วันพุธ, ตุลาคม 11, 2566

Chedi

 
ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี ในบุคคลก็ดี ในแขก
ก็ดี ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี ในพี่ชายก็ดี.
ในคาถานั้น ชื่อว่า เจติยะ เพราะควรก่อ ท่านอธิบายว่า ควรบูชา
ชื่อว่า เจติยะอาทิผิด อักขระ เพราะวิจิตรแล้ว. เจดีย์นั้นมี ๓ อย่าง คือ บริโภคเจดีย์
อุทิสสกเจดีย์ ธาตุกเจดีย์.
บรรดาเจดีย์ทั้ง ๓ นั้น โพธิพฤกษ์ ชื่อว่า บริโภคเจดีย์ พระพุทธ
ปฏิมา ชื่อว่า อุทิสสกเจดีย์ พระสถูปที่มีห้องบรรจุพระธาตุ ชื่อว่า ธาตุก-
เจดีย์อาทิผิด .
บทว่า สงฺโฆ ได้แก่ ผู้ใดผู้หนึ่ง ในหมู่สงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข. บทว่า ปุคฺคโล ได้แก่ ผู้ใดผู้หนึ่ง ในหมู่คฤหัสถ์และบรรพชิต
เป็นต้น. ชื่อว่า อติถิ [แขก] เพราะเขาไม่มีดิถี คือมาในวันไหนก็ได้ คำ
นี้เป็นชื่อของแขกผู้มาในขณะนั้น. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
บัณฑิตรู้จักเจดีย์เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พึงทราบความแห่งคาถานี้
อย่างนี้ ขุมทรัพย์นั้นใดตรัสว่า เป็นอันฝังดีแล้ว ขุมทรัพย์นั้น ที่เขาฝังไว้
ในวัตถุเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว. เพราะเหตุไร เพราะสามารถอำนวย
ผลที่น่าปรารถนาได้ตลอดกาลนาน. จริงอย่างนั้น ชนทั้งหลายถวายในพระ-
เจดีย์แม้เล็กน้อย ย่อมเป็นผู้ได้ผลที่ปรารถนาตลอดกาลนาน เหมือนอย่างที่
ตรัสไว้ว่า
เอกปุปผํว ทตฺวาน อสีติกปฺปโกฏิโย
ทุคฺคตึ นาภิชานามิ ปุปฺผทานสฺสิทํ ผลํ.
 
๓๙/๙/๓๑๓

ไม่มีความคิดเห็น: