วันพุธ, มีนาคม 06, 2567

Sombat

 
ก็กาลนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ไม่นานเทวบุตรนั้นก็อุบัติขึ้น. จริงอยู่
อัตภาพของเทวดาที่อุบัติขึ้นนั้นมีประมาณ ๓ คาวุต รุ่งโรจน์อยู่ ราวกะแท่ง
ทองสีแดง เทวบุตรนั้นนุ่งห่มผ้าทิพย์ประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับอันเป็น
ทิพย์ ทัดทรงด้วยดอกไม้ทิพย์ อันนางอัปสรลูบไล้อยู่ด้วยจันทน์และจุณทั้งหลาย
อันเป็นทิพย์ ถูกปกคลุมแล้ว บดขยี้แล้ว หุ้มห่อแล้วด้วยกามคุณ ๕ อันเป็น
ทิพย์ ถูกความโลภครอบงำ ไม่เห็นอยู่ซึ่งพระนิพพานอันเป็นที่สลัดออกจาก
โลก เมื่อกล่าวคาถานี้ว่า น เต สุขํ ปชานฺนติ เป็นต้น ด้วยเสียงอันดัง
แล้วก็เที่ยวไปในสวนนันทวัน เป็นเหมือนบุคคลกล่าววาจาหยาบคาย (อันมิ
ใช่เป็นวาจาของสัตบุรุษ) ด้วยเหตุนั้น เทวบุตรนั้น จึงได้กล่าวคาถานี้ใน
เวลานั้น.
บทว่า เย น ปสฺสนฺติ นนฺทนํ ได้แก่ เทวดาเหล่าใดซึ่งอยู่ในที่นั้น
ย่อมไม่เห็นนันทวันด้วยสามารถแห่งการเสวยเบญจกามคุณ. บทว่า นรเทวานํ
ได้แก่ นระผู้เป็นเทพ. คือบุรุษผู้เป็นเทพ. บทว่า ติทสานํ แปลว่า สามสิบ
(ไตรทศ). บทว่า ยสสฺสินํ แปลว่า ถึงพร้อมด้วยยศ คือบริวาร (บริวารยศ).
สองบทว่า อญฺญตรา เทวตา ได้แก่ เทวดาผู้เป็นพระอริยสาวิกา
องค์หนึ่ง. บทว่า ปจฺจภาสิ อธิบายว่า เทวดาผู้โง่เขลานี้ ย่อมสำคัญสมบัติอาทิผิด สระ
(ของตน) นี้ว่าเป็นของมั่งคั่งเป็นของไม่หวั่นไหว ย่อมไม่ทราบถึงความที่
สมบัตินั้น มีการแตกสลายเป็นธรรมดา ด้วยเหตุนี้ เทวดาผู้พระอริยสาวิกา
ผู้ไม่ละความตั้งใจแสดงสภาวะ จึงได้ย้อนกล่าวด้วยคาถานี้ว่า น ตฺวํ พาเล
แปลว่า ดูก่อนท่านผู้เขลา. บทว่า ยถา อรหตํ วโจ อธิบายว่า เมื่อ
คัดค้านความต้องการของเทวดาผู้โง่เขลาอย่างนี้ว่า ท่านย่อมไม่รู้คำของ
พระอรหันต์ทั้งหลายโดยแท้จริงดังนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงคำของพระอรหันต์
ทั้งหลายจึงกล่าวคำว่า อนิจฺจา เป็นต้น.
 
๒๔/๒๕/๗๓

ไม่มีความคิดเห็น: