วันเสาร์, ตุลาคม 28, 2566

Sila

 
ตรัสคาถาที่บรรจุไตรสิกขานี้ว่า สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมแล้ว
ด้วยศีลทุกเมื่อ.
ก็ในคาถานี้ สิกขา ๓ คือ อธิสีลอาทิผิด อักขระสิกขา ด้วยสีลสัมปทา อธิจิตตสิกขา
ด้วยสติและสมาธิ อธิปัญญาสิกขา ด้วยปัญญา คือ การคิดถึงธรรมภายใน
ท่านกล่าวว่า มีอุปการะและมีอานิสงส์ จริงอยู่ สิกขาทั้งหลาย มีโลกิยปัญญา
และสติเป็นอุปการะ มีสามัญผลเป็นอานิสงส์.
ครั้นทรงแสดงเสกขภูมิ ด้วยคาถาที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ
ทรงแสดงอเสกขภูมิ จึงตรัสคาถาที่สอง.
คาถานั้นมีเนื้อความว่า บทว่า วิรโต กามสญฺญาย ความว่าผู้เว้น
จากกามสัญญาบางอย่าง ด้วยสมุจเฉทวิรัติ อันสัมปยุตด้วยมรรคที่ ๔ โดย
ประการทั้งปวง บาลีว่า วิรตฺโต ดังนี้ก็มี. ในกาลนั้น คำว่า กามสญฺญาย
เป็นสัตตมีวิภัตติ แต่ในสคาถวรรค บาลีว่า กามสญฺาญสุ ดังนี้ก็มี. ชื่อว่า
ล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย เพราะล่วงสังโยชน์ ๑๐ ด้วยมรรคแม้ทั้งสี่ หรือ ล่วง
สังโยชน์เบื้องสูง ด้วยมรรคที่สี่เท่านั้น ชื่อว่า มีความเพลิดเพลินและภพหมด
สิ้นแล้ว เพราะความที่ความเพลิดเพลิน กล่าวคือ ตัณหาพาให้เพลิดเพลินใน
สิ่งนั้น ๆ และภพ ๓ หมดสิ้นแล้ว.
บทว่า โส ได้แก่ ภิกษุผู้ขีณาสพเช่นนั้น ย่อมไม่จมลง ในอรรณพ
คือ สังสารวัฏอันลึก เข้าถึงผลแห่งนิพพานธาตุอันมีเบญจขันธ์เหลือ เพราะ
สิ้นความเพลิดเพลิน และไม่มีเบญจขันธ์เหลือ เพราะสิ้นภพ.
ลำดับนั้น เหมวตยักษ์แลดูสหายและยักษ์บริษัท เกิดปีติแลโสมนัส
ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถามีอย่างนี้ว่า คมฺภีรปญฺญํ เป็นต้น
 
๔๖/๓๐๙/๔๓๔

ไม่มีความคิดเห็น: