วันอาทิตย์, กรกฎาคม 16, 2566

Anupathinnaka

 
๔ ดวงที่ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ จิต ๒ ดวงที่สหรคตด้วยโทมนัส ย่อมดับ
ด้วยสกทาคามิมรรค.
จิต ๖ ดวงเหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งกามราคะและพยาบาทที่สหร-
คตด้วยส่วนที่ละเอียด ( อณุสหคต) ย่อมดับด้วย อนาคามิมรรค.
อกุศลจิต ๕ ดวง คือจิต ๔ ดวงที่ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ และจิต
๑ ดวงที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ย่อมดับด้วย อรหัตมรรค.
ในจิตเหล่านั้น หากว่าพระอริยะเหล่านั้นไม่อบรมมรรคเหล่านั้น
แล้วไซร้ จิตเหล่านั้นพึงถึงความแผ่ซ่านไปในอารมณ์ ๖. อนึ่ง มรรค
ของพระอริยะเหล่านั้น ห้ามความเกิดแห่งความแผ่ซ่านไป กระทำการ
ถอนเสียซึ่งความที่จิตเหล่านั้นไม่ควรจะเกิดขึ้นด้วยอริยมรรค ชื่อว่า
อนุปาทินนกอาทิผิด สระนิโรธ ดับอนุปาทินนกะ. พึงทราบความดับอนุปาทินนกะ
อย่างนี้.
ก็หากว่าพระโสดาบันไม่ได้เป็นผู้อบรมโสดาปัตติมรรค ความเป็น
ไปแห่งอุปาทินนกขันธ์พึงเป็นไปได้ในสังสารวัฏ มีเบื้องต้นเบื้องปลาย
อันบุคคลตามไปอยู่รู้ไม่ได้ เว้นภพ ๗ เพราะเหตุไร. เพราะมีเหตุแห่ง
ความเป็นไปของโสดาปัตติมรรคนั้น. ก็มรรคนั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมถอนกิเลส
๕ อย่างเหล่านี้ได้ คือสังโยชน์ ๓ ทิฏฐานุสัย ๑ วิจิกิจฉานุสัย ๑. ความ
เป็นไปแห่งอุปาทินนกะของพระโสดาบัน จักเป็นไปในสังสารวัฏมีเบื้องต้น
เบื้องปลาย อันบุคคลตามไปอยู่รู้ไม่ได้ เว้นภพ ๗ ได้แต่ไหนในบัดนี้.
โสดาปัตติมรรคเมื่อกระทำอุปาทินนกะให้เป็นไปไม่ได้อย่างนี้ ชื่อว่า อุปา-
ทินนกนิโรธ ดับอุปาทินนกะ.
หากว่า พระสกทาคามีไม่ได้เป็นผู้อบรมสกทาคามิมรรค ความเป็น
 
๖๗/๙๙/๔๓

ไม่มีความคิดเห็น: