วันศุกร์, ตุลาคม 27, 2566

Ubasok

 
พระพุทธเจ้า. เพราะฉะนั้น จิตของสัตว์ใหญ่นั้น ชื่อว่า เสมอด้วย ท่านผู้
ประเสริฐ คือเป็นเช่นเดียวกัน ด้วยความยินดีในความเป็นผู้เดียว.
พึงทราบความในคำว่า ยถารนฺตํ วิหริตฺวา นี้ว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จอยู่บ้านปาริเลยยกะนั้น ตลอดไตรมาส. คำที่พูดกัน ได้แพร่
หลายไปในที่ทั้งปวงว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุชาวเมือง
โกสัมพีเบียดเบียนด้วยเหตุเท่านี้ จึงเสด็จเข้าป่าอยู่ตลอดไตรมาส.
หลายบทว่า อถ โข โกสมฺพิกา อุปาสกา มีความว่า ครั้งนั้น
แล พวกอุบาสกอาทิผิด อักขระชาวเมืองโกสัมพี ได้ฟังถ้อยคำที่เจรจากันนี้.
ข้าพเจ้าจักพรรณนาเภทกรวัตถุ ๑๘ มีคำว่า อธมฺมํ ธมฺโม เป็นต้น
ในสังฆเภทขันธกะ.
บทว่า อาทายํ ได้แก่ ฝั่งแห่งลัทธิ.
บทว่า วิวิตฺตํ ได้แก่ ว่าง.
หลายบทว่า ตํ อุกฺขิตฺตกํ ภิกฺขุํ โอสาเรตฺวา มีความว่า
พาภิกษุผู้ถูกยกวัตรนั้น ไปนอกสีมา ให้แสดงอาบัติแล้ว เรียกเข้าหมู่ด้วยกรรม
วาจา.
สองบทว่า ตาวเทว อุโปสโถ มีความว่า พึงทำสามัคคีอุโบสถ
ตามนัยที่กล่าวแล้วในอุโปสถขันธกะในวันนั้นทีเดียว.
หลายบทว่า อมูลา มูลํ คนฺตฺวา มีความว่า ไม่ออกจากมูลไป
หามูล อธิบายว่า ไม่วินิจฉัยวัตถุนั้น.
ข้อว่า อยํ วุจฺจติ อุปาลี สงฺฆสามคฺคี อตฺถาเปตา พฺยญฺชนุ-
เปตา มีความว่า สังฆสามัคคีนี้ ปราศจากอรรถ แต่อาศัยเพียงพยัญชนะว่า
สังฆสามัคคี นี้.
 
๗/๒๖๑/๕๐๓

ไม่มีความคิดเห็น: