วันอังคาร, มีนาคม 19, 2567

Bua

 
ประโยคมีอาทิว่า มหนฺตํ สปฺปราชวณฺณํ อภินิมฺมินิตฺวา เนรมิตทรวด
ทรงเป็นพญางูตัวใหญ่.
ชาติ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พฺราหฺมณาว เสฏฺโฐ
วณฺโณ หีโน อญฺโญ วณฺโณ พวกพราหมณ์เท่านั้น มีชาติประเสริฐ
ชาติอื่นเลว.
รูปายตนะ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ปรมาย
วณฺณโปกฺขรตาย สมนฺนาคตา ประกอบด้วยความงามแห่งรูปายตนะ
อย่างยิ่ง.
เหตุ เรียกว่า วณฺณ เช่นในคาถามีอาทิว่า
น หรามิ น ภญฺชามิ อารา สึฆามิ วาริชํ
อถ เกน นุ วณฺเณน คนฺธตฺเถโนติ วุจฺจติ
ข้าพเจ้ามิได้ขโมย ข้าพเจ้ามิได้หัก ข้าพเจ้า
ดมห่าง ๆ ซึ่งดอกบัวอาทิผิด อักขระ เมื่อ เป็นเช่นนี้ เหตุไรเล่า
ท่านจึงกล่าวว่าขโมยกลิ่น.
ประมาณ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตโย ปตฺตสฺส
วณฺณา บาตร ๓ ขนาด.
คุณ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า กทา สํญุฬฺหา
ปน เต คหปติ อิเม สมณสฺส โคตมสฺส วณฺณา ดูก่อนคหบดี
ท่านประมวลคุณของพระสมณโคดมเหล่านี้ ไว้แต่เมื่อไร.
สรรเสริญ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า วณฺณารหสฺส
วณฺณํ ภาสติ กล่าวสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ.
ในพระบาลีนี้ วณฺณ หมายถึง ทั้งคุณ ทั้งสรรเสริญ.
 
๑๑/๙๐/๑๓๔

ไม่มีความคิดเห็น: