วันพุธ, กรกฎาคม 26, 2566

Khao

 
สมาบัติตลอด ๗ วัน ที่เงื้อมนันทมูลกะ ณ คันธมาทนบรรพต ล่วงไป
๗ วัน จึงออกจากนิโรธ เหาะมาลงที่อิสิคิลิบรรพต ในเวลาเช้า ครองผ้า
แล้วถือบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์. ก็ในสมัยนั้น
ในกรุงราชคฤห์ มีบุตรเศรษฐี คนหนึ่ง พร้อมด้วยบริวารหมู่ใหญ่ ออก
จากพระนคร เพื่อกรีฑาในอุทยาน พบพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า
ตครสิขี คิดว่า ใครนี่ หัวโล้น ครองผ้ากาสาวะ จักเป็นคนโรคเรื้อน
เอาผ้าของคนโรคเรื้อน คลุมร่างกายไปอย่างนั้นแล ดังนี้แล้วจึงถ่มน้ำลาย
หลีกไปทางเบื้องซ้าย ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า สุปฺปพุทฺโธ กุฏฺฐี
อิมสฺมึเยว ราชคเห ฯ เป ฯ ปกฺกามิ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กฺวายํ ตัดเป็น โก อยํ (คือ) เรา
กล่าวโดยการขู่. บาลีว่า โกวายํ ดังนี้ก็มี. ด้วยบทว่า กุฏฺฐิ เขากล่าว
ถึงท่านผู้ไม่เป็นโรคเรื้อน ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่นั้นแล ว่าเป็นโรค
เรื้อน ให้ถึงอักโกสวัตถุ. บทว่า กุฏฺฐิจีวเรน แปลว่า ด้วยจีวรของคน
โรคเรื้อน. ท่านแสดงว่า ก็แม้พระปัจเจกพุทธเจ้านี้ก็เหมือนคนโรคเรื้อน
โดยมากที่ถือเอาผ้าอย่างใดอย่างหนึ่งมานุ่งห่ม เพื่อป้องกันเหลือบยุง
เป็นต้น และเพื่อป้องกันโรค. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่ท่านทรงผ้า
บังสุกุลจีวร เขาอาทิผิด อักขระจึงดูหมิ่นว่า เป็นเหมือนร่างของคนขี้เรื้อน เพราะผ้าปะ
มีสีหลายอย่าง จึงกล่าวว่า กุฏฺฐิจีวเรน ดังนี้. บทว่า นิฏฺฐุหิตฺวา ได้แก่
ถ่มน้ำลาย. บทว่า อปพฺยามโต กริตฺวา ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย เห็น
พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เช่นนั้น ไหว้แล้วกระทำประทักษิณ แต่บุรุษโรคเรื้อน
นี้เดินไปทางซ้ายพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น คือให้ทานอยู่ด้านซ้ายมือตนเดิน
ไปด้วยความดูหมิ่น เพราะความที่ตนไม่เป็นวิญญูชน. ปาฐะว่า อปวามโต
 
๔๔/๑๑๔/๕๑๔

ไม่มีความคิดเห็น: