วันอาทิตย์, ตุลาคม 23, 2565

Usapha

 
กรรมเห็นปานนั้นได้อย่างไรดังนั้น ท่านจึงบันลือแล้วซึ่งสีหนาท
เป็นครั้งแรก. พึงทราบการประกอบในบททั้งปวงอย่างนี้.
บทว่า รโชหรณํ ได้แก่ ราชตระกูลพวกเขาไม่กวาดด้วย
ไม้กวาด แต่พวกเขาเช็ดด้วยท่อนผ้า. นั่นเป็นชื่อของรโชหรณะ
(ผ้าเช็ดธุลี). บทว่า กโฬปิหตฺโถ ได้แก่ เป็นผู้มีมือถือตะกร้า หรือ
ถือหม้อข้าว. บทว่า นนฺติกวาสี ได้แก่ เป็นผู้นุ่งผ้าเก่าชายขาด.
บทว่า สุรโต ได้แก่ เป็นผู้มีปกติแจ่มใสประกอบด้วยความสงบ
เสงี่ยม. บทว่า สุทนฺโต ได้แก่ ได้รับการฝึกดีแล้ว. บทว่า สุสิกฺขิโต
ได้แก่ เป็นผู้ศึกษาดีแล้ว. บทว่า น กญฺจิ หึสติ ได้แก่ ไม่เบียดเบียน
ใคร ๆ แม้จะจับที่เขาเป็นต้น แม้จะลูบคลำหลัง. บทว่า อุสภจฺ-
ฉินฺนวิสาณสาเมน ได้แก่ เช่นกับจิตของโคอุสภะอาทิผิด สระเขาขาด.
บทว่า อฏฺฏิเยยฺย ได้แก่ พึงเป็นผู้มีอาการคือ ถูกเบียดเบียน
บทว่า หราเยยฺย ได้แก่ ละอาย. บทว่า ชิคุจฺเฉยฺย ได้แก่ ถึงความ
เกลียดชัง. บทว่า เมทกถาลิกํ ได้แก่ ภาชนะที่บุคคลทำไว้สำหรับ
สุนัขเจาะเป็นรูไว้ในที่นั้น ๆ เพื่อการไหลออกของน้ำแกง เรียก
ภาชนะมันข้น. บทว่า ปริหเรยฺย ได้แก่ คนพึงบรรจุให้เต็มด้วยเนื้อ
แล้วยกขึ้นเดินไป. บทว่า ฉิทฺทาวฉิทฺทํ ได้แก่ ประกอบด้วยช่องน้อย
ช่องใหญ่. บทว่า อคุฆรนฺตํ ได้แก่ น้ำแกงไหลลงทางรูที่เป็นช่อง
ข้างบน. บทว่า ปคฺฆรนฺตํ ได้แก่ น้ำแกงไหลออกทางรูที่เป็นช่อง
ข้างล่าง. ร่างกายทั้งสิ้นของเขาพึงเปื้อนด้วยน้ำแกงด้วยอาการ
อย่างนี้. บทว่า ฉิทฺทาวฉิทฺทํ ได้แก่ เป็นช่องน้อยช่องใหญ่จาก
 
๓๗/๒๑๕/๗๔๖

ไม่มีความคิดเห็น: