วันเสาร์, มีนาคม 16, 2567

Sangwon

 
อนุพุชฺฌิตุกามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะรู้สกทาคามิมรรคญาณอีก. บทว่า
ปฏิวิชฺณิตุกามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะรู้ด้วยการแทงตลอดอนาคามิมรรค-
ญาณ. บทว่า สมฺพุชฺฌิตุกามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะรู้โดยชอบซึ่ง
อรหัตมรรคญาณ. ปรารถนาจะบรรลุแม้ทั้ง ๔ ญาณ. บทว่า ผุสิตุกามสฺส
ปรารถนาจะถูกต้อง คือปรารถนาจะถูกต้องด้วยญาณ. บทว่า สจฺฉิกาตุ-
กามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะทำให้ประจักษ์ด้วยการพิจารณา. บทว่า
จตุนฺนํ มคฺคานํ ปุพฺพภาเค วิปสฺสนา วิปัสสนาในส่วนเบื้องต้นแห่ง
มรรค ๔ คือวิปัสสนาญาณมีอุทยัพพยญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความ
เกิดและความดับ) เป็นต้น อันเกิดขึ้นแล้วในเบื้องต้นของอริยมรรค ๔.
พึงทราบความใน คาถาที่สอง ดังต่อไปนี้. บทว่า สปฺปริยนฺตจารี
ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุด คือประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุด ๔ อย่าง
มีศีลเป็นต้น. บทว่า ฑํสาธิปาตานํ ได้แก่ เหลือบและแมลงวัน. เพราะ
เหลือบและแมลงวันเหล่านั้นบินออกจากที่นั้น ๆ แล้วกัด เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อธิปาตา (สัตว์ไต่ตอม). บทว่า มนุสฺสผสฺสานํ สัมผัสแต่
มนุษย์ คือสัมผัสแต่โจรเป็นต้น.
บทว่า จตฺตาโร ปริยนฺตา ประพฤติธรรมเป็นส่วนสุดรอบมี ๔
อย่าง ได้แก่ศีลอันเป็นเขตแดน ศีลอันเป็นข้อกำหนด. บทว่า อนฺโต
ปูติภาวํ ปจฺจเวกฺขมาโน พิจารณาความเสีย ณ ภายใน คือตรวจดูความ
น่าเกลียดในภายใน ความเป็นผู้เว้นจากศีล. บทว่า อนฺโตสีลสํวรอาทิผิด อักขระปริ-
ยนฺเต จรติ ได้แก่ ประพฤติในธรรมภายในอันกำหนดด้วยศีลสังวร.
บทว่า มริยาทํ น ภินฺทติ มิได้ทำลายศีลอันเป็นเขตแดน คือไม่ทำศีล
 
๖๖/๙๘๘/๖๕๙

ไม่มีความคิดเห็น: