วันอังคาร, ตุลาคม 24, 2566

Nalika

 
ทั้งในที่ลับ ย่อมเข้าไปตั้งเมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ทั้งในที่แจ้ง
ทั้งในที่ลับ ในภิกษุผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร
เป็นสังฆปริณายก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมบูชาภิกษุผู้เป็นพระเถระ
ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชา
อย่างยิ่ง อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้แล
เป็นผู้สามารถถึงซึ่งความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.
จบโคปาลกสูตรที่ ๗

อรรถกถาโคปาลกสูตรที่ ๗
โคปาลกสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
มีกถาอยู่ ๓ กถาคือ เอกนาฬิกาอาทิผิด อักขระกถา ๑ จตุรัสสากถา ๑ นิสินน-
วัตติกากถา ๑ ใน ๓ กถานั้น การกล่าวบาลีแล้วกล่าวความแห่งบทไป
ทีละบท ชื่อว่าเอกนาฬิกากถา การกล่าวผูกให้เป็น ๔ บทดังนี้ว่า นาย
โคบาลผู้ไม่ฉลาด ภิกษุผู้ไม่ฉลาด นายโคบาลผู้ฉลาด ภิกษุผู้ฉลาด ชื่อว่า
จตุรัสสากถา กถาอย่างนั้นคือ การแสดงนายโคบาลผู้ไม่ฉลาดไปจนจบ
การแสดงภิกษุผู้ไม่ฉลาดไปจนจบ การแสดงนายโคบาลผู้ฉลาดไปจนจบ
การแสดงภิกษุผู้ฉลาดไปจนจบ ชื่อว่า นิสินนวัตติกากถา. กถานี้อาจารย์
ทุกอาจารย์อาทิผิด สระในพระศาสนานี้เคยประพฤติมาแล้ว .
บทว่า เอกาทสหิ ภิกฺขเว องฺเคหิ ได้แก่ โดยส่วนที่มิใช่คุณ ๑๑
ประการ. บทว่า โคคณํ ได้แก่ ฝูงโค. บทว่า ปริหริตุํ ได้แก่ เพื่อจะ
พาเที่ยวไป. บทว่า ผาติกาตุํ ได้แก่ เพื่อให้ถึงความเติบโต.
 
๓๘/๒๒๔/๕๗๒

ไม่มีความคิดเห็น: