วันพุธ, กรกฎาคม 20, 2565

Phra

 
โวหารของชาวอริยกะ หรือโวหารของชาวมิลักขะก็ดี เมื่อเธอกล่าวเนื้อความ
นั้นอย่างนี้แล้ว ถ้าผู้ที่ตนบอกเข้าใจ, สิกขาก็ย่อมเป็นอันบอกลา
ใน ๗ บท มีว่า อุปาสโก เป็นต้นแม้ที่เหลือ ก็นัยนั่น. ก็ ๘ บท
เหล่านี้ และ ๑๔ บทเบื้องต้น จึงรวมเป็น ๒๒ บท ฉะนี้แล. ถัดจาก ๘ บท
นั้นไป ท่านกล่าวประมวล ๑๔ บทเบื้องต้นนั่นแลเข้าด้วย ๔ บทเหล่านั้น คือ
อลมฺเม, กินฺนุเม, น มมตฺโถ, สุมุตฺตาหํ, จึงเป็น ๕๖ บท.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลํ แปลว่า ช่างเถิด, อธิบายว่า
พอละ.
บทว่า กินฺนุเม ความว่า กิจอะไรของข้าพเจ้า ? คือกิจอะไรที่
ข้าพเจ้าควรทำ? อธิบายว่า กิจอะไร ที่ข้าพเจ้าจะพึงทำให้สำเร็จ?
บทว่า น มมตฺโถ ความว่า ข้าพเจ้าไม่มีความต้องการ.
บทว่า สุมุตฺตาหํ ตัดเป็น สุมุตฺโต อหํ แปลว่า ข้าพเจ้าพ้น
ดีแล้ว (จากพระพุทธเจ้า).
คำที่เหลือใน ๕๖ บทนี้ มีนัยดังกล่าวมาแล้วทีเดียว. ก็ ๕๖ บท
เหล่านี้ และ ๒๒ บทข้างต้น จึงรวมเป็น ๗๘ บท ท่านกล่าวไว้โดยสรุป
เท่านั้น ด้วยประการอย่างนี้. ก็เพราะการบอกลาสิกขาย่อมมีได้แม้ด้วยคำเป็น
ไวพจน์แห่งบทอันเป็นเขตเหล่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส
คำว่า ยานิ วาปนญฺนิปิ เป็นต้น
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยานิ วาปนญฺญานิปิ ความว่ายกเว้น
บทซึ่งมาในบาลีว่า พุทฺธํ เป็นต้นเสียแล้ว คำไวพจน์เหล่าอื่นใดเล่า ยังมี
อยู่อีก.
 
๑/๗๘/๗๙๑

ไม่มีความคิดเห็น: