วันศุกร์, กรกฎาคม 22, 2565

Kiao

 
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาต้นว่า ปุจฺฉามหํ ข้าพระองค์ขอทูลถาม.
บทว่า วทญฺญุํ ได้แก่ผู้รู้ถ้อยคำ. ท่านอธิบายว่า รู้ความประสงค์ของคำที่สัตว์
ทั้งหลายพูดทุกอย่าง. บทว่า สุชฺเฌ ได้แก่ พึงบริสุทธิ์ คือพึงมีผลมากด้วยอำนาจ
ทักขิไณยบุคคล. แต่ในบทนี้โยชนาแก้ว่า มาฆมาณพกราบทูลว่า ผู้ใดเป็น
คฤหัสถ์ควรแก่การขอ เป็นทานบดี มีความต้องการบุญให้ข้าวน้ำบูชาแก่ชนเหล่า
อื่น ไม่ใส่เพียงเครื่องบูชาในไฟ แต่มุ่งบุญเท่านั้น ไม่มุ่งการตอบแทนกิตติศัพท์
อันงามเป็นต้น การบูชาของผู้นั้นผู้บูชาอย่างเห็นปานนี้จะพึงบริสุทธิ์ได้อย่างไร.
บทว่า อาราธเย ทกฺขิเณยฺเยหิ ตาทิ ผู้เช่นนั้นพึงให้ทักขิไณยบุคคลยินดีได้
ความว่า ผู้ควรแก่การขอเช่นนั้นพึงให้ทักขิไณยบุคคลยินดีพอใจบริสุทธิ์ใจ พึง
ทำการบูชาให้มีผลมากไม่ใช่อย่างอื่น. ด้วยบทนี้เป็นอันพยากรณ์ บทว่า การ
บูชาของผู้บูชานี้พึงบริสุทธิ์ได้อย่างไร. ในบทว่า อกฺขาหิ เม ภควา ทกฺขิ-
เณยฺเย นี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงบอกทักขิไณยบุคคลแก่ข้าพระองค์
เถิด นี้ พึงทราบโยชนาอย่างนี้ว่า ผู้ใดควรแก่การขอให้อยู่ย่อมบูชาแก่คนอื่น
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงบอกทักขิไณยบุคคลของผู้นั้นแก่ข้าพระองค์
เถิด.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศทักขิไณยบุคคลแก่
มาฆมาณพนั้นโดยนัยหลายประการ ได้ตรัสพระคาถามีอาทิว่า เย เว อลคฺคา
ชนเหล่าใดแลไม่เกี่ยวข้อง ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อลคฺคา คือไม่เกี่ยวข้องด้วยเครื่องเกี่ยวอาทิผิด อาณัติกะข้องมี
ราคะเป็นต้น. บทว่า เกวลิโน คือมีกิจที่ต้องทำเสร็จแล้ว. บทว่า ยตตฺตา คือ
มีจิตคุ้มครองแล้ว ฝึกฝนแล้วด้วยการฝึกอย่างยอดเยี่ยม พ้นเด็ดขาดแล้วด้วย
 
๔๗/๓๖๓/๔๖๔

ไม่มีความคิดเห็น: