วันจันทร์, มีนาคม 25, 2567

Chamra

 
ภิกษุ ชำระจิตให้หมดจด ให้หมดจดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้พ้น
ให้พ้นวิเศษ ให้หลุดพ้นจากความพยาบาทและความประทุษร้ายนี้ ด้วยเหตุ
นั้น จึงเรียกว่า ชำระอาทิผิด สระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความประทุษ-
ร้าย ด้วยประการฉะนี้.
[๖๓๓] คำว่า ละถีนมิทธะ ได้แล้ว มีอธิบายว่า ถีนะ มีอยู่
มิทธะมีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน ?
ความไม่สมประกอบ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความ
ท้อแท้แห่งจิต ความย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความหดหู่
กิริยาที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ แห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ถีนะ.
มิทธะ เป็นไฉน ?
ความไม่สมประกอบ ความไม่ควรแก่งาน ความง่วงซึม ความ
เฉื่อยชา ความซบเซา ความหาวนอน ความหลับ ความโงกง่วง ความหลับ
กิริยาที่หลับ ภาวะที่หลับแห่งเจตสิก อันใด นี้เรียกว่า มิทธะ.
ถีนะและมิทธะนี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่าง
ราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง
ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียก
ว่า ละถีนมิทธะได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.
[๖๓๔] คำว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีอธิบายว่า ชื่อว่า เป็น
ผู้ปราศจากถีนมิทธะ เพราะถีนมิทธะนั้นอันภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อย
แล้ว ละแล้ว สละคืนแล้ว ละแล้วและสละคืนแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า
เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ ด้วยประการฉะนี้.
 
๗๘/๖๓๒/๓๐๐

ไม่มีความคิดเห็น: