระส่าย ด้วยจิตอันฟุ้งซ่าน ก็หามิได้ ก็อนึ่งแล เราได้มีความเพียร
อันปรารภแล้ว เพื่อบรรลุความเป็นผู้เจริญที่สุดและประเสริฐสุด
อันนั้น. เรานั่งที่โพธิมัณฑสถาน ได้ปรารภ ประคองความเพียร
ต่างโดยสัมมัปปธาน ๔ อันเป็นไปไม่ย่อหย่อน. ความเพียรนั้น
ของเรา ได้เป็นความเพียรไม่ย่อหย่อน เพราะได้ปรารภแล้วทีเดียว.
ก็จะมีแต่ความเพียรอย่างเดียวก็หามิได้ แม้สติก็เป็นอันเราเข้าไป
ตั้งไว้โดยมุ่งตรงต่ออารมณ์ และเป็นสติที่ไม่หลงลืม เพราะเป็น
ธรรมชาติเข้าตั้งมั่นแล้ว. บทว่า ปสฺสทฺโธ กาโยอาทิผิด อักขระ อาสรทฺโธ
ความว่า แม้กายของเราก็เป็นสภาพสงบด้วยอำนาจกายปัสสัทธิ
และจิตตปัสสัทธิ. ในความสงบนั้น เหตุที่เมื่อนามกายสงบ แม้
รูปกายก็ชื่อว่าเป็นอันสงบเหมือนกัน ฉะนั้น จึงไม่ตรัสให้แปลกกัน
เลยว่า นามกาโย รูปกาโย นามกาย รูปกาย แต่ตรัสว่า ปสฺสทฺโธ
กาโย กายสงบ. บทว่า อสารทฺโธ ความว่า ก็กายนั้นแลชื่อว่าสงบแท้
อธิบายว่า ปราศจากความกระวนกระวาย เพราะเป็นกายสงบ
เทียว. บทว่า สมาหิตํ จิตฺตํ เอกคฺคํ ความว่า แม้จิต เราก็ตั้งไว้
โดยชอบ คือ ตั้งไว้ด้วยดี เป็นเหมือนแนบแน่น และมีอารมณ์เดียว
คือไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน เพราะเป็นจิตตั้งมั่นทีเดียว. ด้วยลำดับ
แห่งคำ เพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันตรัสปฏิปทา อันเป็นเบื้องต้นของ
 
๓๗/๑๐๑/๓๕๔

ไม่มีความคิดเห็น: