วันจันทร์, ตุลาคม 09, 2566

Sandhika

 
บทว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
ประมวลการไม่คบพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาผู้ที่ควรบูชา ๑ ทั้งหมด
จึงตรัสว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ. ท่านอธิบายว่า คำใดท่านถามว่า โปรด
ตรัสบอกมงคลอันอุดมเถิด ท่านจงถือคำนั้นว่า มงคลอันอุดม ในข้อนั้นก่อน
นี้เป็นการพรรณนาบทแห่งคาถานี้.
ส่วนการพรรณนาความแห่งบทนั้น พึงทราบดังนี้ พระผู้มีพระภาค
เจ้า ทรงสดับคำของเทพบุตรนั้นอย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า อเสวนา
จ พาลานํ เป็นต้น.
ในคาถานั้น คาถามี ๔ คือ ปุจฉิตคาถา อปุจฉิตคาถา สานุ-
สันธิกคาถา อนนุสันธิกคาถา.
บรรดาคาถาทั้ง ๔ นั้น คาถาที่ทรงถูกผู้ถามถามแล้ว จึงตรัสชื่อว่า
ปุจฉิตคาถา ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ปุจฺฉามิ ตํ โคตม ภูริปญฺญ
กถํกโร สาวโกสาธุ โหติ ท่านพระโคดม ผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน
ข้าพเจ้าขอถามท่าน สาวกทำอย่างไรจึงเป็นคนดี และประโยคว่า กถํ นุ ตฺวํ
มาริส โอฆมตริ ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านข้ามโอฆะอย่างไรเล่าหนอ.
คาถาที่พระองค์ไม่ได้ถูกถามแต่ตรัสโดยพระอัธยาศัยของพระองค์เอง
ชื่อว่า อปุจฉิตคาถา ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ยํ ปเร สุขโต อาหุ
ตทริยา อาหุ ทุกฺขโต คนอื่น ๆ กล่าวสิ่งใดว่าเป็นสุข พระอริยะทั้งหลาย
กล่าวสิ่งนั้นว่าเป็นทุกข์. คาถาของพระพุทธะทั้งหลายแม้ทั้งหมด ชื่อว่า
สานุสันธิกคาถา เพราะบาลีว่า สนิทานาหํ ภิกฺขเว ธมฺมํ เทเสสฺสามิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมมีนี้ท่านคือเหตุ ดังนี้. ที่ชื่อว่าอนสุ-
สันธิกอาทิผิด คาถา คาถาไม่มีเหตุ ไม่มีในศาสนานี้ ก็บรรดาคาถาเหล่านี้ดังกล่าวมา
 
๓๙/๖/๑๗๑

ไม่มีความคิดเห็น: